000 229 วิชา ภาวะผู้นำ (Leadership)
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่นำการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์งานในศตวรรษที่ ๒๑ รวมถึงศึกษา คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำกับการใช้การสื่อสารที่เอื้ออาทร ผู้นำกับความเห็นที่ถูกต้องดีงามและความเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์คุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำ วิสัยทัศน์ผู้นำ ผู้นำกับการสร้างความสัมพันธ์แห่งกรุณา โดยอาศัยองค์ความรู้ภาวะผู้นำตามทฤษฎีตะวันตกและภาวะผู้นำในทางพระพุทธศาสนา ถอดบทเรียนภาวะผู้นำของบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กรทั้งในประเทศและระดับโลกที่สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จและเกิดสันติสุขแก่สังคมและชุมชนทั้งในประเทศและระดับโลก

งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษางานวิจัยทางพระพุทธศาสนา และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย  ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน  วิเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่น่าสนใจ เช่น เตภูมิกถาของพญาลิไท  มังคลัตถทีปนีของพระ สิริมังคลาจารย์  กาพย์มหาชาติของพระเจ้าทรงธรรม สังคีติยวงศ์ของสมเด็จพระวันรัต (แก้ว) วัดพระเชตุพน พระ มงคลวิเสสกถาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  แก่นพุทธศาสน์ของพุทธทาส  กรรมทีปนี ของพระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร)  พุทธธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พุทธวิทยาของอาจารย์พร รัตนสุวรรณ  และงานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration Theory) อาจารย์ทรงพล โชติกเวชกุล
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาทฤษฎีและพฤติกรรมองค์การ โดยเริ่มจากแนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับองค์การสมัยดั้งเดิมถึงสมัยปัจจุบัน ความหมายและองค์ประกอบขององค์การ ตัวแปรในองค์การ วิธีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์การ ปัจจัยพื้นฐานที่กำหนดพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ พฤติกรรมในการบริหาร อิทธิพลของโครงสร้างและกระบวนการในองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์

องค์การและการจัดการในภาครัฐ-วข.ขอนแก่น
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญขององค์การและการบริหาร สิ่งแวดล้อมการบริหาร กลไกในการบริหารงานสาธารณะ พัฒนาการของทฤษฎีองค์การและการบริหาร โครงสร้างและการออกแบบองค์การภาครัฐ กระบวนการบริหารองค์การภาครัฐ

๔๐๒ ๔๐๙ พฤติกรรมองค์การ (Organization Behaviors) อาจารย์ทรงพล โชติกเวชกุล
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาถึงพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การและการบริหารงาน พฤติกรรมองค์การกับสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ การใช้พลังงานของกลุ่มให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การ พื้นฐานพฤติกรรมบุคคลเกี่ยวกับการรับรู้ ค่านิยม ทัศนคติ การจูงใจ การสร้างขวัญกำลังใจและความพึงพอใจในงาน พื้นฐานพฤติกรรมกลุ่ม การสื่อสารและการตัดสินใจของกลุ่ม ภาวะผู้นำ อำนาจและการเมือง ความขัดแย้งและพฤติกรรมกลุ่ม

402 308 การบริหารโครงการ (Project Management)
คณะสังคมศาสตร์

        ศึกษาแนวความคิดและวิธีการวิเคราะห์โครงการ การจัดทำโครงการ การบริหารทรัพยากรของโครงการ การแก้ปัญหาและการปรับปรุงโครงการ การประสานงานกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การบริหารโครงการภายใต้การมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน การกำหนดเป้าหมายและวิธีการในการประเมินผลของโครงการ และให้มีการศึกษากรณีเฉพาะเรื่อง เน้นการบริหารโครงการพัฒนาของประเทศไทย โดยฝึกให้มีการเขียนโครงการเพื่อนำไปสู่การบริหารโครงการได้อย่างแท้จริง

ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์

เอกสารประกอบการสอนวิชา ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ Introduction to Political Science รหัสวิชา ๔๐๑ ๒๐๗ จัดทำขึ้นด้วยจุดมุ่งหมาย เพื่อใช้เป็นตำราประกอบการเรียน ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย และเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์แก่ผู้ที่สนใจโดยทั่วไป ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิดเบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ เพื่อจะทำให้เราเข้าใจองค์กรที่ มีความสำคัญ เป็นเครื่องจักรที่ทำเกิดการเปลี่ยนแปลง หนังสือเล่มนี้ คงไม่ละเอียดจนสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องรัฐศาสตร์ทั้งหมด แต่ผู้เขียน หวังว่า อย่างน้อยหนังสือเล่มนี้จะได้เป็นแผนที่ที่น าทางผู้อ่าน เข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ หนังสือเล่มนี้จึงปูพื้นฐานเริ่มตั้งแต่ เรื่องกำเนิดรัฐ  กฎหมาย สถาบันทางการเมือง  ความคิด การเมือง  

ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ ทั้งที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยครอบคลุมถึงการสร้างแนวความคิด ประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ การตั้งสมมติฐาน การสร้างขอบข่าย บท การประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการรายงานการวิจัย ทั้งนี้ให้มีการฝึกหัดจัดทำโครงการวิจัยเสนอเป็นภาคปฎิบัติด้วย

การเมืองกับนโยบายสาธารณะ
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาแนวคิดและวิธีการทางการเมืองที่มีการกำหนดนโยบายสาธารณะ การเมืองการบริหารที่เกี่ยวกับการตัดสินใจกำหนดนโยบายสาธารณะและการนำไปสู่แผนงาน ความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง การบริหารและนโยบายสาธารณะ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การวิเคราะห์นโยบายและการนำไปสู่การจัดทำแผน ปัญหาและอุปสรรคในการกำหนดนโยบาย

การบริหารองค์กรภาครัฐ
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฏี หลักการ และแนวคิดในการบริหารองค์กรภาครัฐสมัยใหม่ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การพัฒนาองค์กร มีการสร้างแผนแม่แบบในการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างระหว่างองค์การในปัจจุบันกับองค์การที่ควรจะเป็นในอนาคต หลังจากนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แนวนอน โดยอาศัยหลักการดังนี้ ๑.กำหนดเป้าหมาย (Goal Sating) ๒.ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relation) ๓.การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations) ๔.ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม (Participation) ๕.การเชื่อมโยง (Linking)

402 201 ความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์(Introduction to Public Administration)
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎีและขอบข่ายการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ ปทัสถานและวิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารการพัฒนา ปัจจัยแวดล้อมทางรัฐประศาสนศาสตร์ นโยบายและการวางแผนของรัฐองค์การและการจัดการภาครัฐแนวใหม่ แนวโน้มรัฐประศาสนศาสตร์ของไทย

การเมืองกับการปกครองของไทย (Politics and Thai Government)
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย สถาบันทางการเมือง และการปกครองของไทย กระบวนการทางการเมืองของไทย การจัดระเบียบการปกครองของไทย และพระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครองของไทย

การวิจัยทางสังคมศึกษา
คณะสังคมศาสตร์

คำอธิบายรายวิชา

             แนวทาง รูปแบบ วิธีการและกระบวน การวิจัยทางการเรียนการสอนสังคมศึกษา ฝึกออกแบบงานวิจัยที่เหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนสังคมศึกษาและการบูรณาการหลักธรรมกับทฤษฎีอื่น