Course image ระเบียบวิธีวิจัยทางศาสนาเปรียบเทียบชั้นสูง
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการวิจัย รูปแบบการวิจัยทางด้านศาสนา ทั้งวิจัยเอกสาร คือ การวิจัยเชิงภาษา วรรณกรรมคัมภีร์และหลักคำสอน ตลอดจนงานวิจัยภาคสนามที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางสังคม การกำหนดปัญหา แนวคิดที่จะวิจัย การออกแบบวิจัย วิธีเขียนโครงการการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ ความสมดุลของเรื่องที่จะวิจัย ส่วนประกอบของงาน หลักการเขียนรายงานวิจัย การกำหนดกรอบทฤษฎีและองค์ความรู้ที่จะใช้ในการวิจัย หลักการวิเคราะห์และประเมินผลการวิจัยและการเสนอผลการวิจัย

Course image พระไตรปิฎกวิเคราะห์ชั้นสูง
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาความเป็นมาของการรวบรวมพระธรรมวินัยเป็นพระไตรปิฎก ระบบการถ่ายทอด โครงสร้าง และสาระสังเขปของพระไตรปิฎก วิเคราะห์และตีความหลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎก 

Course image ระเบียบวิธีวิจัยทางพระไตรปิฎก
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาแนวคิดทฤษฎีในการแสวงหาความรู้แบบวิจัย ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ความสำคัญของการวิจัยต่อการพัฒนาสังคม กระบวนการและขั้นตอนของการวิจัยเช่นการเลือก

ปัญหา การตั้งสมมติฐาน เครื่องมือการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานการ

วิจัย โดยเน้นการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการวิจัยทางพระไตรปิฎก

Course image พระไตรปิฎกกับศาสตร์แห่งการตีความ
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาศาสตร์ของการตีความคัมภีร์ในเชิงศาสนศาสตร์และปรัชญาตะวันตกแล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบเทียบกับศาสตร์แห่งการตีความเชิงพุทธที่ปรากฏในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ศาสตร์แห่งการตีความเชิงพุทธเพื่อการอธิบายพระไตรปิฎกในภาษาร่วมสมัย

Course image พุทธปรัชญาในพระไตรปิฎก
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาพุทธปรัชญาเถรวาทที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง ให้ครอบคลุมถึงทฤษฎีความจริง (Metaphysics) ทฤษฎีความรู้ (Epistemology) ทฤษฎีทางจริยศาสตร์ (Ethics) รวมถึงสุนทรียศาสตร์ และการใช้เหตุผล  โดยการวิเคราะห์จากหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ ขันธ์ ๕ นิยาม ๕ กรรม อริยสัจ ๔ เป็นต้น

Course image มิลินทปัญหาศึกษา
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาที่มาของมิลินทปัญหา เนื้อหาสาระ สำนวนภาษา วิธีการตอบปัญหา และแนวคิดทางปรัชญาที่ปรากฏในมิลินทปัญหา


Course image พระอภิธรรมปิฎก
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระอภิธรรมปิฎก  เนื้อหาสาระ  ประเด็นที่น่าสนใจในพระอภิธรรมปิฏกทั้ง    คัมภีร์  โดยเน้นให้เข้าใจหลักปรมัตถธรรม  คือ  จิต  เจตสิก  รูป  และนิพพาน  โดยอาศัยอรรถกถาและฏีกาประกอบ   

Course image สัมมนาปัญหาปรัชญา (พระมหาจรูญ)
คณะพุทธศาสตร์

เพื่อให้นิสิตรู้จักการใช้เหตุผลในการโต้แย้งหรือวิพากย์แนวคิดทางปรัชญากับประเด็นปัญหาต่างๆ ทางอภิปรัชญา ญาณวิทยา และจริยศาสตร์สำนักต่าง ๆ ไม่ ว่าจะเป็นสำนักสุขนิยม สำนักอสุขนิยม มนุษยนิยม ประโยชน์นิยม และอัตถิภาวนิยม เป็นต้น ที่ว่าด้วยอุดมคติสูงสุด และเกณฑ์ตัดสินเชิงจริยธรรมที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์

Course image กรรมฐานเชิงประยุกต์กับบริหารการศึกษา
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาหลักการของกรรมฐานตามหลักสิกขา ๓ (ไตรสิกขา) ภาวนา ๔ โดยเฉพาะในเรื่องของการประยุกต์ใช้ กรรมฐานในการบริหารการศึกษา อานิสงส์ของกรรมฐานต่อการศึกษา ตลอดจนถึงข้อควรปฏิบัติตนในการบริหารการศึกษา ฯลฯ


Course image พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาภูมิปัญญาไทยที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและศิลปวัฒนธรรม

Course image อักษรเขียนบาลีสันสกฤต
คณะพุทธศาสตร์

ว่าด้วยการใช้ตัวอักษรเขียนภาษาบาลีและสันสกฤต ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศก เช่น อักษรพราหมี อักษรปัลลวะ เป็นต้น

Course image ศาสนากับปรัชญา
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับปรัชญา(ตะวันตกและตะวันออก) วิเคราะห์แนวคิดของนักศาสนาและนักปรัชญาในเรื่องประสบการณ์ทางศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างศรัทธา กับเหตุผล รหัสยลัทธิ ภาษาศาสนา อมตภาพของวิญญาณ พระเจ้า จุดหมายสูงสุดของชีวิต และ แก่นศาสนาสากล

Course image เปรียบเทียบทฤษฎีความรู้ในศาสนา
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบทฤษฎีความรู้ทางศาสนา ในประเด็นสำคัญ ได้แก่ บ่อเกิดแห่งความรู้ ลักษณะ หน้าที่ ประเภทระเบียบวิธี และระดับแห่งความรู้ รวมทั้งอิทธิพลคำสอนเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ที่มีต่อสังคมของศาสนิกนั้น ๆ

Course image พัฒนาการแนวคิดทางศาสนา
คณะพุทธศาสตร์

  ศึกษาจุดกำเนิด  และพัฒนาการการสืบทอดความคิดทางศาสนา  ตั้งแต่ยุคปฐมกาลจนถึงปัจจุบัน  ลัทธิวิญญาณนิยม  ไสยศาสตร์  การนับถือเครื่องราง  ลัทธิโทเทม  ลัทธิคามัน  แนวความคิดเรื่องการบูชาเทพ  เทพนิยาย  และตาราปรัมปรา  พิธีกรรมเกี่ยวกับการบูชาเทพและพัฒนาการแนวความคิดของศาสนาที่ไม่มีเทพ

Course image การใช้ภาษาบาลี 2
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาการพูด อ่านเขียน ภาษาบาลี และแปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทย โดยใช้หนังสือมังคลัตถทีปนี และวิสุทธิมรรคประกอบ

Course image แนวคิดใหม่ทางศาสนา
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาแนวคิดใหม่ของศาสนาต่างๆ ทั้งตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมโลกปัจจุบัน

Course image จริยศาสตร์ประยุกต์
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางจริยศาสตร์ ที่สำคัญในสังคมปัจจุบัน เช่น ปัญหาความผิดปกติทางเพศปัญหาโสเภณี ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาการทาการุณยฆาต ปัญหาการซื้อขายอวัยวะ ปัญหาการใช้สัตว์เป็นเครื่องทดลอง ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาโคลนนิ่ง และเกณฑ์ตัดสินทางจริยศาสตร์ในปัจจุบัน