การพัฒนาเค้าโครงการวิจัยทางการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์

๘๐๖ ๓๐๒ การพัฒนาเค้าโครงการวิจัยทางการบริหารการศึกษา
(Research Proposal Development in Education Administration)
เทคนิคการตั้งชื่อเรื่องวิจัย การเขียนโครงร่างวิจัย เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือ
การวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การดำเนินงานวิจัยในลักษณะต่าง ๆ สถิติเพื่อการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัย การเขียนบทความและนำเสนอผลการวิจัย
การบูรณาการพุทธธรรมกับการวิจัย

คณิตศาสตร์และสถิติเพื่อการวิจัย (ปาณจิตร)
คณะครุศาสตร์

000 206    คณิตศาสตร์และสถิติเพื่อการวิจัย 3 (3-0-6

(Mathematics and Statistics for Research) 
ศึกษาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ เชต การให้เหตุผล ระบบและคุณสมบัติของจำนวนจริง สมการและอสมการ ความสัมพันธ์ ฟังก์ชั่น เมทริกซ์ หลักพื้นฐานทางสถิติ การรวบรวมข้อมูล การแจกแจงความถี่ และการหาค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง สถิติแบบบรรยาย สถิติทดสอบ การทดสอบสมมติฐาน รูปแบบการวิจัย การออกแบบการวิจัย ขั้นตอนการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป การเขียนโครงร่างการวิจัยและการเขียนรายงานผลการวิจัย


การวัดประเมินการเรียนรู้และคุณภาพของผู้เรียน
คณะครุศาสตร์

๒๐๐ ๓๐๗ การวัดประเมินการเรียนรู้และคุณภาพของผู้เรียน ๓ (๒-๒-๕) (Learning and Learner Assessment)

   รู้เข้าใจและวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และกระบวนการวัดประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือและวิธีการประเมินผลการเรียนรู้แบบต่าง ๆ  การออกแบบ สร้าง การพัฒนาและเลือกใช้เครื่องมือ และวิธีการวัดประเมินการเรียนรู้ การตัดสินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งรายบุคคลและชั้นเรียน โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางจริยธรรมและคุณภาพของการวัดประเมิน ความเหมาะสมกับบริบทชั้นเรียนและความแตกต่างระหว่างผู้เรียน เพื่อให้สาสมารถรออกแบบการวัดประเมินการเรียนรู้สำหรับแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ออกแบบและดำเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา


๒๐๔ ๓๐๖ สำนวนไทย (Thai Idioms)
คณะครุศาสตร์

ที่มา ความหมาย ลักษณะ รูปแบบและพัฒนาการของสำนวน ภาษิต คำพังเพยและความเปรียบในภาษาไทย ความสัมพันธ์ระหว่างสำนวนไทยกับวัฒนธรรม เปรียบเทียบสำนวนไทยในแต่ละภูมิภาคและเปรียบเทียบสำนวนไทยกับสำนวนต่างประเทศ

๒๐๔ ๓๐๕ วิวัฒนาการของภาษาไทย (Evolution of Thai)
คณะครุศาสตร์

ประวัติของภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยด้านเสียง ตัวอักษร คำ ความหมาย และ ไวยากรณ์ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน

๐๐๐ ๑๑๑ ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้
คณะครุศาสตร์

ความรู้เกี่ยวกับภาษาและทักษะภาษาที่จาเป็นต่อการสื่อสาร หลักการใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้และสืบค้น

ข้อมูล การสืบค้นข้อมูลท้องถิ่น และข้อมูลสารสนเทศจากสื่อทุกประเภท การใช้ห้องสมุด วิธีการแสวงหาความรู้

การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ และการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ โดยใช้กระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษาในการ

สรุปความ ตีความ วิเคราะห์ วิจารณ์และสังเคราะห์ นาเสนอเป็นลายลักษณ์อักษร วาจา และสื่อประสม

วิชาวิวัฒนาการของภาษาไทย (พม.ศรายุทธ-วข.ขอนแก่น)
คณะครุศาสตร์

ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาไทยการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยด้านเสียงคำ การใช้คำการประกอบรูปคำความหมายของคำ และศัพท์เฉพาะสมัย การผูกประโยค การรับอิทธิพลภาษาต่างประเทศ

การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน (พม.ศรายุทธ-วข.ขอนแก่น)
คณะครุศาสตร์

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักการและกระบวนการการอ่านร้อยแก้วและร้อยกรอง การเลือกใช้คำ การสร้างประโยค การแต่งคำประพันธ์ การเขียนบทความ และหนังสือราชการ โดยใช้ภาษาที่เหมาะสม การประเมินทักษะการอ่านและการเขียน และการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ

สังคมสมัยใหม่ (วข)
คณะครุศาสตร์

ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา แนวคิดของนักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา โครงสร้างและลักษณะของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา การจัดระเบียบทางสังคม กลุ่มทางสังคมและ วัฒนธรรม กระบวนการทางสังคม การจัดล าดับชั้นทางสังคม สถาบันและบทบาททางสังคม การ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ พฤติกรรมการอยู่ร่วมกัน ปัญหาสังคมและแนว ทางแก้ไข ความจ าเป็นทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาส าหรับการเรียนการสอน

วรรณคดีวิจารณ์ วข.ขอนแก่น
คณะครุศาสตร์

หลักเกณฑ์ ทฤษฎีและแนวการวิจารณ์วรรณคดีประเภทต่าง ๆ วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยประเภทต่าง ๆ ในแต่ละยุคสมัย

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
คณะครุศาสตร์

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 

การวิเคราะห์หลักสูตร  การจัดเวลาเรียน  การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้  เกณฑ์การจบหลักสูตร


จริยธรรมสิ่งแวดล้อม
คณะครุศาสตร์

     ปัญหาและการแก้ปัญหา ที่สัมพันธ์กับจริยธรรมสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์และการใช้คุณค่าสิ่งแวดล้อมโดยใช้ขนบธรรมเนียมประเพณีและทฤษฎีจริยธรรมสิ่งแวดล้อม แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและความขัดแย้งทางสังคมอันเนื่องมาจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

ความเป็นครูวิชาชีพ
คณะครุศาสตร์

รู้ เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของวิชาชีพครูและจิตวิญญาณความเป็นครู  สภาพงานครู บทบาทหน้าที่ของครู คุณลักษณะสำคัญของความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ ๒๑ มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ กฎหมายเกี่ยวกับครูและวิชาชีพครู เพื่อการเป็นครูที่มีสมรรถนะสูง มีความรอบรู้ ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงบริบทโลก 

ผลการเรียนรู้

       รู้ เข้าใจ และตระหนัก

สาระการเรียนรู้

     ๑. ความสำคัญของวิชาชีพครูและจิตวิญญาณความเป็นครู 

     ๒. สภาพงานครู บทบาทหน้าที่ของครู 

     ๓. คุณลักษณะสำคัญของความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ ๒๑ 

     ๔. มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ 

     ๕. กฎหมายเกี่ยวกับครูและวิชาชีพครู 

จุดประสงค์     เพื่อ

     ๑. การเป็นครูที่มีสมรรถนะสูง มีควา มรอบรู้ ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงบริบทโลก 

000 242 พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะครุศาสตร์

ศึกษาบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประวัติของคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ระบบดิจิทัล ภาษาคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ  แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์  ระบบการประมวลผล  การวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาระบบ ข้อมูลและการบริหารข้อมูลเครือข่ายและการสื่อสาร อินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ  ภัยคุกคามและความมั่นคงของระบบ จริยธรรมและสังคมไซเบอร์


มนุษย์กับสังคม (Man&Soc)
คณะครุศาสตร์

      ศึกษาความหมายและความเป็นมาเกี่ยวกับมนุษย์กับสังคม ตามหลักการทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันสังคม ประชาสังคม กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม การวิเคราะห์ปัญหาสังคมและแนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมแบบสันติวิธี ความเป็นพลเมือง และการสื่อสารทางสังคมยุค New Normal

ภาษาและวัฒนธรรม
คณะครุศาสตร์

ความสาคัญของภาษาและวัฒนธรรม การใช้ภาษาเพื่อการประกอบวิชาชีพครู ภาษาบาลีและภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู การฝึกทักษะทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อสังคมปัจจุบันและการดาเนินชีวิต การยอมรับและการอดทนต่อความแตกต่างและความหลากหลายของวัฒนธรรม การปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนา การพัฒนาด้านความคิด ความเชื่อ ค่านิยม เจตคติ และการแต่งกายบนพื้นฐานของวัฒนธรรมไทย เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ