Font size
Site color
ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
If you continue browsing this website, you agree to our policies:
x
MCU e-Learning

Enrolment options

วิชา พุทธศิลปะ
คณะพุทธศาสตร์

พุท ธะ ศิลปะ

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้อธิบายความหมายไว้ว่า พุทธเจดีย์ น. เจดีย์เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า มี 4 ชนิด คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์ 

รศ.สงวน รอดบุญ ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพุทธศิลป์ไว้ว่า พุทธศิลป์ คือศิลปกรรม ที่สร้างขึ้นรับใช้พระพุทธศาสนาโดยตรง ทั้งในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมในลัทธิมหายาน และเถรวาท 

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้อธิบายความหมายไว้ว่า เจดีย์ที่เคารพนับถือ บุคคล สถานที่ หรือวัตถุที่ควรเคารพบูชา เจดีย์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้ามี 4 อย่างคือ 1. ธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 2. บริโภคเจดีย์ คือสิ่งหรือสถานที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย 3. ธรรมเจดีย์ บรรจุพระธรรม คือพุทธพจน์ 4. อุทเทสิกเจดีย์ คือ พระพุทธรูป ; ในทางลปกรรมไทย หมายถึง สิ่งที่ก่อเป็นยอดแหลมเป็นที่บรรจุสิ่งที่เคารพนับถือ เช่น พระธาตุ และอัฐิบรรพบุรุษ
ส่วนสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ทรงอธิบายพุทธศิลป์มีเนื้อความว่า ในสมัยนั้นพุทธบริษัทนับถือพระไตรสรณคมน์ ไม่มีวัตถุอื่นเป็นเจดีย์ในพระพุทธศาสนา พระไตรสรณคมน์จึงเป็นเจดีย์ในพระพุทธศาสนา ต่อมาเจดีย์ในพระพุทธศาสนาจึงมี 4 ประเภท คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุทเทสิกเจดีย์ เกิดในภายหลัง 

พระธรรมโกศาจารย์ หรือพุทธทาสภิกขุ ท่านได้อธิบายความหมายเกี่ยวกับพุทธศิลป์มีเนื้อความสรุปได้ว่า ยอดของศิลปะนั้น เป็นเรื่องดำรงชีวิตจิตใจให้อยู่เหนือความทุกข์ นี่เป็นศิลปะสูงสุดในพระพุทธศาสนา เรียกว่า เป็นศิลปะขงชาวพุทธ ในการที่ช่วยกันปลดเปลื้องความทุกข์ในทางจิตใจ หรือปัญหาสังคม ในปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นเรื่องทางวัตถุ ศิลปะของชาวพุทธเลยกลายเป็นเรื่อง โบสถ์เจดีย์และพระพุทธรูปสวยๆ


        วัดในพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นถาวรวัตถุสำคัญที่ส่วนหนึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สำหรับพักอาศัยของพระสงฆ์ และอีกส่วนหนึ่งเพื่อใช้สำหรับการประกอบศาสนกิจตลอดถึงพิธีกรรมต่าง ๆ ภายในวัดจึงมีถาวรวัตถุที่สำคัญ เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ศาลา เป็นต้น 

        การเผยแผ่พระพุทธศาสนา  โดยพระพุทธสาวกผู้มีความศรัทธาได้ทำหน้าที่การเผยแผ่โดยผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ เช่น นิตยสาร วารสาร เป็นต้น

        แต่ก็ยังมีสื่อที่มีบทบาทสำคัญอันถือเป็นหลักในการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้กว้างขวางออก ไปมากยิ่งขึ้น คือ สื่อด้านพุทธศิลป์

        ในปัจจุบัน เราจะได้ยินคําว่าพุทธศิลป์บ่อยครั้งมาก และในบางมหาวิทยาลัย ก็มีการจัดการศึกษา ในสาขานีโ้ดยตรง มีการเปิดการเรียนการสอนในสาขานี ้และได้มกีารจัดตั้งเป็นคณะ และใช้ชื่อว่าคณะพุทธ ศิลป์ โดยตรงก็มีมาแลว้ จึงอยากจะทําความรู้จัก กับความเป็นไปเป็นมา และความหมายที่แท้จริงของคํา ว่า พุทธศิลป์ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และมีเน้ือหา เกี่ยวข้อง และครอบคลุมไปถึงอะไร และอย่างไรบ้าง 

        พุทธ   ความหมายคือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้รู้แล้ว ผู้ตื่นแล้ว ผู้รู้อริยสัจสี่
        ศิลปะ  ความหมายคือ ฝีมือทางงานช่าง สล่า งานแสดง สิ่งของที่นํามาแสดง  การแสดงออกซึ่ง อารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์   

       ศิลปะ หรือ ศิลป์ เป็นการกระทํา หรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะ โดยมนุษย์ เป็นผู้สร้างสรรค์ สุนทรียภาพ จินตนาการ หรือการสร้างจากอารมณ์ในภาวะต่างๆ ของมนุษย์ จนเป็นผลงาน แห่งความคิด และการรังสรรค์ ที่แสดงออกมาในรูปลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ก่อให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกในความงดงาม ความชอบ ความพึงพอใจ ความประทับใจ หรือเกิดความสะเทือนใจ มีอารมณ์ ชื่นชม ชอบ รัก ไมพ่อใจ เกลียด ชิงชัง เป็นต้น 

        ดังนั้นพุทธประวัติที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก กว่า 550 เรื่อง จึงได้นําออกมาถ่ายทอดผ่านงาน ศิลปะในรูปแบบต่างๆ ทั้งจิตรกรรมฝาผนัง งานประติมากรรม งานปั้นดินเผา อีกทั้งยังมีการแกะสลักหิน ประเภทต่างๆ และแกะสลักไม้  ในเวลาต่อมา ได้มีการแผ่ขยายอิทธิพล ไปทั่วทั้งทวีปเอเชีย เป็นเรื่องราวที่ เราสามารถศึกษาไดจ้ากภาพตามฝาผนังของโบสถ์ วิหาร วัด กําแพง คุ้ม ปราสาท พระราชวัง ซึ่งสามารถ ยกระดับ ความคิด จิต กาย จนเป็นหนทางเกิดมรรคญาณ ให้สําเร็จเป็นอริยบุคคลไดอ้ย่างมากมาย คําว่า “พุทธศิลป์” โดยสรุปอย่างเข้าใจง่ายที่สุดหมายถึง งานศิลปะประเภทต่าง ๆ ทั้งในด้าน สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่และการปฏิบัติทางพุทธ ศาสนาโดยตรง และเป็นสิ่งช่วยโน้มน้าวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ให้เกิดความศรัทธา ประพฤติปฏิบัติตนใน แนวทางที่ดีงามตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา โดยสิ่งที่ผู้สร้างงานศิลปะได้พยายามสื่อหรือสอดแทรกไว้ในงานศิลปะแต่ละชนิดเรียกได้ว่าเป็น ปรัชญาศิลปะในงานพุทธศิลป์  คืองานศิลปะที่มีธรรมะในศาสนาพุทธอยู่ในงานศิลป์นั้นซึ่งมีอยู่หลาย รูปแบบทั้งในรูปแบบของงานศิลปวัตถุหรือพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งจะมีหลักธรรมะสอนอยู่  โดยแบ่งศึกษา ออกเป็นประเภทต่างๆทั้งพระพุทธรูป  สถูปเจดีย์  อาคารสถานที่และวัตถุส่ิงของ  จึงสามารถกล่าวได้ว่า งานศิลปกรรมเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่ง ดังนั้นการนํางานพุทธศิลป์มาเป็นสื่อในการสอน ปรัชญา  ธรรมะตา่งๆ เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบหนึ่ง

Guests cannot access this course. Please log in.