Course image ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗ (Buddhist Meditation VII)
ภาควิชาจิตวิทยา

หลักการและวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน สภาวธรรมที่เกิดดับในขณะปฏิบัติฯ วิธีแก้สภาวธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมในสมัยปัจจุบัน เปรียบเทียบกับมหาสติปัฏฐานสูตร และฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม และนั่งกำหนด  ส่งและสอบอารมณ์

Course image 000 104 เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
ภาควิชาจิตวิทยา

หลักการเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ รูปแบบต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจ กลไกราคา บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจ  เงินตราและสถาบันการเงิน การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน และเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ

Course image 617 101 ระบบและหลักการทางพุทธจิตวิทยา
ภาควิชาจิตวิทยา

เรียนรู้ระบบ หลักการ ขอบข่ายทางพุทธจิตวิทยา พฤติกรรมและสาเหตุของพฤติกรรม เช่น จริต ๖ แรงจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ เชาว์ปัญญา อารมณ์ บุคลิกภาพ ความขัดแย้งในใจและการปรับตัว ตามหลักพระพุทธศาสนา และสามารถนำพุทธจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ โดยศึกษาควบคู่ไปกับแนวคิดทางจิตวิทยา

Course image จิตวิทยาการทดลอง(Experimental Psychology)
ภาควิชาจิตวิทยา

แนวคิดพื้นฐาน กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองทางจิตวิทยา ลักษณะของตัวแปรชนิดต่างๆ และการควบคุม ตัวแปร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง การฝึกปฏิบัติการทดลองในห้องปฏิบัติการหรือภาคสนาม การออกแบบการทดลอง และจรรยาบรรณของการทดลองทางจิตวิทยา ตลอดจนการฝึกปฏิบัติทดลองทางจิตวิทยา

Course image Statistics in Psychology
ภาควิชาจิตวิทยา

Study principle, concept, theory and scope of statistics using in psychology to collect, organize, analyze, interpret and present numerical data such as frequency distribution, central tendency, normal distribution, variance, percentile, z score, correlation, reliability analysis, and applying statistical method for psychological measurement.  

Course image ระบบและหลักการทางพุทธจิตวิทยา (Systems and Theories of Buddhist Psychology)
ภาควิชาจิตวิทยา

ศึกษาระบบ หลักการทางพุทธจิตวิทยา และขอบข่ายของวิชาพุทธจิตวิทยา พฤติกรรมและสาเหตุของพฤติกรรม เช่น จริต 6 แรงจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ เชาว์ปัญญา อารมณ์ บุคลิกภาพ ความขัดแย้งในใจและการปรับตัว ตามหลักพระพุทธศาสนา และสามารถนำพุทธจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆโดยศึกษาควบคู่ไปกับแนวคิดทางจิตวิทยา

Course image จิตวิทยาการปรับพฤติกรรม (Psychology of Behavior Modification)
ภาควิชาจิตวิทยา

        เพื่อให้นิสิตศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้กระบวนการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมทั้งประยุกต์หลักการนี้มาใช้ในชีวิตประจำวัน วิธีการปรับพฤติกรรมด้วยวิธีการต่างๆ

        วัตถุประสงค์การเรียนรู้

       ๑. เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ และสาเหตุของพฤติกรรมมนุษย์

       ๒. เพื่อให้นิสิตมีความสามารถอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ได้

       ๓. เพื่อให้นิสิตสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ช่วยเหลือผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม


Course image การบริการปรึกษาต่อสังคม (Counseling for Society)
ภาควิชาจิตวิทยา

305 314 การบริการปรึกษาต่อสังคม 3 (1-4-6) (Counseling for Society)

ศึกษาแนวคิดหลักการให้การปรึกษาการประยุกต์ทฤษฎีและวิธีบริการให้การปรึกษาต่อสังคมในองค์กร ธุรกิจ โรงเรียน โรงพยาบาล หน่วยงานที่เกี่ยวกับการบริการ โดยเน้นภาคปฏิบัติ


Course image การฝึกปฏิบัติทางพุทธจิตวิทยาการปรึกษา 3 ( 1- 4 - 6 )
ภาควิชาจิตวิทยา

Practicum in Buddist Counseling Psychology

การฝึกภาคปฏิบัติในการปรึกษาทางพุทธจิตวิทยาเพื่อการบริการผู้มารับการปรึกษาเชิงสร้างสรรค์

การฝึกการสื่อสาร  กระบวนการให้การปรึกษา  จรรยาบรรณการปรึกษา

   

Course image จิตวิทยาการปรึกษาเบื้องต้น ( Basic Counseling Psychology)
ภาควิชาจิตวิทยา

ศึกษาประวัติความหมายแนวคิดทฤษฎีชนิดหลักการ องค์ประกอบและสาระสำคัญของการให้การปรึกษา ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่มตลอดจน คุณสมบัติ จรรยาบรรณ หน้าที่และบทบาทของผู้ให้การปรึกษา และ ลักษณะของผู้มา ทักษะกระบวนการและขั้นตอนในการให้การปรึกษารวมถึงการประยุกต์ใช้

Course image วิชาบาลีไวยากรณ์ ๓
ภาควิชาจิตวิทยา

ศึกษาอัขระวิธี การันต์  วจีวิภาค นาม ลิงค์ วนจะ วิภัตติ อุปสรรค  กิริยาอาขยาต 

Course image สุขภาพจิต (Mental Health)
ภาควิชาจิตวิทยา

สุขภาพจิตดี มิได้หมายความเฉพาะเพียงแต่ปราศจากโรคประสาทและโรคจิตเท่านั้น หากรวมถึงสภาพของการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งเป็นความสามารถส่วนบุคคลในการที่จะปรับตัวให้สามารถแก้ไขปัญหาของตนในแบบฉบันที่ตั้งอยู่บนฐานความเป็นจริง

Course image จิตวิทยาสังคม (Social Psychology)
ภาควิชาจิตวิทยา

ศึกษาแนวคิดความหมาย ประวัติ ทฤษฎีทางจิตวิทยาสังคมพฤติกรรมของมนุษย์ด้านความสัมพันธ์ ความก้าวร้าว การคล้อยตาม การรับรู้ เจตคติ พฤติกรรมกลุ่ม ผู้นํากลุ่ม พฤติกรรมต่อต้าน(ขัดแย้ง)สนับสนุนช่วยเหลือผู้อื่น

Course image สรีรจิตวิทยา(Physiological Psychology)
ภาควิชาจิตวิทยา

สรีรจิตวิทยาและจิตวิทยาตามแนวพุทธศาสนา ซึ่งเป็นองค์ความรู้เป็นหัวใจหลักที่สำคัญของการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาทุกแขนง เพราะจิตวิทยามุ่งเน้นฐานความรู้ด้านพันธุ์กรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ การรับรู้ระบบสมอง โครงสร้างระบบประสาท และประสาทรับสัมผัส ระบบต่อมและกระบวนการขับเคลื่อนร่างกายต้องอาศัยแรงขับที่นักจิตวิทยาจำเป็นต้องทำการค้นคว้าทดลองอันจะเอื้อต่อการช่วยเหลือความผิดปกติทั้งร่างกายและจิตใจของมนุษย์