พระสุตตันตปิฎก ๒ (๒-๐-๔) (Suttanta Pitaka)
คณะครุศาสตร์

     ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระสุตตันตปิฎก เลือกศึกษาวิเคราะห์พระสูตรที่สำคัญ คือ พรหมชาลสูตร มหาปรินิพพานสูตร อัคคัญญสูตร รวมทั้งประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ จากนิกายทั้ง ๕ นิกาย คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย โดยอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ 


ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๑ ๒ (๑-๒-๓) (Practicum in School 1)
คณะครุศาสตร์

     รู้ เข้าใจ และศึกษาสังเกตสภาพแวดล้อมทั่วไปของโรงเรียน สภาพงานครู การจัดการเรียนรู้ในสภาพห้องเรียน เพื่อนำมาวิเคราะห์การปฏิบัติหน้าที่ครูถอดบทเรียนจากประสบการณ์การเรียนรู้ในสถานศึกษา สังเคราะห์องค์ความรู้และนำผลจากการเรียนรู้ในสถานศึกษาไปประเมินสะท้อนกลับเป็นรายบุคคลและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู


ฝึกปฏิบัติวิชาชีพประสบการณ์ระหว่างเรียน ๑ (Professional Experience 1)
คณะครุศาสตร์

            บูรณาการความรู้และการมีส่วนร่วมกับสถานศึกษาโดยสังเกตการจัดการเรียนรู้ การจัดทำแผนการเรียนรู้ การทดลองสอนในสถานการณ์จำลอง ปฏิบัติธรรม ศึกษาดูงานโครงการในพระราชดำริและจัดกิจกรรมอาสา  รวบรวมข้อมูลและนำเสนอผลการศึกษา


การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance in Education)
คณะครุศาสตร์

          หลักการ แนวคิด และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา ฝึกปฏิบัติการจัดการคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ รวมทั้งการจัดกิจกรรมประเมินคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้


ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๒ (Practicum in School 2)
คณะครุศาสตร์

      รู้และเข้าใจการจัดทำแผนการเรียนรู้ การจัดทำสื่อและเทคโนโลยี การออกแบบทดสอบ ข้อสอบหรือเครื่องมือวัดผล การตรวจข้อสอบ การให้คะแนนและการตัดสินผลการเรียน การสอบภาคปฏิบัติและการให้คะแนน เพื่อนำไปฝึกปฏิบัติการสอนแบบจุลภาคในสถานการณ์จำลอง และปฏิบัติงานผู้ช่วยครูร่วมกับครูพี่เลี้ยงในสถานศึกษาสัมมนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติวิชาชีพ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู 




ศิลปกรรมในพระพุทธศาสนา
คณะครุศาสตร์

ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม  แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ การนำหลักธรรมคำสอนไปปฏิบัติในการพัฒนาตนเอง และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นผู้กระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมทั้งบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม


ประวัติศาสตร์ไทยเชิงวิเคราะห์ ๒๐๓ ๒๐๓ Analytical History of Thailand
คณะครุศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการชาติไทยด้านการเมืองและการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความสัมพันธ์กับต่างประเทศ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ และสถานการณ์ชาติไทยในปัจจุบันในเชิงวิเคราะห์

เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
คณะครุศาสตร์

วิชาเศรษฐศาสตร์มีความจำกัดความอย่างสั้นๆว่า เป็นวิชาที่ได้ศึกษาถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการอันไม่สิ้นสุดของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรืออาจกล่าวได้ว่า เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ให้ความสำคัญกับการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่านั่นเอง

การศึกษาหลักการเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์  ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  รูปแบบต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจ การทำงานของกลไกราคาในตลาด  บทบาทของภาครัฐ  ภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจ  เงินตราและสถาบันการเงิน  เน้นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน  ในเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นข้อมูลประกอบการศึกษา

ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ในการดำเนินชีวิตประจำวันในชีวิตประจำวันของมนุษย์  ย่อมมีเรื่องที่ต้องคิดและตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งมีให้พิจารณาอยู่มากมายหลายชนิด หลายราคา และหลายยี่ห้ออยู่ตลอดเวลาดังนั้น  วิชาเศรษฐศาสตร์จึงสามารถนำมาประยุกต์ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้  โดยมีปัจจัยหลายประการเข้ามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจดังกล่าว  เช่น  ราคาของสินค้า  จำนวนเงินที่มีอยู่  รสนิยม  ความพึงพอใจต่างๆ  เป็นต้น    ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์  รวมทั้งแสดงถึงรสนิยมที่เหมาะสมในการรู้จักเลือกบริโภค  และยังเป็นการช่วยเหลือประเทศชาติในทางอ้อมอีกด้วย



การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development)
คณะครุศาสตร์

ความสำคัญของหลักสูตร หลักการ และแนวคิดในการจัดทำหลักสูตร แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรไทยและต่างประเทศ ประเภทของหลักสูตร ปัจจัยและพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ การออกแบบและการพัฒนาหลักสูตร ฝึกปฏิบัติ การประเมินหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรเชิงสมรรถนะ (Competency-based curriculum) และการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร

ความเป็นครูวิชาชีพ ๒๐๐ ๑๐๑ (Professional Teacher)
คณะครุศาสตร์

รู้ เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของวิชาชีพครูและจิตวิญญาณความเป็นครู สภาพงานครู บทบาทหน้าที่ของครู คุณลักษณะสำคัญของความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ ๒๑ มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ กฎหมายเกี่ยวกับครูและวิชาชีพครู เพื่อการเป็นครูที่มีสมรรถนะสูง มีความรอบรู้ ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงบริบทโลก 




เอกสารประกอบคำสอนเรื่องบทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงธรรมะ
คณะครุศาสตร์

บทนำ

 

การท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมากรวมทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่ยังไม่พัฒนา อีกทั้งยังมีแนวโน้นจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นอนาคตทั้งนี้การท่องเที่ยวระหว่างประเทศสามารถทำรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเข้ามาช่วยแก้ไขสภาวะการขาดดุลชำระเงินของประเทศอันสืบเนื่องมาจากการขาดดุลการค้าส่วนการท่องเที่ยวภายในประเทศก็กระตุ้นให้เกิดการลงทุนผลิตสินค้าและการบริการต่างๆอันเป็นการช่วยสร้างงานและการกระจายรายได้ไปสู่ทุกระดับอาชีพนอกจากนี้คุณค่าทางการศึกษาและสุขภาพจิตของนักท่องเที่ยวจะได้รับจากการท่องเที่ยวยังเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล

                                                                                                                                                                                                       

                                                                                                นายสุกิช    เขียวพฤกษ์

                                                                               อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

                                                                                                 วิทยาเขตนครสวรรค์