ศึกษาประวัติศาสนาพระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ความสำคัญและลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา การแยกนิกายของพระพุทธศาสนา
การขยายตัวของพระพุทธศาสนาเข้าไปในนานาประเทศ
และอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อวัฒนธรรมในประเทศนั้นๆ
รวมทั้งศึกษาขบวนการและองค์การใหม่ๆ ในวงการพระพุทธศาสนายุคปัจจุบันและอนาคต
ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระสุตตันตปิฎก เลือกศึกษาวิเคราะห์พระสูตรที่ส าคัญ คือ
พรหมชาลสูตร มหาปรินิพพานสูตร อัคคัญญสูตร รวมทั้งประเด็นส าคัญที่น่าสนใจ จากนิกายทั้ง ๕ นิกาย คือ ทีฆ
นิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย โดยอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ
๑.เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนในระดับสากลและหลักการทางพระพุทธศาสนา
๒.หลักสิทธิมนุษยชน
สามารถนำหลักสิทธิมนุษยชน มาเป็นแนวทางในการส่งเสริม พัฒนาตนเองและสังคม
๓.เพื่อให้เกิดการยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางสิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ศึกษาความหมาย ประวัติ โครงสร้างและหลักธรรมสำคัญของวิสุทธิมรรค เช่น ศีล ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้นและอิทธิพลของวิสุทธิมรรค ที่มีต่อวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาและวิถีชีวิตไทย เปรียบเทียบวิสุทธิมรรคและวิมุตติมรรค
พระอภิธรรมปิฎก แบ่งเนื้อหาสาระเป็น ๘ บท มุ่งหมายให้ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระอภิธรรมปิฎก สาระสำคัญในคัมภีร์ธัมมสังคณี ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน
ศึกษาหลักคำสอนทางพระพุทะศาสนาที่เกี่ยวกับสันติภาพ
หลักการและวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งแนวพุทธโดยเน้นรูปแบบและวิธีการสังฆสามัคคีและใช้แนวคิดเรื่องสันติภาพทางตะวันตกมาเทียบเคียง
ความสำคัญของการสงเคราะห์และการช่วยเหลือการบริหารและการจัดการสงเคราะห์ของพระสงฆ์แบบคุณธรรม
จริยธรรมทางจิตใจสำหรับการสงเคราะห์ ข้อดีข้อเสียของการสงเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ
ถ้ามองตามเวลาและโอกาสการกำหนดเส้นทางการสงเคราะห์ตามหลักการ รูปแบบ
และวิธีการสงเคราะห์ ตามนโยบายในการสงเคราะห์ระหว่างพระสงฆ์กับพระสงฆ์หรือชาวบ้านกับชาวบ้าน