๐๐๐ ๒๒๗ มนุษย์กับอารยธรรม ๓ (๓-๐-๖)
(Man and Civilization)
ศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยปัจจุบัน ความหมายของอารยธรรม บ่อเกิดและพัฒนาการของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตกในยุคต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของสังคมตะวันออกและตะวันตก ที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ การแลกเปลี่ยนกันระหว่างอารยธรรมตะวันออกกับตะวันตก และอิทธิพลของอารยธรรมทั้งสองที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประชากร ทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของทวีปเอเชีย ออสเตรเลียและโอเซียเนีย ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกาและทวีปแอนตาร์กติกา
ทฤษฏีการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสมัยใหม่ วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิเคราะห์แบบเรียน ออกแบบการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษาเพื่อสอดคล้องบริบทชุมชน เทคนิคและกระบวนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
พื้นฐานความรู้ทางการอ่าน การแปลความหมายและเขียนแผนที่ การเก็บข้อมูล และการแสดงข้อมูลทั้งทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมในแผนที่ ตลอดจนเทคนิคการใช้เครื่องมือและนวัตกรรมในการสร้างแผนที่ การใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การเลือกใช้แผนที่ที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ การฝึกปฏิบัติภาคสนาม
วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการชาติไทยด้านการเมืองและการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความสัมพันธ์กับต่างประเทศ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ และสถานการณ์ชาติไทยในปัจจุบันในเชิงวิเคราะห์
ความหมายของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา โครงสร้างและลักษณะของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาต่อการศึกษาเรื่องสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม สถานภาพและบทบาทของสถาบันทางสังคม
ความสัมพันธ์ของคนในสังคมวัฒนธรรมและแบบแผนความประพฤติของคนในสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล การนำเอาความรู้ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไปประยุกต์ใช้ในสังคมสมัยใหม่
และนำไปสู่การแก้ปัญหาสังคม
ศึกษาหลักการเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันรูปแบบต่าง
ๆ ของระบบเศรษฐกิจ การทำงานของกลไกราคาในตลาด บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจ เงินตราและสถาบันการเงิน
เน้นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นข้อมูลประกอบการศึกษา และศึกษาเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ
สัณฐานของโลกและปรากฏการณ์ที่เกิดเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ สมบัติทางด้านกายภาพ และการเปลี่ยนแปลงของธรณีภาค (Lithosphere) อุทกภาค (Hydrosphere) บรรยากาศ (Atmosphere) และชีวมณฑล (Biosphere) และการปฏิบัติภาคสนาม
วิวัฒนาการ เหตุการณ์
และปัญหาของโลกยุคโบราณ ยุคกลาง ยุคยุโรปครองความเป็นใหญ่ ยุคปัจจุบัน
เน้นวิวัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
วิเคราะห์นวัตกรรมการสอน การสร้างสื่อบทเรียน ประเภทของสื่อที่เหมาะสม การใช้สื่อและการพัฒนาสื่อเฉพาะตามระดับการศึกษา การผลิตสื่อและการประเมินสื่อการเรียนการสอนสังคมศึกษา