Font size
Site color
ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
If you continue browsing this website, you agree to our policies:
x
MCU e-Learning
วรรณคดีบาลี
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาประวัติความหมายประเภทและพัฒนาการของคัมภีร์พระไตรปิฎก  อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา โยชนาและปกรณ์วิเสส วรรณกรรมบาลีในประเทศไทย และคุณค่าของวรรณกรรมบาลีต่อสังคมไทย

ธรรมประยุกต์
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและแก้ปัญหาชีวิตและสังคม


วิชาศึกษาศาสตร์ในพระไตรปิฎก
คณะพุทธศาสตร์

          ศึกษาความหมายและขอบข่ายของศึกษาศาสตร์  คำสอนในพระไตรปิฏกที่เกี่ยวกับการศึกษา เน้นเป้าหมายของการศึกษาตามหลักไตรสิกขา กระบวนการจัดการศึกษาแบบกัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการ  วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า  คุณธรรมและจริยธรรมของครู

ชีวิตและผลงานของปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา
คณะพุทธศาสตร์

            เพื่อให้นิสิตรู้ชีวประวัติ รู้จักผลงาน ประวัติการแต่งและการแปลคัมภีร์ของนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน รู้จักนำหลักปรัชญาการสอนของท่านเหล่านั้นมาใช้สามารถถ่ายทอด  แนวคิด และความศรัทธาของท่านเหล่านั้น ที่อุทิศต่อพระพุทธศาสนาได้

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๓
คณะพุทธศาสตร์

            เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีปฏิบัติกรรมฐานตามแนว เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ในมหาสติปัฏฐานสูตร  วิธีการปรับอินทรีย์ หลักธรรมที่ควรรู้ได้แก่ วิปัลลาส อภิญญา วิสุทธิ วิชชา

ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ระยะ นั่งกำหนด ระยะ ส่งและสอบอารมณ์

อักษรจารึกในพระไตรปิฏก
คณะพุทธศาสตร์

เพื่อให้นิสิตทราบอักษรต่าง ๆ ที่ใช้จารึกพระไตรปิฎก ได้แก่อักษรเทวนาครี สิงหล ขอม พม่า มอญ อักษรธรรมล้านนา และอักษรโรมัน ให้สามารถอ่านออก เขียนได้

ธรรมภาคปฏิบัติ ๗
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน สภาวธรรมที่เกิดดับในขณะปฏิบัติฯ วิธีแก้สภาวธรรมของสํานักปฏิบัติ ธรรมในสมัยปัจจุบัน เปรียบเทียบกับมหาสติปัฏฐานสูตร ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม และ นั่งกําหนด ส่งและสอบอารมณ์

พระไตรปิฎกศึกษา
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาความหมายและความสำคัญของพระไตรปิฎก ความเป็นมา การจำแนกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก คำอธิบายโดยย่อของพระอรรถกถาจารย์ การรักษาสืบทอดโดยมุขปาฐะและลายลักษณ์อักษร ลำดับคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ในประเทศไทย และคุณค่าของพระไตรปิฎกพระไตรปิฎกที่มีต่อสังคมไทย


วิชา พุทธศิลปะ
คณะพุทธศาสตร์

พุท ธะ ศิลปะ

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้อธิบายความหมายไว้ว่า พุทธเจดีย์ น. เจดีย์เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า มี 4 ชนิด คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์ 

รศ.สงวน รอดบุญ ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพุทธศิลป์ไว้ว่า พุทธศิลป์ คือศิลปกรรม ที่สร้างขึ้นรับใช้พระพุทธศาสนาโดยตรง ทั้งในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมในลัทธิมหายาน และเถรวาท 

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้อธิบายความหมายไว้ว่า เจดีย์ที่เคารพนับถือ บุคคล สถานที่ หรือวัตถุที่ควรเคารพบูชา เจดีย์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้ามี 4 อย่างคือ 1. ธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 2. บริโภคเจดีย์ คือสิ่งหรือสถานที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย 3. ธรรมเจดีย์ บรรจุพระธรรม คือพุทธพจน์ 4. อุทเทสิกเจดีย์ คือ พระพุทธรูป ; ในทางลปกรรมไทย หมายถึง สิ่งที่ก่อเป็นยอดแหลมเป็นที่บรรจุสิ่งที่เคารพนับถือ เช่น พระธาตุ และอัฐิบรรพบุรุษ
ส่วนสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ทรงอธิบายพุทธศิลป์มีเนื้อความว่า ในสมัยนั้นพุทธบริษัทนับถือพระไตรสรณคมน์ ไม่มีวัตถุอื่นเป็นเจดีย์ในพระพุทธศาสนา พระไตรสรณคมน์จึงเป็นเจดีย์ในพระพุทธศาสนา ต่อมาเจดีย์ในพระพุทธศาสนาจึงมี 4 ประเภท คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุทเทสิกเจดีย์ เกิดในภายหลัง 

พระธรรมโกศาจารย์ หรือพุทธทาสภิกขุ ท่านได้อธิบายความหมายเกี่ยวกับพุทธศิลป์มีเนื้อความสรุปได้ว่า ยอดของศิลปะนั้น เป็นเรื่องดำรงชีวิตจิตใจให้อยู่เหนือความทุกข์ นี่เป็นศิลปะสูงสุดในพระพุทธศาสนา เรียกว่า เป็นศิลปะขงชาวพุทธ ในการที่ช่วยกันปลดเปลื้องความทุกข์ในทางจิตใจ หรือปัญหาสังคม ในปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นเรื่องทางวัตถุ ศิลปะของชาวพุทธเลยกลายเป็นเรื่อง โบสถ์เจดีย์และพระพุทธรูปสวยๆ


        วัดในพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นถาวรวัตถุสำคัญที่ส่วนหนึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สำหรับพักอาศัยของพระสงฆ์ และอีกส่วนหนึ่งเพื่อใช้สำหรับการประกอบศาสนกิจตลอดถึงพิธีกรรมต่าง ๆ ภายในวัดจึงมีถาวรวัตถุที่สำคัญ เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ศาลา เป็นต้น 

        การเผยแผ่พระพุทธศาสนา  โดยพระพุทธสาวกผู้มีความศรัทธาได้ทำหน้าที่การเผยแผ่โดยผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ เช่น นิตยสาร วารสาร เป็นต้น

        แต่ก็ยังมีสื่อที่มีบทบาทสำคัญอันถือเป็นหลักในการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้กว้างขวางออก ไปมากยิ่งขึ้น คือ สื่อด้านพุทธศิลป์

        ในปัจจุบัน เราจะได้ยินคําว่าพุทธศิลป์บ่อยครั้งมาก และในบางมหาวิทยาลัย ก็มีการจัดการศึกษา ในสาขานีโ้ดยตรง มีการเปิดการเรียนการสอนในสาขานี ้และได้มกีารจัดตั้งเป็นคณะ และใช้ชื่อว่าคณะพุทธ ศิลป์ โดยตรงก็มีมาแลว้ จึงอยากจะทําความรู้จัก กับความเป็นไปเป็นมา และความหมายที่แท้จริงของคํา ว่า พุทธศิลป์ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และมีเน้ือหา เกี่ยวข้อง และครอบคลุมไปถึงอะไร และอย่างไรบ้าง 

        พุทธ   ความหมายคือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้รู้แล้ว ผู้ตื่นแล้ว ผู้รู้อริยสัจสี่
        ศิลปะ  ความหมายคือ ฝีมือทางงานช่าง สล่า งานแสดง สิ่งของที่นํามาแสดง  การแสดงออกซึ่ง อารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์   

       ศิลปะ หรือ ศิลป์ เป็นการกระทํา หรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะ โดยมนุษย์ เป็นผู้สร้างสรรค์ สุนทรียภาพ จินตนาการ หรือการสร้างจากอารมณ์ในภาวะต่างๆ ของมนุษย์ จนเป็นผลงาน แห่งความคิด และการรังสรรค์ ที่แสดงออกมาในรูปลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ก่อให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกในความงดงาม ความชอบ ความพึงพอใจ ความประทับใจ หรือเกิดความสะเทือนใจ มีอารมณ์ ชื่นชม ชอบ รัก ไมพ่อใจ เกลียด ชิงชัง เป็นต้น 

        ดังนั้นพุทธประวัติที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก กว่า 550 เรื่อง จึงได้นําออกมาถ่ายทอดผ่านงาน ศิลปะในรูปแบบต่างๆ ทั้งจิตรกรรมฝาผนัง งานประติมากรรม งานปั้นดินเผา อีกทั้งยังมีการแกะสลักหิน ประเภทต่างๆ และแกะสลักไม้  ในเวลาต่อมา ได้มีการแผ่ขยายอิทธิพล ไปทั่วทั้งทวีปเอเชีย เป็นเรื่องราวที่ เราสามารถศึกษาไดจ้ากภาพตามฝาผนังของโบสถ์ วิหาร วัด กําแพง คุ้ม ปราสาท พระราชวัง ซึ่งสามารถ ยกระดับ ความคิด จิต กาย จนเป็นหนทางเกิดมรรคญาณ ให้สําเร็จเป็นอริยบุคคลไดอ้ย่างมากมาย คําว่า “พุทธศิลป์” โดยสรุปอย่างเข้าใจง่ายที่สุดหมายถึง งานศิลปะประเภทต่าง ๆ ทั้งในด้าน สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่และการปฏิบัติทางพุทธ ศาสนาโดยตรง และเป็นสิ่งช่วยโน้มน้าวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ให้เกิดความศรัทธา ประพฤติปฏิบัติตนใน แนวทางที่ดีงามตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา โดยสิ่งที่ผู้สร้างงานศิลปะได้พยายามสื่อหรือสอดแทรกไว้ในงานศิลปะแต่ละชนิดเรียกได้ว่าเป็น ปรัชญาศิลปะในงานพุทธศิลป์  คืองานศิลปะที่มีธรรมะในศาสนาพุทธอยู่ในงานศิลป์นั้นซึ่งมีอยู่หลาย รูปแบบทั้งในรูปแบบของงานศิลปวัตถุหรือพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งจะมีหลักธรรมะสอนอยู่  โดยแบ่งศึกษา ออกเป็นประเภทต่างๆทั้งพระพุทธรูป  สถูปเจดีย์  อาคารสถานที่และวัตถุส่ิงของ  จึงสามารถกล่าวได้ว่า งานศิลปกรรมเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่ง ดังนั้นการนํางานพุทธศิลป์มาเป็นสื่อในการสอน ปรัชญา  ธรรมะตา่งๆ เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบหนึ่ง

รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาความหมายและขอบข่ายของรัฐศาสตร์ หลักการตามแนวทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกศึกษาหลักการ รูปแบบและพุทธวิธีการบริหารของพระพุทธเจ้าเท่าที่ปรากฏในพระไตรปิฎก หรือหลักธรรมผู้บริหาร เปรียบเทียบรัฐศาสตร์แนวพุทธกับรัฐศาสตร์ทั่วไปและสามารถนำเอาหลักการนั้นๆ มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

พระพุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาความหมายและขอบข่ายของเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีหลักทางเศรษฐศาสตร์ ที่ปรากฏในคำสอนทางพระพุทธศาสนา จริยธรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภค  เปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์แนวพุทธศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์ทั่วไปรวมทั้งศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


วิชาหลักพุทธธรรม
คณะพุทธศาสตร์

เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกาและหนังสือที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหลักพุทธธรรมที่สำคัญ เช่น หลักอริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒  ขันธ์  ไตรลักษณ์  โพธิปักขิยธรรม ๓๗  กรรม ๑๒ เป็นต้น โดยใช้วิธีการศึกษาแบบลึกซึ้งทั้งในเชิงวิเคราะห์และการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

ธรรมประยุกต์
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและแก้ปัญหาชีวิตและสังคม


ชาดกศึกษา
คณะพุทธศาสตร์

                  คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด มีรากคำมาจากธาตุ (Root) ว่า ชนฺ แปลว่า “เกิด” แปลง ชนฺ ธาตุเป็นชา ลง ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ ต ปัจจัยตัวนี้กำหนดให้แปลว่า “แล้ว” มีรูปคำเป็น “ชาต” แปลว่า เกิดแล้ว เสร็จแล้วให้ลง ก ปัจจัยต่อท้ายอีกสำเร็จรูปเป็น “ชาดก” อ่านออกเสียงตามบาลีสันสกฤตว่า “ชา-ตะ-กะ” แปลว่าผู้เกิดแล้ว เมื่อนำคำนี้มาใช้ในภาษาไทย เราออกเสียงเป็น ชาดก โดยแปลง ต เป็น ด และให้ ก เป็นตัวสะกดในแม่กก
                 ในความหมาย คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่างๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดก เป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้ ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้นๆ
                  นัยยะหนึ่งชาดก จึงหมายถึงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์เสวยพระชาติต่างๆ เป็นมนุษย์บ้าง อมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง สัตว์บ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ผู้ใดจะทรงยกชาดก ซึ่งเป็นนิทานอิงธรรมมาเล่าเป็นบุคคลาธิษฐาน คือเป็นวิธีการสอนแบบยกเอาเรื่องราวนิทานมาประกอบ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย แทนที่จะสอนธรรมะกันตรงๆ


วิชาพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
คณะพุทธศาสตร์

เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ลักษณะ ขอบข่ายและวิธีการแสวงหาความจริงของ

พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ โดยสามารถศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีวิวัฒนาการ  ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ และทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ที่มีต่อพระพุทธศาสนา รวมทั้งเข้าใจถึงผลกระทบทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อโลกและพระพุทธศาสนา

วิชาคณิตศาสตรืเบื้องต้น
คณะพุทธศาสตร์

      ๑.  เพื่อให้นิสิตรู้หลักพื้นฐาน  การใช้เหตุผลและวิธีการทางคณิตศาสตร์

      ๒.  เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความรู้ทางตรรกศาสตร์  การเขียนสัญลักษณ์และการหาค่าความจริง

      ๓.  เพื่อให้นิสิตรู้จักเซต  การดำเนินการเซต  จำนวนจริง  สมการ  อสมการ  ค่าสัมบูรณ์  และการหาค่าตัวแปรในระบบจำนวน

      ๔.  เพื่อให้นิสิตรู้จัก  ความสัมพันธ์  ฟังก์ชั่น  และการประยุกต์ใช้

      ๕.  เพื่อให้นิสิตรู้จักแมตริกซ์  การดำเนินการ  ดีเทอร์มิเนนซ์  อินเวอร์ส  และการประยุกต์ใช้แมตริกซ์

ประวัติพระพุทธศาสนา
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาประวัติศาสนาพระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความสำคัญและลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา การแยกนิกายของพระพุทธศาสนา การขยายตัวของพระพุทธศาสนาเข้าไปในนานาประเทศ และอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อวัฒนธรรมในประเทศนั้นๆ รวมทั้งศึกษาขบวนการและองค์การใหม่ๆ ในวงการพระพุทธศาสนายุคปัจจุบันและอนาคต

พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา
คณะพุทธศาสตร์

ความหมายของระบบนิเวศ
     ระบบนิเวศ (Ecosystem) เป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ กับบริเวณแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่
     ระบบนิเวศนั้นเป็นแนวคิด (concept) ที่นักนิเวศวิทยาได้นำมาใช้ในการมองโลกส่วนย่อย ๆ ของโลกเพื่อที่จะได้เข้าใจความเป็นไปบนโลกนี้ได้ดีขึ้น
      ระบบนิเวศหนึ่ง ๆ นั้น ประกอบด้วยบริเวณที่สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ และกลุ่มประชากรที่มีชีวิตอยู่ในบริเวณดังกล่าว พืชและโดยเฉพาะสัตว์ต่าง ๆ ก็ต้องการบริเวณที่อยู่อาศัยที่มีขนาดอย่างน้อยที่สุดที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อว่าการมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป ยกตัวอย่างเช่น สระน้ำแห่งหนึ่งเราจะพบสัตว์และพืชนานาชนิด ซึ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับบริเวณน้ำที่มันอาศัยอยู่โดยมีจำนวนแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด สระน้ำนั้นดูเหมือนว่าจะแยกจากบริเวณแวดล้อมอื่น ๆ ด้วยขอบสระ แต่ตามความเป็นจริงแล้วปริมาณน้ำในสระสามารถเพิ่มขึ้นได้ โดยน้ำฝนที่ตกลงมา ในขณะเดียวกันกับที่ระดับผิวน้ำก็จะระเหยไปอยู่ตลอดเวลา น้ำที่ไหลเข้ามาเพิ่มก็จะพัดพาเอาแร่ธาตุและชิ้นส่วนต่าง ๆ ของพืชที่เน่าเปื่อยเข้ามาในสระตัวอ่อนของยุงและลูกกบตัวเล็ก ๆ อาศัยอยู่ในสระน้ำ แต่จะไปเติบโตบนบก นกและแมลงซึ่งมีถิ่นที่อยู่นอกสระก็จะมาหาอาหารในสระน้ำ การไหลเข้าของสารและการสูญเสียสารเช่นนี้จึงทำให้สระน้ำเป็นระบบเปิดระบบหนึ่ง
      หากมีแร่ธาตุไหลเข้ามาเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้การเจริญเติบโตของพืชเพิ่มมากขึ้น เช่น ไฟโตแพลงตันหรือพืชน้ำที่อยู่ก้นสระ ปริมาณสัตว์จึงเพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่เมื่อปริมาณสัตว์เพิ่ม ปริมาณของพืชที่เป็นอาหารก็จะค่อย ๆ น้อยลง ทำให้ปริมาณสัตว์ค่อย ๆ ลดตามลงไปด้วยเนื่องจากอาหารมีไม่พอ ดังนั้นสระน้ำจึงมีความสามารถในการที่จะควบคุมตัวของมัน (Self-regulation) เองได้ กล่าวคือ จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อยู่ในสระน้ำจะมีจำนวนคงที่ ซึ่งเราเรียกว่ามีความสมดุล
       สระน้ำนี้ จึงเป็นหน่วยหนึ่งของธรรมชาติที่เรียกว่า "ระบบนิเวศ" (Ecosystem) ซึ่งกล่าวได้ว่าระบบนิเวศหนึ่ง ๆ นั้น เป็นโครงสร้างที่เปิดและมีความสามารถในการควบคุมตัวของมันเอง ประกอบไปด้วยประชากรต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ไร้ชีวิต ระบบนิเวศเป็นระบบเปิดที่มีความสัมพันธ์กับบริเวณแวดล้อมโดยมีการแลกเปลี่ยนสาร และพลังงาน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวชุมชนที่มีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ใช้ชีวิตนั้นรวมกันเป็นระบบนิเวศ
     ระบบนิเวศอาจมีขนาดใหญ่ระดับโลก คือ ชีวาลัย (biosphere) ซึ่งเป็นบริเวณที่ห่อหุ้มโลกอยู่และสามารถมีขบวนการต่าง ๆ ของชีวิตเกิดขึ้นได้หรืออาจมีขนาดเล็กเท่าบ่อน้ำแห่งหนึ่ง แต่เราสามารถจำแนกระบบนิเวศออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ ดังนี้
1.  ระบบนิเวศทางธรรมชาติและใกล้ธรรมชาติ (Natural and seminatural ecosystems)
      เป็นระบบที่ต้องพึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ เพื่อที่จะทำงานได้
      1.1 ระบบนิเวศแหล่งน้ำ (Aguative cosystems)                 1.1.1 ระบบนิเวศทางทะเล เช่น มหาสมุทรแนวปะการัง ทะเลภายในที่เป็นน้ำเค็ม
      1.2 ระบบนิเวศบนบก (Terresttrial ecosystems)                 1.2.1 ระบบนิเวศกึ่งบก เช่น ป่าพรุ
                1.2.2 ระบบนิเวศบนบกแท้ เช่น ป่าดิบ ทุ่งหญ้า ทะเลทราย
2.  ระบบนิเวศเมือง-อุตสาหกรรม (Urbanindustral ecosystems)       เป็นระบบที่ต้องพึ่งแหล่งพลังงานเพิ่มเติม เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง พลังนิวเคลียร์ เป็นระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใหม่
3.  ระบบนิเวศเกษตร (Agricultural ecosystems)       เป็นระบบที่มนุษย์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทางธรรมชาติขึ้นมาใหม่


วิชาสันติศึกษา
คณะพุทธศาสตร์

ในขณะที่โลกปัจจุบันกำลังเดินทางเข้าสู่ความสุดโต่ง (Extreme) ทั้ง 2 ด้าน คือ (1) ลัทธิทุนนิยม (Capitalism) การลุ่มหลง มัวเมาอยู่ในวัตถุนิยม และบริโภคนิยม ภายใต้ บาทฐานของระบบทุนนิยม จึงทำให้สังคมมนุษย์เปลี่ยนจากสังคมแห่งการแบ่งปันโน้มเอียง ไปสู่สังคมแห่งการแย่งชิง โดยแย่งกันหากิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันสวาท และแย่งอำนาจกันเป็นใหญ่ เพื่อสนองกิเลสตัณหาอย่างไม่มีขีดจำกัด (2) ลัทธิก่อการร้าย (Terrorism) เน้นพฤติการณ์รุนแรงซึ่งมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความกลัว กระทำการเพื่อจุดประสงค์ทางศาสนาการเมืองหรืออุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการกระทำที่จงใจหรือไม่ใส่ใจต่อความปลอดภัยของผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง (พลเรือน) และกระทำโดยองค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐใดๆลัทธิที่ 2 เป็นปฏิกิริยาย้อนกลับเพื่อทิ่มแทงลัทธิที่ 1 อันเกิดมาจากความไม่พึงพอใจความคับแค้นใจ อันเนื่องมาจากการกินพื้นที่ และภาวะคุกคามของระบบทุนนิยม