ระเบียบวิธีวิจัยทางพระพุทธศาสนา
บัณฑิตศึกษา

ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยทางพระพุทธศาสนา ทั้งที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ให้เน้นการจัดทำโครงการวิจัยเสนอเป็นภาคปฏิบัติ พร้อมนำเสนอผลงานวิจัยต่อสาธารณะและนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ได้

พระไตรปิฎกวิเคราะห์
บัณฑิตศึกษา

มีความรู้ความเข้าใจ ศึกษาค้นคว้า และวิเคราะห์เกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา และพัฒนาการของคัมภีร์พระไตรปิฎก การจำแนกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก การรักษา สืบทอดพระไตรปิฎกโดยมุขปาฐะและลายลักษณ์อักษร การจัดลำดับคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ความเป็นมาของพระไตรปิฎกในประเทศไทย และประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระไตรปิฎก

สัมมนาทางพระพุทธศาสนา
บัณฑิตศึกษา

ศึกษาการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในทางพระพุทธศาสนา ให้นิสิตร่วมกัน จัดสัมมนาโดยนำประเด็นปัญหาที่น่าสนใจทางสังคมมาร่วมกันอภิปราย เสนอความคิดเห็น และวิเคราะห์หาทาง ออกร่วมกัน พร้อมทั้งแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมในปัจจุบัน


พระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษ
บัณฑิตศึกษา

                   นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างประโยคตามหลักไวยากรณ์และฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน 

และเขียนเน้นการอ่าน การเขียนและความเข้าใจข้อความภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคำศัพท์และโครงสร้างประโยคสัมพันธ์

กับเอกสารที่ใช้ศึกษา.

การใช้ภาษาบาลี ๒
บัณฑิตศึกษา

๑.๑ เข้าใจประวัติความเป็นมาและหลักไวยากรณ์บาลีเบื้อต้นได้

๑.๒ อ่าน ค้นคว้า เขียน และรู้วิธีการแปลภาษาบาลีเบื้องต้นได้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา หรือคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับภาษาบาลี

๑.๓ จำแนกหรือแยกแยะภาษาบาลีในภาษาไทยได้ ทดลองค้นคว้าเนื้อหาพระพุทธศาสนาสั้นๆ จากเอกสารภาษาบาลี อาทิ ธัมมปทัฏฐกถา และชาดกที่ปรากฏในพระไตรปิฎก

๑.๔ นำเอาความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อการอ่านพจนานุกรมได้ รู้จักสังเกตคำภาษาบาลีและภาษาไทย นำภาษาบาลีไปใช้ในการตั้งชื่อและนามสกุล

พุทธปรัชญา
บัณฑิตศึกษา

      ศึกษาประวัติพัฒนาการ แนวคิด หลักธรรม ความต่างและความเหมือนกันของสำนักพุทธปรัชญาสำนักต่างๆ คือเถรวาท สรวาสติวาท เสาตรานติกะ โยคาจารย์ มัธยามิกะ สุขาวดีและพุทธตันตระหรือวัชรยาน

พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย (Buddhism and Thai Wisdom)
บัณฑิตศึกษา

๑. อธิบายความหมาย ลักษณะ โครงสร้าง และขอบข่ายของพระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทยได้

๒. อธิบายแนวคิดเชิงเศรษฐกิจ  สังคม วัฒนธรรมในพระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทยได้

๓. สามารถวิเคราะห์บทบาทอิทธิพลพระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทยได้

๔. มีวิสัยทัศน์ทางด้านประสบการณ์ของนักปราชญ์ท้องถิ่น ในการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย

๕. สามารถจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมและการสืบสานภูมิปัญญาไทยได้


การใช้ภาษาบาลี 1
บัณฑิตศึกษา

เข้าใจประวัติความเป็นมาและหลักไวยากรณ์บาลีเบื้อต้นได้  อ่าน ค้นคว้า เขียน และรู้วิธีการแปลภาษาบาลีเบื้องต้นได้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา หรือคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับภาษาบาลี จำแนกหรือแยกแยะภาษาบาลีในภาษาไทยได้ ทดลองค้นคว้าเนื้อหาพระพุทธศาสนาสั้นๆ จากเอกสารภาษาบาลี อาทิ ธัมมปทัฏฐกถา และชาดกที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และนำเอาความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อการอ่านพจนานุกรมได้ รู้จักสังเกตคำภาษาบาลีและภาษาไทย นำภาษาบาลีไปใช้ในการตั้งชื่อและนามสกุล


พระพุทธศาสนาเถรวาท Theravada Buddhism
บัณฑิตศึกษา

๑. เพื่อให้ผู้ศึกษาทราบถึงประวัติ พัฒนาการของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท

๒. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักคำสอนที่สำคัญ นิกาย และภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท

๓. เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจอิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อประเทศต่างๆ ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง

๔. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถนำหลักความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเผยแผ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ