พื้นฐานสังคมการเมืองไทย กระแสโลกาภิวัตน์ว่าด้วยรัฐประชาชาติและวิกฤติสังคมการเมือง กลุ่มทุนพรรคการเมือง ระบอบศูนย์รวมอำนาจการเมืองการปกครอง เทคโนโลยีสารสนเทศกับความสมบูรณ์ของข้อมูลข่าวสาร ทางออกของความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
ศึกษาหลักสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานที่ปรากฎในคัมภีร์พระไตรปิฎกอรรถกถา
ฎีกา อนุฎีกา และปกรณ์วิเสส รวมทั้งรูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานของสำนักต่างๆ ในสังคมไทย
โดยเน้นศึกษาอารมณ์ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ลำดับขั้นตอนของการเจริญกรรมฐาน
และผลที่เกิดจากการเจริญกรรมฐาน และผลที่เกิดจากการเจริญกรรมฐาน ได้แก่ สมาบัติ ๘ และวิปัสสนาญาณ
๑๖ เป็นต้น
ศึกษาแนวทางการวิจัยแบบต่างๆ
ที่นิยมใช้ในงานวิจัยทางการบริหารงานภาครัฐทั้งเชิงคุณภาพ
เชิงปริมาณและแบบผสานวิธี ศึกษาขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการวิจัย
ซึ่งครอบคลุมถึงการกำหนดประเด็นปัญหา
การทบทวนวรรณกรรมเพื่อสร้างกรอบแนวคิดของการวิจัย สมมติฐานและการทดสอบสมมติฐาน
การออกแบบการวิจัย การกำหนดประชากรและวิธีการสุ่มตัวอย่าง การกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญการสร้างมาตรวัดสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลและการวิเคราะห์เพื่อแปลความหมายข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
รวมทั้งการเขียนรายงานการวิจัย ทั้งนี้นิสิตทุกรูปหรือคนต้องเสนอโครงร่างการวิจัยคนละหนึ่งเรื่อง
ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญขององค์การและการจัดการ
รวมถึงศึกษากรณีตัวอย่างการจัดการทางพระพุทธศาสนาประเด็นที่เกี่ยวกับองค์การประกอบด้วย
รูปแบบ โครงสร้าง สายการบังคับบัญชาขององค์การภาครัฐและเอกชน
พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ เทคนิคและการบริหารจัดการภาครัฐ การบริหารงานพัสดุ
การบริหารจัดการคุณภาพ การจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้ การควบคุม
และตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยง และนวัตกรรมการบริหารจัดการ
ศึกษาโครงสร้าง ศัพท์และสำนวนที่ใช้กันมากในสาขาวิชารัฐศาสตร์ และฝึกการใชัศัพท์และสำนวนเหล่านั้น การเขียนและการพูด ตอดทั้งฝึกการอ่าน วิเคราะห์และตีความงานเขียนรัฐศาสตร์ การเขียนย่อความ เรียงความ และอภิปรายเป็นภาษาอังกฤษในเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐศาสตร์
1.ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎีและขอบเขตรัฐประศาสนศาสตร์
2. นโยบายของรัฐเกี่ยวกับการบริหาร
3. พัฒนาการของการบริหารรัฐประศาสนศาสตร์
4. การบริหารธุรกิจ
5. การบริหารการพัฒนา
6. การบริหารกับปัจจัยแวดล้อม
7. การจัดการทรัพยากรมนุษย์
8. การจัดและปรับปรุงองค์การของรัฐ
9. การวางแผน
10. การวินิจฉัยสั่งการ
11. การติดต่อประสานงานและการติดตามผลงาน
12. ภาวะผู้นำ
13. การบริหารรัฐกิจเชิงพุทธ
ศึกษาโครงสร้างศัพท์และสำนวนที่ใช้กันมากในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และฝึกการใช้ศัพท์และสำนวนเหล่านั้น ในการเขียนและการพูด ตลอดทั้งฝึกการอ่าน วิเคราะห์และตีความงานเขียน รัฐประศาสนศาสตร์ การอ่านย่อความ เรียงความ และอภิปรายเป็นภาษาอังกฤษ ในเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์
ศึกษาศัพท์ธรรมะทางพระพุทธศาสนาที่นิยมใช้กันแพร่หลายในภาษาอังกฤษ และหนังสือที่สำคัญทาง
พระพุทธศาสนา ที่นักปราชญ์ได้รจนาไว้ในภาษาอังกฤษ
๑. ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะและการวางแผน
๒. ประเภทและวิธีการกำหนดนโยบายของรัฐ
๓. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อนโยบาย
๔. การนำนโยบายไปกำหนดเป็นแผนงานและโครงการ
๕. เทคนิคและหลักการของการวางแผน
๖. มีการศึกษาเฉพาะกรณีโดยเน้นการกำหนดนโยบายสาธารณะและการวางแผนของประเทศไทย
ศึกษาบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประวัติของคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ระบบดิจิทัล ภาษาคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ แพลตฟอร์ม
คอมพิวเตอร์ ระบบการประมวลผล การวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาระบบ ข้อมูลและการบริหารข้อมูล
เครือข่ายและการสื่อสาร อินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ ภัยคุกคามและความมั่นคงของระบบ จริยธรรมและ
สังคมไซเบอร์
ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
ทั้งที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
โดยครอบคลุมถึงการสร้างแนวความคิด ประเด็นปัญหา
วัตถุประสงค์ การตั้งสมมติฐาน การสร้างขอบข่าย การ
ประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการรายงาน
การวิจัย ทั้งนี้ให้มีการฝึกหัดจัดท าโครงการวิจัยเสนอเป็น
ภาคปฏิบัติด้วย
สัมมนาปัญหารัฐประศาสนศาสตร์ ๒ (๒-๐-๔)
(Seminar on Problems in Public Administration)
สัมมนาปัญหารัฐประศาสนศาสตร์ด้านต่างๆ โดยจะเน้นปัญหารัฐประศาสนศาสตร์ของประเทศที่ก าลังพัฒนา
เช่น การบริหารบุคคล การจัดองค์การ การคลัง การงบประมาณ ในการศึกษาอาจมีการค้นคว้ารายงาน การศึกษาเฉพาะ
กรณีเกี่ยวกับปัญหารัฐประศาสนศาสตร์ของไทยและเปรียบเทียบกับของต่างประเทศ
ศึึกษาค้นคว้าวิจัยภาคสนามทางรัฐประศาสนศาสตร์หรือเรื่องอื่นโดยความเห็นชอบและควบคุมดูแลของอาจารย์
ที่ปรึกษา