ด้วยปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ได้เปิดดำเนินการจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิตแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ จำนวน ๓ คณะ ได้แก่ (๑) คณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (๒) คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (๓) คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา และสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ในแต่ละปีมีพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสมัครเข้าศึกษาในชั้นปีที่ ๑ เป็นจำนวนมาก และในการรับสมัครผู้สอบเข้าศึกษาต่อนั้น มหาวิทยาลัยมีความจำเป็นต้องบริการคู่มือนิสิตเพื่อเป็นการแนะนำ แนะแนว และให้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับประกาศ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นต้น แก่ผู้ที่จะเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลด้านการศึกษา การปฏิบัติตน และการติดต่อประสานงานกับมหาวิทยาลัย สำนักวิชาการวิทยาเขตสุรินทร์จึงมีการดำเนินการโครงการจัดทำคู่มือนิสิตประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ ขึ้น
คู่มือปฏิบัติงาน การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง SAR ระดับวิทยาเขต ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ เล่มนี้ จัดทำขึ้นโดยรวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหาให้เข้าใจได้โดยง่าย โดยเนื้อหาได้บรรจุมาตรฐานการปฏิบัติงาน ขั้นตอน หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ ซึ่งการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการ ถือเป็นภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินงานมาโดยตลอด เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งคุณภาพและองค์กรแห่งการเรียนรู้ การจัดทำคู่มือฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึงขอบข่ายภาระงานของงานประกันคุณภาพการศึกษา และเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาต่อไปได้
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือปฏิบัติงาน การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง SAR ระดับวิทยาเขต ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับวิทยาเขต และผู้ร่วมงานตลอดจนผู้ที่ให้ความสนใจการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง SAR ประจำปีการศึกษา ระดับวิทยาเขต และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานจริงได้เป็นอย่างดี และหากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำต้องขออภัยและยินดีรับข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงให้คู่มือฉบับนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป
นายเขมกร อุส่าห์ดี
นักวิชาการศึกษา (งานประกันคุณภาพการศึกษา)
มิถุนายน ๒๕๖๒