วิปัสสนากรรมฐาน ๔
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตร กระบวนการเกิดของไตรสิกขาและไตรลักษณ์ หลักธรรมที่ควรรู้ได้แก่ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม นั่งกำหนดส่งและสอบอารมณ์


พระวินัยปิฎก
คณะพุทธศาสตร์

๑.  คำอธิบายรายวิชา

           ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระวินัยปิฎก เลือกศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่สำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร โดยอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ และประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระวินัยปิฎก


ภาษาบาลี
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาบาลีไวยากรณ์ ประกอบด้วย อักขรวิธี วจีวิภาค และหลักการแต่ง-แปลบาลีเบื้องต้น

กรรมฐาน 3 (พระครูสุธีคัมภีรญาณ, ผศ.ดร.)
คณะพุทธศาสตร์

Buddhist Meditation III  3

(2-2-5)
ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร วิธีการปรับอินทรีย์ ๕ หลักธรรมที่ควรรู้ได้แก่ วิปัลลาส ๓ อภิญญา ๖ วิสุทธิ ๗ วิชชา ๘ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม นั่งกำหนด ส่งและสอบอารมณ์


๐๐๐ ๔๔๓ กรรมฐาน ๔ ๓ (๒-๒-๕) (Buddhist Meditation IV)
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตร กระบวนการเกิดของไตรสิกขาและไตรลักษณ์ หลักธรรมที่ควรรู้ได้แก่ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม นั่งกำหนดส่งและสอบอารมณ์


พระพุทธศาสนากับปรัชญา
คณะพุทธศาสตร์


พระพุทธศาสนากับปรัชญา
(Buddhism and Philosophy)
    ศึกษาความเหมือนและความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญา ท่าทีของพระพุทธศาสนาต่อปรัชญา และทัศนะของนักปรัชญาที่มีต่อพระพุทธศาสนา


พระไตรปิฎกศึกษา พระมหาณัฐพันธ์, ดร. วิทยาเขตขอนแก่น
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษากำเนิด ความเป็นมา และพัฒนาการของคัมภีร์พระไตรปิฎก การจำแนกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก คำอธิบายโดยย่อของพระอรรถกถาจารย์ การรักษาสืบทอดโดยมุขปาฐะและลายลักษณ์อักษร ลำดับคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ในประเทศไทย และประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระไตรปิฎก

พระพุทธศาสนากับสันติภาพ (Buddhism and Peace) โดย พระครูปริยัติธรรมวงศ์. รศ.ดร.
คณะพุทธศาสตร์

พระพุทธศาสนากับสันติภาพ รหัสรายวิชา 101429 ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชา พระพุทธศาสนา

วัตถุประสงค์การเรียน
เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมที่เกี่ยวกับสันติภาพในทางพระพุทธศาสนา รูปแบบและวิธีการแก้ไขความขัดแย้งในทางพระพุทธศาสนา การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมปัจจุบันโดยเปรียบเทียบกับทัศนะทางตะวันตก

000145-บาลีไวยากรณ์
คณะพุทธศาสตร์

  • ศึกษาการเขียนการอ่านภาษาบาลี ฐานกรณ์  
  • ศึกษาการออกเสียงพยัญชนะสังโยค 
  • ศึกษาการเชื่อมอักษรด้วยสนธิกิริโยปกรณ์  
  • ศึกษาประเภทและวิธีแจกคำนาม  สังขยา  อัพยยศัพท์  
  • ศึกษากิริยาอาขยาต  นามกิตก์  กิริยากิตก์  สมาสและตัทธิต

Buddhism and Philosophy
คณะพุทธศาสตร์


ศึกษาความเหมือนและความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญา ท่าทีของพระพุทธศาสนาต่อปรัชญา และทัศนะของนักปรัชญาที่มีต่อพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย
คณะพุทธศาสตร์

      เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทยทั้งในมิติของคติชนวิทยา การพัฒนา การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย รูปแบบ ประเภท อิทธิพลและความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย

พุทธปรัชญากับสิ่งแวดล้อม
คณะพุทธศาสตร์

          เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจหลักวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม  และสามารถจำแนกพฤติกรรมของบุคคลและโครงสร้างของสิ่งแวดล้อม  ผลกระทบของ สิ่งแวดล้อม  ที่มีต่อพฤติกรมของบุคคล  การใช้ประโยชน์ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  มีคุณภาพสามารถ พัฒนาพฤติกรรมของตนเองและสังคมได้อย่างดี

พระวินัยปิฎก (Vinaya Pitaka)
คณะพุทธศาสตร์

๑.  คำอธิบายรายวิชา

           ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระวินัยปิฎก เลือกศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่สำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร โดยอาศัยอรรถกถาและฎีกาประกอบ และประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระวินัยปิฎก

๒. วัตถุประสงค์

หลังเรียนจบรายวิชานี้แล้ว ผู้เรียนสามารถ

       ๑) อธิบายประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระวินัยปิฎก ได้

       ๒) มารถวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่สำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวารได้

       ๓) สามารถประยุกต์หลักวินัยที่ได้รับจากการศึกษาพระวินัยปิฎกไปปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม

       ๔) เห็นคุณค่าของพระวินัยปิฎกในฐานะหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา

       ๕) เกิดความสำนึกที่จะดำรงคุณค่าของพระวินัยในฐานะการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย

๓. วัตถุประสงค์ในการการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

    ๑) ดำเนินการทำสื่อการเรียนการสอนโดย e-learning เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักวินัย

    ๒) เปลี่ยนแปลงเนื้อหาการเรียนการสอนให้เป็นไปตามหลักฐานเชิงประจักษ์ตามหลักวินัย

    ๓) ใช้หลักการตามพระวินัยเป็นเครื่องมือในการสอนและวิเคราะห์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม

พุทธธรรมกับสังคมไทย
คณะพุทธศาสตร์

       ศึกษาอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย ความเข้าใจพุทธธรรม การใช้พุทธธรรมแก้ปัญหา
ชีวิตและสังคม แนวโน้มของความเชื่อและการปฏิบัติของชาวพุทธในปัจจุบัน และการวิจารณ์พระพุทธศาสนาของ
นักคิดไทยสมัยใหม

ธรรมภาคปฏิบัติ ๖
คณะพุทธศาสตร์

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

          เพื่อให้นิสิตเรียนรู้หลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในพระสูตรที่เชื่อมโยงกับมหาสติปัฏฐานสูตร  เช่น อปัณณกสูตร  สติสูตร  อาการบรรลุมรรคผลและคุณธรรมของพระอริยบุคคล และฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๖ ระยะ นั่งกำหนด ๖ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์

ปรัชญาวิเคราะห์
คณะพุทธศาสตร์


ศึกษาแนวคิดวิเคราะห์ของนักปรัชญา ในสมัยปัจจุบัน ได้แก่ วิตก์เกนสไตน์, อันเฟรด, แอร์ ชลิค เฟรเก เบอร์ทรันต์ รัสเซลล์ และศึกษาประวัติและแนวคิดวิเคราะห์ของนักปรั้ชญาสมัยปัจจุบัน ในสำนักจิตนิยม เหตุผลนิยม และประสบการณ์นิยม เพื่อเป็นพื้นฐานในการอธิบายปัญหาในสังคม