Course image การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธ
คณะสังคมศาสตร์

๔๐๒ ๔๐๒ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธ (--)

(Human Resource Management in Buddhist Approach)

            ศึกษาความหมาย ความเป็นมา และแนวคิดเกี่ยวกับศึกษาปรัชญา ความเป็นมา แนวคิด การพยากรณ์เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ การวิเคราะห์งาน การวางแผน การสรรหา การคัดเลือก การปฐมนิเทศ การประเมินการปฏิบัติงาน การฝึกอบรม การบรรจุแต่งตั้งระบบการจ่ายค่าตอบแทน ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและพนักงาน สุขภาพ ความปลอดภัย คุณภาพชีวิตการทางานของพนักงาน และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา


Course image การเมืองการปกครองของประชาคมอาเซียน
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาแนวคิดและพฤติกรรมทางการเมือง สถาบันการเมือง การจัดระเบียบการปกครอง รูปแบบของรัฐและองค์กรแห่งอำนาจของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และปัญหาการพัฒนาการเมืองการปกครองของประชาคมอาเซียน

Course image พรรคการเมืองกลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง
คณะสังคมศาสตร์

 ศึกษาทฤษฎี ความเป็นมา และระบบของการเลือกตั้ง พรรคการเมือง กลุ่มอิทธิพล และกลุ่มผลประโยชน์ บทบาทและอิทธิพลของกลุ่มต่างๆ และความสัมพันธ์กับรัฐบาล พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และปัญหาการเลือกตั้ง เน้นกรณีของไทยโดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ


Course image การบริหารโครงการ
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาแนวความคิดและวิธีการวิเคราะห์โครงการ การจัดทำโครงการ การบริหารทรัพยากรของโครงการ การแก้ปัญหาและการปรับปรุงโครงการ การประสานงานกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การบริหารโครงการภายใต้การมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน การกำหนดเปูาหมายและวิธีการในการประเมินผลของโครงการ และให้มีการศึกษากรณีเฉพาะเรื่อง เน้นการบริหารโครงการพัฒนาของประเทศไทย โดยฝึกให้มีการเขียนโครงการเพื่อนาไปสู่การบริหารโครงการได้อย่างแท้จริง

Course image ความรู้เบื้องต้นทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(Introduction to International Relations)
คณะสังคมศาสตร์

 ความรู้เบื้องต้นทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(Introduction to International Relations)ศึกษาความรู้พื้นฐานของการเมืองระหว่างประเทศ ธรรมชาติและโครงสร้างของระบบการเมืองระหว่างประเทศ ปัจจัยทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและการทหาร วัฒนธรรม อุดมการณ์ที่มีผลต่อแนวพฤติกรรมของรัฐ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ พัฒนาการความร่วมมือระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมายและสถาบันระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวพระพุทธศาสนา

Course image การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
คณะสังคมศาสตร์

การบริหารเชิงกลยุทธ์  (Strategic Management)ศึกษากระบวนการบริหารนักบริหารกับการสื่อสารการตัดสินใจการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเทคนิควิธีการเพื่อความสำเร็จขององค์กรการบริหารเชิงปฏิบัติการและการควบคุมคุณภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรการจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมกฎหมายกับกิจกรรมการบริหารการเสริมสร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาความพร้อมการพัฒนาระบบคุณธรรมของนักบริหารกระบวนการสานสัมพันธ์กิจกรรมการดูงานและอื่นๆ


Course image การบริหารความเสี่ยง(Risk Management)
คณะสังคมศาสตร์

การบริหารความเสี่ยง(Risk Management) ศึกษาแนวคิดและหลักการในการบริหารความเสี่ยง กระบวนการในการป้องกันอำนาจและทรัพย์สินโดยการลดโอกาสของการสูญเสีย การควบคุมความเสี่ยง การวางแผนความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การตรวจสอบความเสี่ยงและบันทึกการบริหารความเสี่ยง วิธีการบริหารจัดการที่เป็นไปเพื่อการคาดการณ์และลดผลเสียของความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร การบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรมรวมทั้งกระบวนการดำเนินงานต่างๆ โดยลดมูลเหตุและโอกาสที่องค์กรจะเกิดความเสี่ยง

 

Course image การบริหารการคลังส่วนท้องถิ่น( Local Fiscal Management)
คณะสังคมศาสตร์

การบริหารการคลังส่วนท้องถิ่น (Local  Fiscal  Management)ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารการคลังท้องถิ่นการบริหารงานคลังของหน่วยงานการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นการพิจารณาถึงการจัดหารายได้ การกำหนดรายจ่าย การจัดทางบประมาณ การจัดซื้อ การจัดจ้าง การบัญชี การตรวจสอบบัญชีของหน่วยงานการปกครองท้องถิ่น กระบวนการงบประมาณท้องถิ่นเป็นตัวกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ของแหล่งที่มาของรายรับ กับรูปแบบในการใช้จ่ายของแต่ละหน่วยการปกครองท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดความสอดคล้องต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานการปกครองท้องถิ่น 

 


Course image การบริหารองค์กรภาครัฐ
คณะสังคมศาสตร์

๑. ความนำ

          คณะกรรมการการเลือกตั้ง (อังกฤษ: Election Commission of Thailand)คณะกรรมการการเลือกตั้ง (อังกฤษ: Election Commission of Thailand) หรือย่อว่า กกต. (ECT) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีหน้าที่หลักเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งในปี


Course image ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น
คณะสังคมศาสตร์

1.   คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความหมาย ขอบเขต ที่มา และลักษณะของวิชาปรัชญาการเมือง แนวความคิดทางการเมืองของตะวันตกตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการเมืองของเพลโต อริสโตเติล ปรัชญาการเมืองสมัยกลาง สมัยปัจจุบันและสมัยใหม่ ศึกษาแนวความคิดที่สำคัญๆ เช่น อำนาจอธิปไตย ความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพ สัญญาประชาคม เสรีนิยม สังคมนิยม ธรรมาธิปไตย เป็นต้น และศึกษาผลงานของนักปรัชญาตะวันตกและตะวันออกคนสำคัญ เพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้น ในระบบการเมืองต่างๆ ในยุคปัจจุบัน


Course image การเมืองกับการสื่อสารทางการเมือง
คณะสังคมศาสตร์

วิชานี้ เมื่อนิสิตเรียน มีควาวมรู้ความสามารถใช่ภาษาในการสื่อสารทางการเมืองได้ดี และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

Course image ขบวนการทางการเมืองและสังคม
คณะสังคมศาสตร์

    ศึกษาพื้นฐานของการเมืองและสังคม การรวมตัวและสร้างพลังทางการเมืองของประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ และประชาสังคมในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม

Course image การบริหารงบประมาณและการคลังสาธารณะ (Public Budgeting and Fiscal Administration)
คณะสังคมศาสตร์

การบริหารงบประมาณและการคลังสาธารณะ (Public Budgeting and Fiscal Administration) ศึกษา/ความหมาย แนวคิด ทฤษฎี และนโยบายเกี่ยวกับงบประมาณและการคลังสาธารณะ/ บทบาทและอิทธิพลของการเมืองที่มีต่องบประมาณและการคลังของประเทศ/ กระบวนการงบประมาณ เทคนิคและวิธีการวิเคราะห์งบประมาณ/ การสรุปการใช้จ่ายงบประมาณ/ โดยเน้นศึกษา/การบริหารงบประมาณและการคลังสาธารณะของประเทศไทย/

Course image การเมืองการปกครองส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นของไทย
คณะสังคมศาสตร์

การเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นของไทยตั้งแต่อดีองการปกครองจนถึงปัจจุบัน การกระจายอำนาจการเมืองการปกครอง พฤติกรรมการเมืองในอนาคต