การสอนชาดกศึกษา
คณะพุทธศาสตร์

โครงสร้างและเนื้อหาของชาดก ความสำคัญ คุณค่าทางจริยธรรมของชาดก การสอนชาดกจากพระไตรปิฎก การสอนแบบบุคคลาธิษฐาน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเนื้อหาในชาดก


พระพุทธศาสนากับสันติภาพ
คณะพุทธศาสตร์
ศึกษาหลักคำสอนสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับสันติภาพ หลักการและวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งแนวพุทธ โดยเน้นรูปแบบและวิธีการสังฆสามัคคี และใช้แนวคิดเรื่องสันติภาพทางตะวันตกมาเทียบเคียง
พระอภิธรรมปิฎก
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาประวัติความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระอภิธรรมปิฎก  เนื้อหาสาระ  ประเด็นที่น่าสนใจในพระอภิธรรมปิฏกทั้ง    คัมภีร์ คือ คัมภีร์ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน โดยเน้นให้เข้าใจหลักปรมัตถธรรม  คือ  จิต  เจตสิก  รูป  และนิพพาน  โดยอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ   

ธรรมภาคปฏิบัติ ๖
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสูตรที่เชื่อมโยงกับมหาสติปัฏฐาน เช่น อปัณณกสูตร สติสูตร อาการบรรลุมรรคผลและคุณธรรมของพระอริยบุคคล ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๖ ระยะ กำหนดนั่ง ๖ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์

พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย
คณะพุทธศาสตร์

      ศึกษาภูมิปัญญาไทยที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศิลปะ และวัฒนธรรม

การจัดการกิจการพระพุทธศาสนาในอาเซียน
คณะพุทธศาสตร์

นิสิตมีความรู้ความเข้าใจประวัติความเป็นมา พัฒนาการประชาคมอาเซียน วัตถุประสงค์ เสาหลักของประชาคมอาเซียน พระพุทธศาสนาในประชาคมอาเซียน พัฒนาการกิจการพระพุทธศาสนาในอาเซียน แนวโน้มการจัดการกิจการพระพุทธศาสนาในอาเซียน

พระพุทธศาสนามหายาน (101 311)
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษากำเนิดและพัฒนาการของมหายานในอินเดีย การเผยแผ่มหายานเข้าสู่ประเทศต่างๆ หลักธรรม พิธีกรรม และนิกายสำคัญของมหายาน

ชาดกศึกษา
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาโครงสร้าง เนื้อหา และแนวคิดที่ปรากฏในชาดก อิทธิพลของชาดกที่มีต่อวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ศิลปะ และวิถีชีวิต

ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (000 158)
คณะพุทธศาสตร์
  • ศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
  • ความสำคัญและลักษณะเด่น 
  • การแยกนิกายและการขยายตัวของพระพุทธศาสนาซึ่งเผยแผ่เข้าไปในนานาประเทศ 
  • อิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อวัฒนธรรมในแต่ละประเทศ 
  • ศึกษาขบวนการและองค์กรแบบใหม่ในวงการพระพุทธศาสนายุคปัจจุบัน
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร กระบวนการเกิดดับของรูปนามตามแนวปฏิจจสมุปบาท หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยการเดินจงกรม ๕ ระยะ นั่งกำหนด ๕ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์

ปรัชญาพุทธเถรวาท
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาประวัติ การพัฒนาปรัชญาพุทธเถรวาทและทรรศนะในเรื่องอภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์

ธรรมะภาคภาษาอังกฤษชั้นสูง (101 414)
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาหนังสือธรรมะที่ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาได้รจนาไว้เป็นภาษาอังกฤษตามที่กำหนดไว้

เปรียบเทียบเถรวาทกับมหายาน (101 318)
คณะพุทธศาสตร์

เนื้อหาเปรียบเทียบหลักคำสอน และพิธีกรรมเถรวาทกับมหายาน