การปกครองท้องที่
คณะสังคมศาสตร์

รูปแบบการจัดการปกครองท้องที่ พัฒนาการการปกครองท้องที่ อำนาจหน้าที่ของนักปกครองท้องที่ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ การแบ่งอำนาจ 

การรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย

ประสบการณ์วิชารัฐศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์

ความรู้ความเข้าใจในหลักแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นมา ความหมาย หลักการ ประโยชน์และวิธีฝึกปฏิบัติงานและอบรมในประเด็นรัฐศาสตร์

การวิเคราะห์การเมืองการปกครองของไทย
คณะสังคมศาสตร์

ความรู้ความเข้าใจในหลักแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาหลักและวิธีการวิเคราะห์การเมืองการปกครองของไทยวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ สถาบันทางการเมือง สถาบันรัฐสภา พัฒนาการของรัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง  สถาบันพระมหากษัตริย์


มนุษย์กับสังคม พิชิต
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาความหมายและความเป็นมาเกี่ยวกับมนุษย์กับสังคม ตามหลักการทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันสังคม ประชาสังคม

กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม การวิเคราะห์ปัญหาสังคมและแนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมแบบสันติวิธี ความเป็นพลเมือง และการสื่อสารทางสังคมยุค New Normal

การเมืองนโยบายสาธารณะและยุทธศาสตร์ชาติ
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาแนวคิด วิธีการทางการเมือง ที่มีต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ

และยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายทางการเมืองกับยุทธศาสตร์ชาติ การเมือง

ที่เกี่ยวกับการตัดสินใจกำหนดนโยบายสาธารณะ และการนำไปสู่

แผนงานความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง การบริหารและนโยบาย

สาธารณะปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การวิเคราะห์

นโยบายและการนำไปสู่การจัดทำแผน ปัญหาและอุปสรรคในการ

กำหนดนโยบาย

กรรมฐาน ๒
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาหลักสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และปกรณ์วิเสส รวมทั้งรูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานของส านักต่างๆ ในสังคมไทย โดยเน้นการศึกษาอารมณ์ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ล าดับขั้นตอนของการเจริญกรรมฐานและผลที่เกิดจากกรรมฐาน

พุทธวิธีสื่อสารทางการเมือง (Buddhist Political Communication)
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมือง แนวคิดและทฤษฎีการสื่อสารทางการเมือง การสื่อสารทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา อันประกอบไปด้วยวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าที่มีผู้ปกครอง หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยการสื่อสารทางการเมือง พุทธสาวกที่ใช้รูปแบบพุทธวิธีเพื่อสื่อสารทางการเมือง กรณีศึกษาพระสงฆ์ไทยและพระสงฆ์ชาวต่างประเทศที่มีการสื่อสารทางการเมืองตามรูปแบบของพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพุทธวิธีสื่อสารทางการเมือง

กรรมฐาน ๑
คณะสังคมศาสตร์

กรรมฐาน  เป็นคำเรียกโดยรวมในหมวดของการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธศาสนา หมวดกรรมฐาน ประกอบด้วย ตัวกรรมฐาน และโยคาวจร  ตัวกรรมฐาน คือ สิ่งที่ถูกเพ่ง ถูกพิจารณา ได้แก่ อารมณ์ต่าง ๆ ส่วนโยคาวจร คือ ผู้เพ่งหรือผู้พิจารณา ได้แก่ สติสัมปชัญญะและความเพียร การฝึกกรรมฐานว่าโดยธรรมาธิษฐานจึงหมายถึงการใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาอารมณ์ ที่มากระทบ อย่างระมัดระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรหมั่นระลึกถึงกุศลและรักษากุศลนั้นอยู่มิให้เสื่อมไป   

ขบวนการทางการเมืองและสังคม
คณะสังคมศาสตร์

ขบวนการทางสังคมอันนำมาสู่การปรับเปลี่ยนแนวทางในการมองขบวนการทาง ... ทางการเมือง (political process theory) และทฤษฎี ... กล่าวคือการอธิบายการกระทำของขบวนการทาง เผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ความรู้เบื้องต้นทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
คณะสังคมศาสตร์

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านความรู้ทั่วไป แนวคิด ทฤษฎี ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ พฤติกรรมศิลปะในการชักจูงใจให้รัฐอื่น ๆ ปฏิบัติการหรืองดเว้นปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ

พระอภิธรรมปิฎก
คณะสังคมศาสตร์

ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรม  และหลักคำสอนในเรื่องจิต คุณสมบัติของจิต และรูปร่างของมนุษย์  สภาวะของจิตที่มีความเป็นอิสระจากสิ่งเศร้าหมอง  ในอภิธรรมปิฎก


รัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา
คณะสังคมศาสตร์

รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่มีปรากฏอยู่ในคำสอนของพระพุทธศาสนา แต่โดยที่ศาสนาพุทธเป็นศาสนา ไม่ใช่ศาสตร์แห่งการเมืองการปกครองโดยตรง จึงไม่มีหลักทฤษฎีทางรัฐศาสตร์โดยเฉพาะ แต่เป็นคำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับศีลธรรมและจริยธรรม ที่ทั้งผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองจะต้องประพฤติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการอยู่ร่วมกันทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม องค์กร สังคม ประเทศชาติ นานาชาติ และมนุษยชาติทั้งมวล การศึกษาวิชา รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ จึงศึกษาโดยกำหนดกรอบแนวคิด โดยอาศัยหลักคำสอนที่มีปรากฏอยู่ในพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับหลักการทางรัฐศาสตร์


ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในพระสูตรที่เชื่อมโยงกับมหาสติปัฏฐานสูตร  เช่น อปัณณกสูตร  สติสูตร  อาการบรรลุมรรคผลและคุณธรรมของพระอริยบุคคล   ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๖ ระยะ นั่งกำหนด ๖ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์ 

 

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๔
คณะสังคมศาสตร์

มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๖ บท มุ่งหมายให้ศึกษาจิตตานุปัสสนา คืออะไร หลักการและวิธีการปฏิบัติจิตตานุปัสสนา ๑๖ ขั้นตอน หลักการปฏิบัติและกระบวนการเกิดไตรสิกขา หลักการและกระบวนการเกิดไตรลักษณ์ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คืออะไร ความหมายและหลักการปฏิบัติวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ วิธีกำหนดสติแก้ไขสภาวธรรมในการปฏิบัติวิปัสสนา วิปัสสนาญาณ ๑๖ คืออะไร ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตอนที่ ๔ หลักการปฏิบัติกรรมฐานเกี่ยวกับอิริยาบถนั่ง เดินจงกรม วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาญาณ ๑๖ การส่งและสอบอารมณ์กรรมฐานตลอดถึงอานิสงส์ในการปฏิบัติธรรม

ธรรมะภาคปฏิบัติ๒
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร และอานาปานสติสูตร วิธีการ  ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทั้งบบสมถยานิกะ และวิปัสสนายานิกะ หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ สิกขา ๓ ชชา ๓ และสามัญญลักษณะ ๓ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๒ ระยะ นั่งกำหนด ๒ ระยะ ส่งและสอบอารมณ