Course image การเมืองการปกครองประชาคมอาเซียน
สาขาวิชารัฐศาสตร์

ศึกษาระบบการเมืองของแนวความคิดทางการเมือง สถาบันทางการเมือง และพฤติกรรมทางการเมืองของกลุ่มประชาคมอาเซียน

Course image การวิเคราะห์การเมืองการปกครองของไทย
สาขาวิชารัฐศาสตร์

ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยทางประวัติศาสตร์ โครงสร้างสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย ลักษณะแนวโน้มของทางการเมืองของไทย ลักษณะเฉพาะและอุดมการณ์ประจำชาติ บทบาทของทหารต่อการเมืองการปกครองของไทย

Course image การปกครองคณะสงฆ์ไทย
สาขาวิชารัฐศาสตร์

ศึกษาพัฒนาการของระบบการปกครองคณะสงฆ์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงปัจจุบันศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับต่างๆ กฎ ระเบียบ คำสั่งและประกาศที่สำคัญของคณะสงฆ์  การประยุกต์การปกครองและการบริหารในปัจจุบันสำหรับคณะสงฆ์ไทย

Course image ความรู้เบื้องต้นทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สาขาวิชารัฐศาสตร์

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในมิติต่างๆ ได้แก่ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม มิติด้านการเมืองการปกครอง มิติวัฒธรรม เป็นต้น เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารและการปกครองของรัฐกับรัฐ กลไกการสร้างความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ  มีความรู้ความเข้้าใจในกฎระเบียบของแต่ละประเทศ

Course image พุทธประวัติ-นักธรรมตรี
สาขาวิชารัฐศาสตร์

นักธรรมชั้นตรี (ชื่อย่อ น.ธ.ตรี) เป็นระดับการศึกษา พุทธศาสนาในประเทศไทยแผนกธรรม โดยเป็นชั้นแรกของการศึกษาระดับพื้นฐานของพระสงฆ์ สามเณรในประเทศไทย โดยเป็นการศึกษาสำหรับฝ่ายพระภิกษุสามเณรโดยเฉพาะ เมื่อศึกษาจบจะได้วุฒิเทียบเท่าชั้นประถม

Course image รัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา
สาขาวิชารัฐศาสตร์

- เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในหลักแนวคิดทางการเมือง การบริหาร และการปกครองของพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ตำราทางพระพุทธศาสนาและจากผลงานของนักวิชาการสมัยใหม่

- เพื่อให้นิสิตสามารถใช้ความรู้ทางด้านการปกครองและการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- เพื่อให้นิสิตสามารถนำความรู้ทางด้านการปกครองและการบริหารไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่

พระพุทธศาสนาเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม

Course image ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์
สาขาวิชารัฐศาสตร์

ศึกษาธรรมชาติและวิธีการทางรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับศาสตร์ทางสังคมอื่นๆ แนวคิด ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์และสิทธิอำนาจ การใช้อำนาจ องค์ประกอบของรัฐและอำนาจอธิปไตย ความคิดทางการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับบุคคล อำนาจกับกฎหมาย การจัดระเบียบปกครอง สถาบันทางการเมืองการปกครอง พลังและกระบวนการทางการเมืองและประชาคมนานาชาติรวมถึงระบบการเมืองการปกครองที่เหมาะสมที่สุดที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมทางการเมืองและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีอันมีคุณค่ากับการดำรงอยู่ของสังคมที่มั่นคง มีความสุขเกิดความปรองดองของคนในชาติ