ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการวิจัย รูปแบบการวิจัยทางด้านศาสนา ทั้งวิจัยเอกสาร คือ การวิจัยเชิงภาษา วรรณกรรมคัมภีร์และหลักคำสอน ตลอดจนงานวิจัยภาคสนามที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางสังคม การกำหนดปัญหา แนวคิดที่จะวิจัย การออกแบบวิจัย วิธีเขียนโครงการการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ ความสมดุลของเรื่องที่จะวิจัย ส่วนประกอบของงาน หลักการเขียนรายงานวิจัย การกำหนดกรอบทฤษฎีและองค์ความรู้ที่จะใช้ในการวิจัย หลักการวิเคราะห์และประเมินผลการวิจัยและการเสนอผลการวิจัย
ศึกษาความเป็นมาของการรวบรวมพระธรรมวินัยเป็นพระไตรปิฎก ระบบการถ่ายทอด โครงสร้าง และสาระสังเขปของพระไตรปิฎก วิเคราะห์และตีความหลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎก
ศึกษาแนวคิดทฤษฎีในการแสวงหาความรู้แบบวิจัย ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ความสำคัญของการวิจัยต่อการพัฒนาสังคม กระบวนการและขั้นตอนของการวิจัยเช่นการเลือก
ปัญหา การตั้งสมมติฐาน เครื่องมือการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานการ
วิจัย โดยเน้นการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการวิจัยทางพระไตรปิฎกศึกษาศาสตร์ของการตีความคัมภีร์ในเชิงศาสนศาสตร์และปรัชญาตะวันตกแล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบเทียบกับศาสตร์แห่งการตีความเชิงพุทธที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ประยุกต์ศาสตร์แห่งการตีความเชิงพุทธเพื่อการอธิบายพระไตรปิฎกในภาษาร่วมสมัย
ศึกษาพุทธปรัชญาเถรวาทที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง
ให้ครอบคลุมถึงทฤษฎีความจริง (Metaphysics) ทฤษฎีความรู้ (Epistemology) ทฤษฎีทางจริยศาสตร์ (Ethics) รวมถึงสุนทรียศาสตร์ และการใช้เหตุผล
โดยการวิเคราะห์จากหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์
ขันธ์ ๕ นิยาม ๕ กรรม อริยสัจ ๔ เป็นต้น
ศึกษาที่มาของมิลินทปัญหา เนื้อหาสาระ สำนวนภาษา วิธีการตอบปัญหา และแนวคิดทางปรัชญาที่ปรากฏในมิลินทปัญหา
ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระอภิธรรมปิฎก เนื้อหาสาระ ประเด็นที่น่าสนใจในพระอภิธรรมปิฏกทั้ง ๗ คัมภีร์ โดยเน้นให้เข้าใจหลักปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน โดยอาศัยอรรถกถาและฏีกาประกอบ
เพื่อให้นิสิตรู้จักการใช้เหตุผลในการโต้แย้งหรือวิพากย์แนวคิดทางปรัชญากับประเด็นปัญหาต่างๆ
ทางอภิปรัชญา ญาณวิทยา และจริยศาสตร์สำนักต่าง ๆ ไม่ ว่าจะเป็นสำนักสุขนิยม
สำนักอสุขนิยม มนุษยนิยม ประโยชน์นิยม และอัตถิภาวนิยม เป็นต้น ที่ว่าด้วยอุดมคติสูงสุด
และเกณฑ์ตัดสินเชิงจริยธรรมที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์
ศึกษาหลักการของกรรมฐานตามหลักสิกขา ๓ (ไตรสิกขา) ภาวนา ๔ โดยเฉพาะในเรื่องของการประยุกต์ใช้ กรรมฐานในการบริหารการศึกษา อานิสงส์ของกรรมฐานต่อการศึกษา ตลอดจนถึงข้อควรปฏิบัติตนในการบริหารการศึกษา ฯลฯ
ศึกษาภูมิปัญญาไทยที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาในด้านสังคม
เศรษฐกิจ การเมืองและศิลปวัฒนธรรม
ว่าด้วยการใช้ตัวอักษรเขียนภาษาบาลีและสันสกฤต ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศก เช่น อักษรพราหมี อักษรปัลลวะ เป็นต้น
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับปรัชญา(ตะวันตกและตะวันออก) วิเคราะห์แนวคิดของนักศาสนาและนักปรัชญาในเรื่องประสบการณ์ทางศาสนา
ความสัมพันธ์ระหว่างศรัทธา กับเหตุผล รหัสยลัทธิ ภาษาศาสนา อมตภาพของวิญญาณ พระเจ้า
จุดหมายสูงสุดของชีวิต และ แก่นศาสนาสากล
ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบทฤษฎีความรู้ทางศาสนา
ในประเด็นสำคัญ ได้แก่ บ่อเกิดแห่งความรู้ ลักษณะ หน้าที่ ประเภทระเบียบวิธี
และระดับแห่งความรู้ รวมทั้งอิทธิพลคำสอนเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ที่มีต่อสังคมของศาสนิกนั้น
ๆ
ศึกษาจุดกำเนิด และพัฒนาการการสืบทอดความคิดทางศาสนา ตั้งแต่ยุคปฐมกาลจนถึงปัจจุบัน ลัทธิวิญญาณนิยม ไสยศาสตร์
การนับถือเครื่องราง
ลัทธิโทเทม ลัทธิคามัน แนวความคิดเรื่องการบูชาเทพ เทพนิยาย
และตาราปรัมปรา
พิธีกรรมเกี่ยวกับการบูชาเทพและพัฒนาการแนวความคิดของศาสนาที่ไม่มีเทพ
ศึกษาการพูด อ่านเขียน ภาษาบาลี
และแปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทย โดยใช้หนังสือมังคลัตถทีปนี และวิสุทธิมรรคประกอบ
ศึกษาแนวคิดใหม่ของศาสนาต่างๆ
ทั้งตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมโลกปัจจุบัน
ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางจริยศาสตร์ ที่สำคัญในสังคมปัจจุบัน
เช่น ปัญหาความผิดปกติทางเพศปัญหาโสเภณี ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาการทาการุณยฆาต ปัญหาการซื้อขายอวัยวะ
ปัญหาการใช้สัตว์เป็นเครื่องทดลอง ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาโคลนนิ่ง
และเกณฑ์ตัดสินทางจริยศาสตร์ในปัจจุบัน