มนุษย์กับอารยธรรม
สาขาวิชาสังคมศึกษา

๐๐๐ ๒๒๗      มนุษย์กับอารยธรรม                                            ๓ (๓-๐-๖)

                             (Man  and  Civilization)

          ศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยปัจจุบัน ความหมายของอารยธรรม บ่อเกิดและพัฒนาการของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตกในยุคต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของสังคมตะวันออกและตะวันตก ที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ การแลกเปลี่ยนกันระหว่างอารยธรรมตะวันออกกับตะวันตก และอิทธิพลของอารยธรรมทั้งสองที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์โลก
สาขาวิชาสังคมศึกษา

ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประชากร ทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของทวีปเอเชีย ออสเตรเลียและโอเซียเนีย ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกาและทวีปแอนตาร์กติกา

วิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา
สาขาวิชาสังคมศึกษา

ทฤษฏีการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสมัยใหม่ วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  วิเคราะห์แบบเรียน ออกแบบการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษาเพื่อสอดคล้องบริบทชุมชน เทคนิคและกระบวนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

เทคโนโลยีภูมิศาสตร์สารสนเทศ
สาขาวิชาสังคมศึกษา

พื้นฐานความรู้ทางการอ่าน การแปลความหมายและเขียนแผนที่ การเก็บข้อมูล และการแสดงข้อมูลทั้งทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมในแผนที่ ตลอดจนเทคนิคการใช้เครื่องมือและนวัตกรรมในการสร้างแผนที่ การใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การเลือกใช้แผนที่ที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ การฝึกปฏิบัติภาคสนาม


ประวัติศาสตร์ไทยเชิงวิเคราะห์
สาขาวิชาสังคมศึกษา

วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการชาติไทยด้านการเมืองและการปกครอง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  และความสัมพันธ์กับต่างประเทศ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์  และสถานการณ์ชาติไทยในปัจจุบันในเชิงวิเคราะห์

สังคมสมัยใหม่
สาขาวิชาสังคมศึกษา

ความหมายของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา โครงสร้างและลักษณะของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาต่อการศึกษาเรื่องสังคม การจัดระเบียบทางสังคม สถานภาพและบทบาทของสถาบันทางสังคม ความสัมพันธ์ของคนในสังคมวัฒนธรรมและแบบแผนความประพฤติของคนในสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล การนำเอาความรู้ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไปประยุกต์ใช้ในสังคมสมัยใหม่ และนำไปสู่การแก้ปัญหาสังคม

เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
สาขาวิชาสังคมศึกษา

          ศึกษาหลักการเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์  ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันรูปแบบต่าง ๆ ของระบบเศรษฐกิจ  การทำงานของกลไกราคาในตลาด  บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจ  เงินตราและสถาบันการเงิน  เน้นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นข้อมูลประกอบการศึกษา  และศึกษาเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ

ภูมิศาสตร์กายภาพ วข.แพร่
สาขาวิชาสังคมศึกษา

สัณฐานของโลกและปรากฏการณ์ที่เกิดเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ สมบัติทางด้านกายภาพ และการเปลี่ยนแปลงของธรณีภาค (Lithosphere) อุทกภาค (Hydrosphere) บรรยากาศ (Atmosphere) และชีวมณฑล (Biosphere) และการปฏิบัติภาคสนาม

อารยธรรมโลก วข แพร่
สาขาวิชาสังคมศึกษา

วิวัฒนาการ เหตุการณ์ และปัญหาของโลกยุคโบราณ ยุคกลาง ยุคยุโรปครองความเป็นใหญ่ ยุคปัจจุบัน เน้นวิวัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

สื่อและนวัตกรรมการสอนสังคมศึกษา
สาขาวิชาสังคมศึกษา

วิเคราะห์นวัตกรรมการสอน การสร้างสื่อบทเรียน ประเภทของสื่อที่เหมาะสม การใช้สื่อและการพัฒนาสื่อเฉพาะตามระดับการศึกษา การผลิตสื่อและการประเมินสื่อการเรียนการสอนสังคมศึกษา