Course image พระสุตตันตปิฎก
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

ศึกษาประวัติ ความเป็นมา  ความหมาย  โครงสร้างของพระสุตตันตปิฎก  เลือกศึกษาวิเคราะห์พระสูตรที่สำคัญ  

Course image คณิตศาสตร์เบื้องต้น วส.พิจิตร
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

ศึกษาหลักพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ข้อความ  ประโยคเปิด  ประพจน์  ตัวบ่งชี้ปริมาณ  ค่าความจริง  ตัวเชื่อมข้อความ  และนิเสธ  การหาค่าความจริง  การสมมูลกัน  การให้เหตุผล  เซต  ความหมายเซต  ประเภทเซต  เซตย่อย  การเท่ากันของเซต  การดำเนินการของเซต  พีชคณิตของเซต  และการประยุกต์เซต  จำนวนจริง  ระบบจำนวนจริง  คุณสมบัติของจำนวนจริง  สมการ  อสมการ  ค่าสัมบูรณ์  ความสัมพันธ์  ฟังก์ชั่น  ฟังชั่นเชิงซ้อน  แมตริกซ์  การดำเนินการแมตริกซ์  การเท่ากัน  การบวก  การคูณ  ดีเทอร์มิเนนท์  อินเวอร์ส  แมตริกซ์

Course image วัฒนธรรมไทย (Thai Culture)
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

           ศึกษาความหมายและเนื้อหาของวัฒนธรรม พัฒนาการของวัฒนธรรมไทย ประเภทของวัฒนธรรม พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรม การอนุรักษ์ การเผยแพร่และสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมไทยกับการพัฒนา ผลกระทบของวัฒนธรรมต่างชาติต่อวัฒนธรรมไทย

Course image ปรัชญาเบื้องต้น (Introduction to Philosophy)
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

ศึกษาความหมายและขอบเขตของปรัชญา ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนาและวิทยาศาสตร์ สาขาปรัชญา และสาระสำคัญของปรัชญาสาขาต่างๆ พัฒนาการของปรัชญาตะวันออกและปรัชญาตะวันตก

Course image มนุษย์กับสังคม (Man and Society)
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

ศึกษาความหมายและความเป็นมาเกี่ยวกับมนุษย์กับสังคมตามหลักการทางสังคมศาสตร์และพุทธศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาคน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันสังคม ประชาสังคม หลักธรรมาภิบาลและสันติภาพ กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม การวิเคราะห์ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน รวมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาแบบสันติวิธี

Course image ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒ (Buddhist Meditation II)
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน กายานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร และอานาปานสติสูตร และรู้หลักธรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สิกขา วิชชา และสามัญญลักษณะ วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทั้งแบบสมถยานิกะ และวิปัสสนายานิกะ หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ สิกขา วิชชา และสามัญญลักษณะ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ระยะ นั่งกำหนด ระยะ  ส่งและสอบอารมณ์


Course image สถิติเบื้องต้นและการวิจัย (Basic Statistics and Research)
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

ให้เนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับสถิติเบื้องต้นและการวิจัย เริ่มตั้งแต่ทำความรู้จักกับความรู้พื้นฐานทางสถิติ ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลทางสถิติ การแจกแจงความถี่ของข้อมูล การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางและการจัดตำแหน่งของข้อมูล การกระจาย ความเบ้และความโด่ง ความน่าจะเป็น ความรู้เบื้องต้นทางการวิจัย รูปแบบการวิจัย ขั้นตอนการวิจัย สมมติฐานการวิจัย ประชากรและการเลือกสุ่มตัวอย่าง และการเขียนรายงานการวิจัย อธิบายเนื้อหาโดยละเอียด เป็นลำดับขั้นตอน พร้อมบทสรุป และคำถามท้ายบทสำหรับทบทวนความรู้ความเข้าใจ

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานทางสถิติ
บทที่ 2 ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลทางสถิติ
บทที่ 3 การแจกแจงความถี่ของข้อมูล
บทที่ 4 การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางและการจัดตำแหน่งของข้อมูล
บทที่ 5 การกระจาย ความเบ้และความโด่ง
บทที่ 6 ความน่าจะเป็น
บทที่ 7 ความรู้เบื้องต้นทางการวิจัย
บทที่ 8 รูปแบบการวิจัย
บทที่ 9 ขั้นตอนการวิจัย
บทที่ 10 สมมติฐานการวิจัย
ฯลฯ

Course image พุทธรรมกับการบริหาร
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

รายละเอียดมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา (มคอ. ๓) ประจำรายวิชา

พุทธธรรมกับการบริหาร

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา       มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา    สังคมศาสตร์

 

หมวดที่ ๑ ข้อมูลโดยทั่วไป

๑. รหัสและชื่อรายวิชา    

     ๔๐๑ ๓๐๑ พุทธธรรมกับการบริหาร

                   Buddhism and Administration

๒. จำนวนหน่วยกิต        

     ๒ หน่วยกิต (--)

๓. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

     รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต

๔. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

     พระราชสิทธิเวที, ดร. / พระครูศรีรัตนวิเชียร, ดร.

๕.ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน

     ภาคการศึกษาที่ ๑ / ชั้นปีที่ ๒

๖. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)

     ไม่มี

๗. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)

     ไม่มี

๘. สถานที่เรียน              

     วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

๙. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

     ตุลาคม 2562

 

หมวดที่ ๒ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

๑. จุดมุ่งหมายของรายวิชา

     เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย  ขอบข่าย แบบผู้บริหาร  หลักการและทฤษฎีการบริหารจัดการในองค์กร  การบริหารความขัดแย้ง  การบริหารความเสี่ยง  และสามารถนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 

๒. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

     เพื่อให้นิสิตมีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการบริหารจัดการในองค์กร เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วิธีการบริหารงานของพระพุทธเจ้า

 

 

 

 

 

หมวดที่ ๓ ลักษณะและการดำเนินการ

๑.คำอธิบายรายวิชา

     ศึกษาความหมาย  แนวคิด  และทฤษฎีของการบริหาร  พระพุทธศาสนากับการบริหาร แนวคิดการบริหารงาน หลักการ และวีการบริหารงานของพระพุทธเจ้า พุทธจริยา หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารงาน วิธีบริหารงานตามหลักพุทธการบริหารงานตามวิถีพุทธ การเลือกวิธีการบริหารงานตามแนวไตรสิกขากลวิธีและอุบายการบริหารงานของพระพุทธเจ้าและพุทธวิธีการบริการงานที่ดี

๒.จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

บรรยาย  ๓๒ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา 

 

สอนเสริมตามความต้องการของนิสิตเฉพาะราย 

ไม่มีการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม

การศึกษาด้วยตนเอง ๔ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

๓.จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นิสิตเป็นรายบุคคล

     - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์  (เฉพาะรายที่ต้องการ)

 

หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมินผล

๑. แผนการสอน

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน การสอน  สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)

 

บทที่ ๑  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร

-ความหมายของการบริหาร

-ความสำคัญของการบริหาร

-องค์ประกอบทั่วไปของภาวะผู้นำ

-ทักษะการบริหาร

-ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร

แนะนำกระบวนการวิชาบรรยาย กรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

นิสิตสรุปการบรรยาย

 

 

บทที่ ๒     แบบของนักบริหาร

-ผู้บริหารแบบเปิดโอกาสและแบบนิเทศ

-แบบผู้บริหารตามแนวคิดของ Getzels/Guba

-แบบผู้บริหารตามแนวคิดของ Levine

-แบบผู้บริหารตามแนวคิดของ Davis

-แบบผู้บริหารตามแนวคิดของ Mc Gregor

-ผู้บริหารแบบมิตรสัมพันธ์กับกิจสัมพันธ์

บรรยาย กรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

นิสิตสรุปการบรรยาย

 

 

บทที่ ๓  แนวคิดและทฤษฎีการบริหาร

-แนวคิดและทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม

-แนวคิดและทฤษฎีการบริหารสมัยใหม่

-แนวคิดและทฤษฎีการบริหารสมัยปัจจุบัน

 

บรรยาย 

กรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม

นิสิตสรุปการบรรยาย

 

บทที่ ๔ พระพุทธศาสนากับการบริหาร

-พระพุทธศาสนากับการบริหารในการวางแผน

-พระพุทธศาสนากับการบริหารในการจัดองค์กร

-พระพุทธศาสนากับการบริหารในการบริหารงานบุคคล

-พระพุทธศาสนากับการบริหารในการอำนวยการ

-พระพุทธศาสนากับการบริหารในการกำกับดูแลงาน

บรรยายกรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

ทดสอบย่อยครั้งที่ ๑

 

บทที่ ๕ พระพุทธศาสนากับการบริหารงานภาครัฐ

-แนวคิดพื้นฐานการบริหารงานภาครัฐ

-การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่

-การบริหารตามหลักอธิปไตย

-การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล

บรรยาย กรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

นิสิตสรุปการบรรยาย

 

บทที่ ๖     พระพุทธศาสนากับการบริหารความขัดแย้งในองค์กร

-ความหมายของความขัดแย้ง

-วงจรความขัดแย้งในองค์กร

-การบริหารความขัดแย้งในองค์กร

-พุทธวิธีการบริหารความขัดแย้ง

บรรยาย  ยกตัวอย่างประกอบ อภิปรายซักถามนิสิตสรุปการบรรยาย

ทดสอบกลางภาค

 

-๑๐

 

บทที่ ๗ วิเคราะห์พระพุทธศาสนากับการบริหาร

-การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ ๔

-การบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรม ๗

-การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔

-การบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๔

-การบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรม ๔

-การบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรม ๑๐

บรรยาย กรณีศึกษา

อภิปราย ตัวอย่างการศึกษาจากปัญหาโครงงาน Problem base learning

 

๑๑-๑๒

 

บทที่ ๘   พระพุทธศาสนากับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

-ความหมายและความสำคัญการบริหารการเปลี่ยนแปลง

-สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

-กระบวนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์กร

-วิธีการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กร

-พฤติกรรมการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

-เทคนิคการลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

-ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

-อนิจจตากับการบริหารความเปลี่ยนแปลงในองค์กร

บรรยาย กรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

นิสิตสรุปการบรรยาย

๑๓

 

บทที่ ๙    พระพุทธศาสนากับการบริหารความเสี่ยงในองค์กร

-ความหมายและความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง

-แนวคิดการบริหารความเสี่ยงในองค์กร

-การบริหารรูปแบบความเสี่ยงในองค์กร

-อริยสัจ ๔ กับการบริหารความเสี่ยงในองค์กร

บรรยาย 

ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

นิสิตสรุปการบรรยาย

ทดสอบย่อยครั้งที่ ๒

 

๑๔

 

บทที่ ๑๐  คุณธรรม จริยธรรม ผู้บริหาร

-ความหมายและความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร

-คุณธรรม จริยธรรมผู้บริหารที่สังคมไทยคาดหวัง

-คุณธรรม จริยธรรมผู้บริหาร  ยุคใหม่

-ผู้นำในอุดมคติ

บรรยาย 

ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

นิสิตสรุปการบรรยาย

 

๑๕

 

นิสิตนำเสนองานกลุ่ม กรณีศึกษาวิธีการบริหารงานของผู้นำหรือผู้บริหารภาครัฐ  เอกชน หรือพระสงฆ์ ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงาน

นำเสนองานกลุ่ม  สรุปผลการนำเสนอกลุ่ม

 

๑๖

สอบปลายภาค

 

 

      ๒ แผนการประเมินผลการเรียนรู้

ที่

วิธีการประเมิน

สัปดาห์ที่ประเมิน

สัดส่วนของการประเมินผล

สอบกลางภาค

สอบปลายภาค

๑๖

๒๐%

๔๐%

วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า

การนำเสนอรายงาน

การทำงานกลุ่มและผลงาน

ตลอดภาคการศึกษา

๓๐%

การเข้าชั้นเรียน

การมีส่วนร่วม อภิปราย

เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน

ตลอดภาคการศึกษา

๑๐%

 
หมวดที่ ๖ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

๑.  เอกสารและตำราหลัก

พระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร.,พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

          ๒๕๔๙

๒. เอกสารและข้อมูลสำคัญ

คุณธรรมสำหรับนักบริหาร : หน้าที่-คุณลักษณะพิเศษและวิธีการบริหารงานด้วยธรรมะ  พระเมธีธรรมาภรณ์

          (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ธรรมสภา : ๕๓๘๘ พ๑๗ ๒๕๔๕  กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๕

๓. เอกสารและข้อมูลแนะนำ

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, รศ.ดร, คุณธรรม จริยธรรมสำหรับบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๒๔.

นิตย์ สัมมาพันธ์, รศ.การบริหารเชิงพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์,

           โอเดียนสโตร์, ๒๕๒๙.

ทศพร  ศิริสัมพันธ์, ดร. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารงานราชการแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร :บริษัท วิชั่น พริ้น แอนด์ มีเดีย จำกัด.  ๒๕๔๙.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๓๐.

พระธรรมปิฎก (..ปยุตฺโต). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.

__________________ . เศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.

พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล. การบริหารวัด. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย, ๒๕๓๙.

สุทธิพงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์. หลักพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : กองศาสนศึกษา กรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๓๕.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เอกสารประชุมสัมมนาทางวิชาการ คณาจารย์มหาวิทยาลัยกับการพัฒนาทางวิชาการ (มจร.) ๒๕๓๖.

Sapru R.K. Theories of Administration. Published by S. Chand & Company Ltd. ๑๙๙๖.

Avasihi Amreshwar. Public Administration. Published by Lakshmi Narain Agarwal, ๑๙๙๔.

Narain Laxmi. Principle and Practice of Public Enterprise Management. Published by S. Chad & Company Ltd., ๑๙๙๔.

 


Course image ความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์ Introduction to Public Administration
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและขอบเขตของการบริหารรัฐกิจ พัฒนาการของการบริหารรัฐกิจ  การบริหารรัฐกิจกับการบริหารธุรกิจ  นโยบายและการวางแผน การบริหารกับปัจจัยแวดล้อม การบริหารการพัฒนา การจัดและการปรับปรุงองค์การของรัฐ การวินิจฉัยสั่งการ การติดต่อประสานงานและการติดตามผลงาน ภาวะผู้นำและการบริหารราชการไทย

Course image ศาสนาทั่วไป Religion
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

ศึกษาความหมาย ลักษณะ ความสำคัญ คุณค่าของศาสนา ประวัติ พัฒนาการ หลักในการศึกษาศาสนา หลักคำสอน พิธีกรรมและจุดมุ่งหมายของศาสนาต่าง ๆ วิเคราะห์ลักษณะที่เป็นสากลร่วมกันและต่างกันของศาสนาปัจจุบัน อิทธิพลของศาสนาต่อสังคมโลก วิธีการเผยแผ่ศาสนา ความร่วมมือระหว่างศาสนา และท่าทีของศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย

Course image การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

ศึกษาความหมาย แนวคิดและทฤษฎีการจัดการเชิงกลยุทธ์ ระบบข้อมูลเพื่อการจัดการ การวิเคราะห์กลยุทธ์กับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ การจัดการทางกลยุทธ์กับมิติทางด้านสังคม กลยุทธ์การจัดการในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและการจัดการเชิงกลยุทธ์ตามแนวพระพุทธศาสนา

Course image เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา วส.พิจิตร
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

ศึกษาเทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้ห้องสมุด การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต วิธีแสวงหาความรู้ การเรียนรู้เป็นกลุ่ม การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมทางวิชาการ การเขียนรายงานและภาคนิพนธ์

Course image ตรรกศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Logic)
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

ศึกษานิมิต คำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน วิภาค การนิยามความหมาย ญัตติประพจน์ในแบบต่าง ๆ การแบ่งญัตติ ความเป็นปฏิปักษ์แห่งญัตติ ญัตติผสม การให้เหตุผล ปรัตถานุมานและปฤจฉาวาทีแบบต่าง ๆ ศึกษาหลักการและวิธีการให้เหตุผลจากบทสนทนาของพระพุทธเจ้าในอนัตตลักขณสูตรหรือในสูตรอื่น ๆ บทสนทนาในคัมภีร์กถาวัตถุ ญาณวิทยาของนิกายสรวาทิน สติวาทิน วิภาษวาทีของนาคารชุน เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างระหว่างตรรกศาสตร์ตะวันตกกับตรรกศาสตร์ตะวันออก โดยเฉพาะหลักการเชิงตรรกในคัมภีร์