ความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี และขอบข่ายการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ ปทัสถานและวิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์  การบริหารการพัฒนา ปัจจัยแวดล้อมทางรัฐประศาสนศาสตร์ นโยบายและการวางแผนของรัฐ องค์การและการจัดการภาครัฐแนวใหม่ แนวโน้มรัฐประศาสนศาสตร์ของไทย

การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการระดมมวลชน
คณะสังคมศาสตร์

         ศึกษาพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชน พัฒนาการของการมีส่วนร่วมในอดีต สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มชนที่ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางสู่การวางแผนดำเนินการ  ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมระดมแสดงความคิดเห็นของประชาชน

รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสนา
คณะสังคมศาสตร์

วิชารัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสนาเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหากว้างขวางยากที่จะทำการศึกษาให้ครบสมบูรณ์ ส่วนเนื้อหารายวิชาในเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งที่รวบรวมมาประกอบการสอนตามวัตถุประสงค์รายวิชาหรือตามขอบข่ายเนื้อหาที่กำหนดตาม มคอ.๒  ของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง ๒๕๕๙ ที่ใช้ทำการเรียนการสอนในปัจจุบัน

การเมืองการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นของไทย
คณะสังคมศาสตร์

รูปแบบ พัฒนาการการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน  แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น

กฎหมายลักษณะพยาน
คณะสังคมศาสตร์

เนื้อหา ออกเป็น ๑๐ บท ประกอบด้วย ๑) หลักทั่วไปกฎหมายลักษณะพยาน ๒) พยานหลักฐาน ๓) พยานหลักฐานที่ต้องห้ามมิให้รับฟังในคดีอาญา ๔) วิธีสืบพยานหลักฐานในคดีอาญา ๕) พยานหลักฐานในคดีแพ่ง ๖) การกำหนดประเด็นข้อพิพาท ๗) ภาระการพิสูจน์ ๘) การยื่นบัญชีระบุพยาน ๙) วิธีการนำสืบพยานเอกสาร และ ๑๐) การนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร