การจัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักการ แนวคิด
เทคนิคและวิทยาการจัดการเรียนรู้ ทฤษฎีและรูปแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ การบริหารและการจัดการชั้นเรียน
การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม
การพัฒนาศูนย์การเรียนในสถานศึกษา
ฝึกการออกแบบและการจัดทำแผนการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริง
ศึกษาความหมาย ลักษณะ ขอบข่ายและวิธีการแสวงหาความจริงของพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ โดยสามารถศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ และทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ที่มีต่อพระพุทธศาสนา รวมทั้งเข้าใจถึงผลกระทบทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อโลกและพระพุทธศาสนา
ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ก่อนตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป อาณานิคมอเมริกาของอังกฤษ ปฏิวัติอเมริกา การสร้างชาติ การบุกเบิกดินแดนตะวันตก สงครามกลางเมือง สหรัฐอเมริการะหว่างสงครามโลก สงครามเย็นและปัญหาการเมืองยุค ๖๐- ๘๐ สหรัฐอเมริกาหลังสงครามเย็น
ศึกษาความเป็นมา ความหมาย หลักการ วิธีการ และประโยชน์ของการปฏิบัติกรรมฐาน อารมณ์ของสมถกรรมฐาน ๔๐ วิปัสสนาภูมิ ๖ สติปัฏฐาน ๔ หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ ภาวนา ๓ นิมิต ๓ สมาธิ ๓ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ วสี ๕ นิวรณ์ ๕ อุปกิเลส ๑๖ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติและนำไปใช้ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๑ ระยะ นั่งกำหนด ๑ ระยะ หรือ ๒ ระยะ
วิวัฒนาการ เหตุการณ์และปัญหาของโลกยุคโบราณ ยุคกลาง ยุคยุโรปครองความเป็นใหญ่ ยุคปัจจุบัน เน้นวิวัฒนาการด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ศึกษาหลักการและวิธีปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร กระบวนการเกิดของไตรสิกขาและไตรลักษณ์ หลักธรรมที่ควรรู้ได้แก่ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๔ ระยะ นั่งกำหนด ๔ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์
ศึกษาความหมาย
ลักษณะ ความสำคัญ คุณค่าของศาสนา ประวัติ พัฒนาการ หลักในการศึกษาศาสนา หลักคำสอน
พิธีกรรมและจุดมุ่งหมายของศาสนาต่าง ๆ
วิเคราะห์ลักษณะที่เป็นสากลร่วมกันและต่างกันของศาสนาปัจจุบัน
อิทธิพลของศาสนาต่อสังคมโลก วิธีการเผยแผ่ศาสนา ความร่วมมือระหว่างศาสนา
และท่าทีของศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย
หลักพัฒนาการของมนุษย์ ทฤษฎีพัฒนาการ พัฒนาการทางกาย สังคม จิตใจ และการรู้คิดจากวัยแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ ธรรมชาติของสมอง การเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) การใช้หลักการทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาของเด็กที่เรียนหนังสือไม่ได้ บทบาทของครูและโรงเรียนต่อการพัฒนาสมองและการเรียนรู้
ทฤษฎี
รูปแบบ และกระบวนการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติเบื้องต้นเพื่อการวิจัย การนำเสนอผลการวิจัย การแปรผลและนำเสนอผลการวิจัย จรรยาบรรณนักวิจัย
ฝึกปฏิบัติการทำวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเรียนรู้
ศึกษาคำสอนเรื่องจิตและเจตสิกในพระไตรปิฎก เปรียบเทียบกับเรื่องจิตวิทยาตะวันตกปัจจุบัน พฤติกรรม ของมนุษย์ตามแนวจริต ๖ และการพัฒนาจิตด้วยสมถะและวิปัสสนา
ภาษาศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Linguistics)
มีเนื้อหาประกอบด้วย,เสียงและอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง,ระบบเสียงในภาษาไทย,ระบบคำในภาษาไทย,ระบบไวยากรณ์ และทฤษฎีไวยากรณ์
แนวคิด ทฤษฎี โครงสร้าง มาตรวัด องค์ประกอบทางประชากรศาสตร์ ผลกระทบของการเพิ่ม และการลดปริมาณของประชากรโลก ภาวการณ์เจริญพันธุ์ การย้ายถิ่นฐานของประชากร สำมโนประชากรของไทย นโยบายประชากรของไทย สถิติประชากร ศึกษาหลักสูตรและการสอนประชากรศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การออกแบบกิจกรรม พัฒนาสื่อการจัดการเรียนการสอนประชากรศึกษาให้สัมพันธ์กับวิชาอืน ๆ การสำรวจด้วยการลงพื้นที่ภาคสนามในพื้นที่โดยผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม การวิเคราะห์หลักสูตร การจัดเวลาเรียน การวัดผลและประเเมินผลการเรียนรู้ เกณฑ์การจบหลักสูตร
การศึกษาศิลปกรรมในพระพุทธศาสนา มีความกว้างขวาง ทางด้านของเนื้อหาค่อนข้างจะสลับซับซ้อน ซึ่งรายวิชานี้มีเนื้อหาที่ครอบคลุมไปถึงศิลปกรรมในด้าน สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม นาฏศิลป์ วรรณศิลป์ ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับวิถีชีวิตของสังคมไทย
๑ ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย
๒.การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทย
๓. วิเคราะห์ผลงานของบุคคลสำคัญทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยและ
ประวัติศาสตร์ไทยในสมัยต่างๆ
๔.ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีต่อสังคมไทยตั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน
แนวทาง รูปแบบ วิธีการและกระบวนการ
การวิจัยทางการเรียนการสอนสังคมศึกษา ฝึกการออกแบบงานวิจัยที่เหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนสังคมศึกษา
และการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับทฤษฎีอื่น
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักการและกระบวนการอ่าน การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การอ่านร้อยแก้วและร้อยกรอง การใช้ทักษะเพื่อการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินทักษะการอ่าน การออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน
ศึกษาความหมายและเนื้อหาของวัฒนธรรม พัฒนาการของวัฒนธรรมไทย ประเภทของวัฒนธรรม พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรม การอนุรักษ์ การเผยแพร่และสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมไทยกับการพัฒนาผลกระทบขิงวัฒนธรรมต่างชาติต่อวัฒนธรรมไทย
ความสำคัญของจิตวิยาการศึกษาต่อวิชาชีพครู
แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐานและหลักการทางจิตวิทยาเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของมนุษย์ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
องค์ประกอบและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
การจูงใจผู้เรียน บริการแนะแนวในสถานศึกษา
จิตวิทยาในการให้คำปรึกษาจรรยาบรรณของผู้แนะแนว
ฝึกการใช้หลักจิตวิทยาและกระบวนการแนะแนวเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย
ความสามารถทางสมอง วิธีการเรียนรู้
และความถนัด