ศึกษาคำสอนในพระไตรปิฎกที่เกี่ยวกับเรื่องโรค
ยา อาหาร การบริโภคปัจจัย ๔
การบริหารร่างกาย การพยาบาล การพักผ่อน และจริยธรรมของรักษาพยาบาล
เพื่อให้นิสิตรู้ชีวประวัติ รู้จักผลงาน ประวัติการแต่งและการแปลคัมภีร์ของนักปราชญ์ทาง
พระพุทธศาสนา ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน รู้จักนำหลักปรัชญาการสอนของท่านเหล่านั้นมาใช้สามารถ
ถ่ายทอด แนวคิด และความศรัทธาของท่านเหล่านั้น ที่อุทิศต่อพระพุทธศาสนาได้
ศึกษาความหมายและขอบข่ายของเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีหลักทางเศรษฐศาสตร์จริยธรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภคตามแนวหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์แนวพุทธศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์ทั่วไป รวมทั้งศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ศึกษากฎหมายที่พระสงฆ์ควรทราบ ลักษณะที่มาและประเภทของกฎหมาย ขั้นตอนและวิธีการออกกฎหมายคณะสงฆ์ ความสัมพันธ์ของกฎหมายคณะสงฆ์กับกฎหมายอื่นๆ เปรียบเทียบกฎหมายคณะสงฆ์กับกฎหมายต่างๆ การบังคับใช้กฎหมายคณะสงฆ์ การใช้อานาจหน้าที่ของพระสังฆาธิการ กฎหมายปกครองที่เกี่ยวเนื่องกับพระสังฆาธิการ เพื่อประโยชน์ในการบริหารกิจการของคณะสงฆ์ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ การทานิติกรรมสัญญา การเช่าที่ดินและอาคารของวัด การเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย พระสงฆ์กับมรดก การเป็นโจทย์ จาเลย และพยานในศาล และศึกษากรณีตัวอย่างคดีที่ศาลตัดสินแล้วอันเกี่ยวข้องกับกฎหมายที่พระสงฆ์ควรทราบ และกรณีศึกษา
ศึกษากฏเกณฑ์และการใช้ภาษาอังกฤษเบื้องต้น เกี่ยวกับการใช้กาล (Tenses) การสร้างประโยค Sentences
ศึกษากำเนิดและพัฒนาการของพระพุทธศาสนามหายาน
โดยเน้นศึกษาคัมภีร์และนิกายที่ สำคัญ
เช่น นิกายมาธยมิกะ โยคาจาร สุขาวดี เป็นต้น ภาษาที่จารึกคัมภีร์
การจัดลำดับชั้นคัมภีร์ รูปแบบการ ถ่ายทอด รูปแบบการรักษาคำสอน
รวมทั้งอิทธิพลของพระพุทธศาสนามหายานในประเทศต่างๆ
1.การศึกษากำเนิดและพัฒนาการของมหายานในอินเดีย
2.การเผยแผ่มหายานเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ หลักธรรม พิธีกรรม
3.นิกายสำคัญของมหายาน
ศึกษาเทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา
เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้ห้องสมุด การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
วิธีแสวงหาความรู้ การเรียนรู้เป็นกลุ่ม
การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมทางวิชาการ การเขียนรายงานและภาคนิพนธ์
๐๐๐ ๒๑๐ ตรรกศาสตร์เบื้องต้น (๒) (๒-๐-๔) (Introduction to Logic)
ศึกษานิมิต คำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน วิภาค การนิยามความหมาย ญัตติประพจน์ในแบบ ต่าง ๆ การแบ่ง ญัตติ ความเป็นปฏิปักษ์แห่งญัตติ ญัตติผสม การให้เหตุผล ปรัตถานุมานและปฤจฉาวาทีแบบต่าง ๆ ศึกษาหลักการ และวิธีการให้เหตุผลจากบทสนทนาของพระพุทธเจ้าในอนัตตลักขณสูตรหรือในสูตรอื่น ๆ บทสนทนาในคัมภีร์กถาวัตถุ ญาณวิทยาของนิกายสรวาสติวาท วิภาษวาทีของนาคารชุน เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างระหว่าง ตรรกศาสตร์ตะวันตก กับตรรกศาสตร์ตะวันออก โดยเฉพาะหลักการเชิงตรรกในคัมภีร์
การศึกษาเกี่ยวกับพระสูตรของนิกายมหายานในประเทศต่างๆ
ที่มีพระพุทธศาสนามหายานเข้าไปเกี่ยวข้อง
โดยมุ่งเน้นในเรื่องของพระสูตรมหายานโดยเฉพาะ
ความหมายและขอบเขตของปรัชญา
ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนาและวิทยาศาสตร์
สาขาของปรัชญา และสาระสำคัญของปรัชญาสาขาต่าง ๆ
พัฒนาการของปรัชญาตะวันออก
ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาชีวิตและสังคม ได้ถูกต้องแล้วนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาความหมาย ประวัติ โครงสร้าง และเนื้อหาสาระของธรรมบท เน้นหลักธรรมที่สำคัญ แนวคิดเชิงเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมอินเดีย และอิทธิพลของธรรมบทที่มีต่อวิถีชีวิตไทย โดยอาศัยอรรถกถาธรรมบทประกอบ