ปรัชญาเบื้องต้น (พระมหาถนอม อานนฺโท)
บัณฑิตศึกษา

    ศึกษาความหมายและขอบเขตของปรัชญา ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนาและวิทยาศาสตร์ สาขาปรัชญา และสาระสำคัญของปรัชญาสาขาต่าง ๆ พัฒนาการของปรัชญาตะวันออกและปรัชญาตะวันตก

ญาณวิทยาวิเคราะห์
บัณฑิตศึกษา

ศึกษาแนวคิดเรื่องความรู้หรือทฤษฎีความรู้ของปรัชญาตะวันตกและตะวันออกสำนักต่าง ๆ ในประเด็นเรื่องธรรมชาติของความรู้ ที่มาของความรู้ มาตรฐานในการตัดสินความรู้ ลักษณะความเชื่อและความมั่นใจ ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดทางญาณวิทยาของนักปรัชญาตะวันตกสำนักเหตุผลนิยม (Rationalism) สำนักประสบการณ์นิยม (Empiricism) และเอ็มมานูเอล ค้านท์ (Emmanuel Kant) โดยเปรียบเทียบกับญาณวิทยาในพุทธปรัชญาสำนักมัธยามิกและสำนักโยคารจาร

ปรัชญาการเมือง
บัณฑิตศึกษา

ศึกษาแนวคิดทางการเมือง เช่น แนวคิดเรื่องรัฐ แนวคิดเรื่องรัฐาธิปัตย์ แนวคิดเรื่องเสรีภาพ แนวคิดเรื่องการออกกฏหมาย แนวคิดเรื่องประชาธิปไตย แนวคิดเรื่องธรรมาธิปไตย แนวคิดเรื่องสังคมนิยม แนวคิดเรื่องเผด็จการนิยม แนวคิดเรื่องธัมมิกสังคมนิยม โดยเลือกแนวคิดสำคัญของนักปรัชญา เช่น ขงจื้อ พลาโต อาริสโตเติล โทมัส ฮอบบ์ จอห์น ล็อค ฌอง-ฌางค์ รุสโซ มาเคียเวลลี คาร์ล มาร์กซ์ มหาตมะ คานธี ดร.บี อาร์ อัมเบดการ์ และพุทธทาสภิกขุ

พระไตรปิฎกวิเคราะห์
บัณฑิตศึกษา
ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างสาระและพัฒนาการพระไตรปิฎกสาระสังเขปและวิเคราะห์หลักธรรมสำคัญ หลักธรรมที่ประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ
การใช้ภาษาบาลี ๑
บัณฑิตศึกษา
ศึกษาการพูด อ่าน เขียน ภาษาบาลีในระดับพื้นฐาน และแปลบาลีเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาบาลี โดยใช้หนังสือชาตกัฏฐกถาและธรรมปทัฏฐกถา
ปรัชญาจีน
บัณฑิตศึกษา

ศึกษาแนวคิดมนุษยนิยม  ธรรมชาติของมนุษย์ ทางสายกลาง ธรรมชาติและความจริง ของเต๋า แนวคิดเรื่องหยิน-หยาง  ความรักสากล  สวรรค์ สวัสดิการสังคม  สํานักกฎหมายนิยม (Legalism) แนวคิดเรื่องการศึกษา แนวคิดว่าด้วยความดี ความชั่ว โดยเน้นศึกษานักปรัชญาที่มีอิทธิพล ต่อแนวคิดและการพัฒนาทางสังคม เช่น ขงจื่อ  เม่งจื่อ เหล่าจื่อ หานเฟยจื่อ ซุนจื่อ

จริยศาสตร์วิเคราะห์
บัณฑิตศึกษา

ศึกษาทฤษฎีจริยศาสตร์ในปรัชญาตะวันตก เช่น ประโยชน์นิยม กรณียธรรม อัตตนิยมม เน้นศึกษาแนวคิดเรื่องความดีสูงสุดของชีวิต เกณฑ์ตัดสินความดี

พุทธปรัชญาในพระไตรปิฎก
บัณฑิตศึกษา

วิชานี้เน้นการศึกษาแนวคิดสําคัญทางปรัชญาเรื่อง อัตตา อนัตตา จิต เจตสิก รูป นิพพาน สวรรค์ นรก ความดี ความชั่ว สังคม รัฐ และการปกครอง โดยอาศัยกรอบแนวคิดหลัก คือ อภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ ในพระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาเถรวาท

อภิปรัชญาวิเคราะห์
บัณฑิตศึกษา

ศึกษาแนวคิดทางอภิปรัชญาหรือทฤษฎีความเป็นจริงในปรัชญาตะวันตกและตะวันออก เช่น แนวคิดของเพลโต้ อริสโตเติล วัตถุนิยม (Materialism) จิตนิยม (Idealism) ปฏิบัตินิยม (Pragmatism) สัจนิยม (Realism) ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ (Logical Positivism) อภิปรัชญาเชน  โยคาจาร อภิปรัชญาในพุทธปรัชญา ปัญหาเรื่องเสรีภาพกับความรับผิดชอบทางศีลธรรม : ทัศนะของนิยัตินิยม (Determinism) อนิยัตินิยม (Indeterminism) และทัศนะประนีประนอม (Compatibility) ปัญหาเรื่อง เวลาว่าเวลามีจริงหรือไม่ (Is time real?) ความเป็นจริง (Reality) ในพุทธปรัชญาสํานักมัธยมิก (Madhyamika) ความเป็นจริง (Reality) ในพุทธปรัชญาสํานักโยคาจาร

พระพุทธศาสนาเถรวาท
บัณฑิตศึกษา

ศึกษากำเนิดและพัฒนการของพระพุทธศาสนาเถรวาท คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และหลักคำสอนสำคัญที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นพุทธเถรวาท พร้อมทั้งการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศต่างๆ

สัมมนาพระพุทธศาสนา
บัณฑิตศึกษา

สัมมนาพระพุทธศาสนากับประเด็นปัญหาสังคมปัจจุบัน โดยให้นิสิตมีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นการอภิปราย เสนอข้อคิดเห็น และการวิเคราะห์หาแนวทางประยุกต์หลักพุทธธรรมมาแก้ปัญหาสังคมปัจจุบัน

พระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษ
บัณฑิตศึกษา

ศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านภาษาอังกฤษทั้งการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน โดยเน้นทักษะการใช้ศัพท์เฉพาะวิชาการด้านพระพุทธศาสนา (Technical Term) การอ่านคัมภีร์หรือตำรางานวิจัยทางพระพุทธศาสนาในภาษาอังกฤษเพื่อประโยชน์ในการทำงานวิชาการของนิสิต

พุทธปรัชญาในพระไตรปิฎก
บัณฑิตศึกษา

ศึกษาแนวคิดสำคัญทางปรัชญาในคัมภีร์พระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาเถรวาท ดังนี้ ปรัชญาว่าด้วยอนัตตา แนวคิดเรื่องจิต เจตสิก รูป และนิพพาน คำสอนเกี่ยวกับนรก สวรรค์ ความดี ความชั่ว ปรัชญาสังคมว่าด้วยแนวคิดเกี่ยวกับรัฐ การเมืองการปกครอง โดยอาศัยกรอบแนวคิดหลักคือ อภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์

พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาสังคมร่วมสมัย
บัณฑิตศึกษา
ศึกษาแนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ที่เกี่ยวกับเกณฑ์ตัดสินความดี ความชั่ว ควร ไม่ควร เพื่อเป็นฐานในการอธิบายและตอบปัญหาสังคมร่วมสมัยโดยเฉพาะปัญหาที่มีผลกระทบมาจากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การทำแท้ง การตัดต่อพันธุกรรม การทำการุณยฆาต การทำโคลนนิ่ง
ศึกษางานสำคัญทางพระพุทธศาสนา
บัณฑิตศึกษา

             ศึกษาประวัติและผลงานของนักปราชญ์ นักคิด และนักวิชาการ คนสำคัญทางพระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน  ทั้งในประเทศตะวันตกและตะวันออก เช่น งานนิพนธ์ของเชอร์บาตสกีย์ (Shcherbatsky) ริส  เดวิดส์ (T.W.Rhys Davids) และภรรยา คริสต์มาส  ฮัมฟรีส์ (Christmas Humphreys) และ ดี.ที.ซูซูกิ (D.T.Zuzuki) พระพุทธโฆสาจารย์, พระสิริมังคลาจารย์, พุทธทาสภิกขุ, พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นต้น

              To study of biography and works of the famous Buddhist scholars, thinkers, philosopher on contemporary in Western and Eastern world, for example the works of Shcherbatsky, T.W.Rhys Davids, Christmas Humphreys and D.T. Zuzuki. In the Theravada Buddhism, there are the works of Buddhagosa, Phrasirimangalacariya, Buddhadasa Bhikkhu, Phrabrammakunaporn and so on.