ศึกษานิมิต คำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน วิภาค การนิยามความหมาย ญัตติประพจน์ในแบบต่างๆ การแบ่งญัตติ ความเป็นปฏิปักษ์แห่งญัตติ ญัตติผสม การให้เหตุผล ปรัตถานุมานและปฤจฉาวาทีแบบต่างๆ ศึกษาหลักการและวิธีการให้เหตุผลจากบทสนทนาของพระพุทธเจ้าในอนัตตลักขณสูตรหรือในสูตรอื่นๆ บทสนทนาในคัมภีร์กถาวัตถุ ญาณวิทยาของนิกายสรวาสติวาท วิภาษวาทีของนาคารชุน เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างระหว่างตรรกศาสตร์ตะวันตก กับตรรกศาสตร์ตะวันออก โดยเฉพาะหลักการเชิงตรรกในคัมภีร์
ศึกษาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ ความปลอดภัย กฎหมาย จริยธรรมในสังคมดิจิทัล และความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต ฝึกทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต สื่อ การสื่อสารยุคดิจิทัล เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดทำเอกสาร ตารางคำนวณ และการนำเสนอข้อมูลได้
บูรณาการความรู้และการมีส่วนร่วมกับสถานศึกษา ปฏิบัติงานผู้ช่วยครูร่วมกับครูพี่เลี้ยง ในสถานศึกษา ฝึกจัดทำแผนการเรียนรู้ การจัดทำสื่อและเทคโนโลยี การออกแบบทดสอบ ข้อสอบ หรือเครื่องมือวัดผล การตรวจข้อสอบ การให้คะแนนและการตัดสินผลการเรียน การสอบภาคปฏิบัติ และการให้คะแนน เพื่อนำไปฝึกปฏิบัติการสอนแบบจุลภาคในสถานการณ์จำลอง สัมมนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติวิชาชีพ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
ศึกษาศัพท์ธรรมะทางพระพุทธศาสนาที่นิยมใช้กันแพร่หลายในภาษาอังกฤษ และหนังสือที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่นักปราชญ์ได้รจนาไว้ในภาษาอังกฤษ
ระบบเสียง สรีระสัทศาสตร์ การออกเสียงสระพยัญชนะ เสียงควบกล้ำ เสียงสูง-ต่ำ หนัก-เบา การถ่ายทอดเสียงเป็นสัญลักษณ์ทางสัทศาสตร์ การศึกษาปัญหาและการแก้ปัญหาการออกเสียงภาษาอังกฤษชองผู้เรียน
ประวัติศาตสตร์ วิวัฒนาการภาษาอังกฤษ วัฒนธรรมยุคต่าง ๆ ค่านิยม วิธีชีวิตในประวัติภาษาอังกฤษ
เปรียบเทียบประวัติ นิรุกติศาสตร์ ความสัมพันธ์ พัฒนาการ ความเปลืยนแปลงของเสียง ตัวอักษร ความหมาย ไวยากรณ์ ตระกูลภาษา วิธีเปรียบเทียบภาษาอังฤษกับภาษาถิ่นและภาษาไทย
ศึกษาโครงสร้างประโยคตามหลักไวยากรณ์และฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน เน้นการอ่าน การเขียนและ
ความเข้าใจข้อความภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคำศัพท์และโครงสร้างประโยคสัมพันธ์กับเอกสารที่ใช้ศึกษา
ศึกษาศัพท์ธรรมะทางพระพุทธศาสนาที่นิยมใช้กันแพร่หลายในภาษาอังกฤษ
และหนังสือที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่นักปราชญ์ได้รจนาไว้ในภาษาอังกฤษ
หลักการ
แนวคิดของนักการศึกษาและนักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ทฤษฎีและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เทคนิคการจัดการชั้นเรียน การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้
การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม การพัฒนาศูนย์การเรียนในสถานศึกษา ฝึกออกแบบการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ (Active Learning) คิดวิเคราะห์
คิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหา รวมทั้งฝึกการจัดทำแผนการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริง
หลักการ แนวคิด นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ การออกแบบ การพัฒนา การประยุกต์ใช้ และการประเมินนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาวิถีพุทธ