ศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระพุทธศาสนาที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเมืองการปกครองของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา พุทธธรรมที่มีส่วนเสริมสร้างคุณธรรมให้แก่การเมือง องค์กรทางคณะสงฆ์ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านการเมืองการปกครองของไทย บทบาทของพระสงฆ์ต่อการเมืองไทย บทบาทของพระสงฆ์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีกรณีศึกษาจากพระสงฆ์ที่มีบทบาททางการเมือง เช่น พระสงฆ์ศรีลังกา เป็นตัวอย่าง
เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาที่สำคัญของการเมืองการปกครองของไทย ซึ่งประกอบไปด้วยปัญหาการเลือกตั้งของไทย ปัญหาพรรคการเมืองไทย ปัญหากลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มอิทธิพลในไทย ปัญหานักการเมืองไทย ปัญหากระบวนการนิติบัญญัติของไทย ปัญหาคณะรัฐมนตรี ปัญหาการปฏิรูประบบราชการไทย ปัญหาการปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวคิด
และทฤษฎีความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์ กระบวนการนโยบายภาครัฐ ระบบราชการและการบริหารราชการ
ทฤษฎีองค์การและการจัดการงานภาครัฐ
ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสังคม
เศรษฐกิจและการเมืองไทยต่อการบริหารราชการและการวิเคราะห์ประเด็นการบริหารราชการไทยโดยใช้กรณีศึกษา
ศึกษาเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงต่าง ทั้งอดีตและปัจจุบัน ซึ่งเกี่ยวข้องและกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจและสังคมไทย โดยเน้นเหตุการณ์ทางการเมืองต่างในปัจจุบันเป็นสำคัญ และแนวโน้วไทยในอนาตค
ศึกษาทฤษฏีการเมืองการปกครองและการบริหารที่ปรากฏในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ไตรภูมิพระร่วง โลกนีติ-ธรรมนีติ จักรวาฬทีปนี ภูมิลาสินี มงคลทีปนี โลกปกสาร โลกบัญญัติ วิเคราะห์การเมืองการปกครองและการบริหารในวรรณกรรมเหล่านี้และวรรณกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ศึกษาแนวคิดทางการเมือง การบริหาร และการปกครองของพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ตำราทางพระพุทธศาสนา และจากผลงานของนักวิชาการสมัยใหม่
๔๐๑ ๓๐๙ ความรู้เบื้องตนทางความสัมพันธระหว่างประเทศ ่ ๓ (๓-๐-๖)
(Introduction to International Relation)
ศึกษาความรู้พื้นฐานของการเมืองระหว่างประเทศ ธรรมชาติและโครงสร้างของระบบการเมือง
ระหว่างประเทศ ปัจจัยทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการทหาร วัฒนธรรม อุดมการณ์ที่มีผลต่อแนว
พฤติกรรมของรัฐ เครื่องมือที่ ใช้ในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ พัฒนาการความร่วมมือระหว่างประเทศ
ในรูปแบบต่างๆ เช่น ระเบียบปฏิบัติกฎหมาย สถาบันระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนว
พระพุทธศาสนา
ศึกษาความรู้ทั่วไปด้านการเมืองและการปกครอง
พัฒนาการการเมืองการปกครองไทย
สถาบันทางการเมืองและการปกครองของไทย กระบวนการทางการเมืองของไทย
การจัดระเบียบการปกครองของไทย และพระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครองของไทย
ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์
ทั้งที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
โดยครอบคลุมถึงการสร้างแนวความคิด ประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ การตั้งสมมติฐาน
การสร้างขอบข่าย บทการประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการรายงานผลการวิจัย
ทั้งนี้ให้มีการฝึกหัดจัดทำโครงการวิจัยเสนอเป็นภาคปฏิบัติด้วย
ศึกษาความหมาย ทฤษฎี หลักการ และองค์ประกอบของประชาธิปไตยตามแนวพระพุทธศาสนา หลัก ประชาธิปไตยในพระไตรปิฎก ธรรมาธิปไตยกับประชาธิปไตยเปรียบเทียบหลักประชาธิปไตยกับประชาธิปไตยแนว พุทธ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เสริมสร้างประชาธิปไตยและการประยุกต์ใช้หลักประชาธิปไตยเชิงพุทธในการ บริหารและการปกครอง ต าราทางพระพุทธศาสนาและจากผลงานของนักวิชาการสมัยใหม่
ศึกษาแนวคิดและวิธีการทางการเมืองที่มีการกำหนดนโยบายสาธารณะ การเมืองการบริหารที่เกี่ยวกับการตัดสินใจกำหนดนโยบายสาธารณะและการนำไปสู่แผนงาน ความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง การบริหารและนโยบายสาธารณะปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ และการนำไปสู่การจัดทำแผน ปัญหาและอุปสรรคในการกำหนดนโยบาย
สำรวจความคิดเห็นที่สมควรและขี้เกียจ ตั้งเป้า สถาบันการเมือง การบังคับใช้กฎหมายและป... อั๋นทา
ศึกษาธรรมชาติ
ขอบเขต และวิธีการทางรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น
ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์และหลักเกี่ยวกับอำนาจ การใช้อำนาจ
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับบุคลคล ระหว่างอำนาจกับกฎหมาย สถาบันทางการเมือง
พลังและกระบวนการทางการเมือง และประชาสังคมนานาชาติ
ศึกษารูปแบบและกระบวนการของการเมืองการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจในปัจจุบัน พฤติกรรมการเมือง และแนวโน้มของการเมืองการปกครองส่วนส่วนท้องในอนาคต