งานพุทธศิลปกรรมเฉพาะบุคคลขั้นต้น
Early Buddhist Arts Project
ศึกษาค้นคว้าวางแผนพัฒนาโครงงานพุทธศิลปกรรมเฉพาะบุคคล ตามหัวข้อที่สนใจ และทดลองปฏิบัติพร้อมเขียนรายงานประกอบผลงาน
Study, research, plan, develop individual Buddhist art projects. by topic of interest and practice and write a report to accompany the results.
สัมมนาประเด็นปัญหาทางพระพุทธศาสนาและวิทยการสมัยใหม่ โดยศึกษาแบบบูรณาการมห้ครอบคลุมทั้งวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เน้นให้นิสิตประยุกต์วิทยาการสมัยใหม่มาอธิบายคำสอนทางพระพุทธศาสนา และประยุกต์คำสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่ออธิบายศาสตร์สมัยใหม่ อันเป็นการตอบปัญหาทางวิชาการและปัญหาสังคมสมัยใหม่
๑. ความหมายและความสำคัญของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนาภูมิ
๒. หลักการปฏิบัติ กรรมฐาน
-สมถะกรรมฐาน กรรมฐาน ๔๐
-วิปัสสนากรรมฐาน
๓. การปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาในยุคต้น ตามแนวพระไตรปิฎก
๔. มหาสติปัฏฐาน ๔
หมวดที่ ๑ กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน
๕.มหาสติปัฏฐาน ๔
หมวดที่ ๒ เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน
๖. มหาสติปัฏฐาน ๔
หมวดที่ ๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
๗. มหาสติปัฏฐาน ๔
หมวดที่ ๔ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
๘.กรรมฐานตามในวิสุทธิมรรค
หมวดที่ ๑ ศีลนิเทศ
(อธิศีลสิกขา)
๙.กรรมฐานตามในวิสุทธิมรรค
หมวดที่ ๒ สมาธินิเทศ
(อธิจิตตสิกขา)
๑๐.กรรมฐานตามในวิสุทธิมรรค
หมวดที่ ๓ ปัญญานิเทศ
(อธิปัญญาสิกขา)
๑๑.วิเคราะห์อานิสงส์ของวิปัสสนากรรมฐาน
๑๒.ฝึกปฏิบัติเจริญวิปัสสนาตามหลักมหาสติปัฏฐาน ๔
๑๓.ฝึกปฏิบัติเจริญวิปัสสนาตามหลักมหาสติปัฏฐาน ๔
๑๔.ฝึกปฏิบัติเจริญวิปัสสนาตามหลักมหาสติปัฏฐาน ๔
๑๕.ฝึกปฏิบัติเจริญวิปัสสนาตามหลักมหาสติปัฏฐาน ๔
เพื่อให้นิสิตเรียนรู้หลักการและวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน สภาวธรรมที่เกิดดับในขณะปฏิบัติฯ วิธีแก้สภาวธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมในสมัยปัจจุบัน เปรียบเทียบกับมหาสติปัฏฐานสูตร และฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม และนั่งกำหนด ส่งและสอบอารมณ์
เพื่อให้นิสิตเรียนรู้หลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในพระสูตรที่เชื่อมโยงกับมหาสติปัฏฐานสูตร เช่น อปัณณกสูตร สติสูตร อาการบรรลุมรรคผลและคุณธรรมของพระอริยบุคคล และฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๖ ระยะ นั่งกำหนด ๖ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์
เพื่อให้นิสิตเรียนรู้หลักการและวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนว
ธัมมนานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร, รู้กระบวนการเกิดดับของรูปนามตามแนวปฏิจจสมุปบาท, ศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๕ ระยะ นั่งกำหนด ๕ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์
วิชากรรมฐานถือว่าเป็นแก่นแท้ของพุทธศาสนาในระดับพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรกำหนดให้ศึกษาเนื้อหาตามกรอบคำอธิบายรายวิชาโดยมุ่งเน้นในแต่ละบทดังนี้
เนื่องจากการศึกษาได้กำหนดกรอบมาตรฐามีการพัฒนาและปรับปรุงรายวิชาระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ให้มีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้เพื่อให้เข้าใจความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัย เข้าใจวิธีการดำเนินการวิจัย และนำความรู้ที่ได้รับสามารถดำเนินการงานวิจัยได้
ศึกษาแนวคิดเรื่องความรู้หรือทฤษฎีความรู้ของปรัชญาตะวันตกและตะวันออกสำนักต่างๆ
ในประเด็นเรื่องของธรรมชาติของความรู้
ที่มาของความรู้
มาตรฐานในการตัดสินความรู้
ลักษณะของความเชื่อและความมั่นใจ
โดยเปรียบเทียบกับญาณวิทยาในพุทธปรัชญา
ศึกษากำเนิดและพัฒนาการของพระพุทธศาสนามหายาน เรียนรู้หลักการ อุดมการณ์ ของพระพุทธศาสนามหายาน อิทธิพลของมหายานในโลกปัจจุบัน
ศึกษากำเนิดและพัฒนาการพระไตรปิฎก โครงสร้างเนื้อหาพระไตรปิฎก
และวิเคราะห์หลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎกเช่น อริยสัจจ์ ๔ ปฏิจจสมุปบาท
กรรม ไตรสิกขา นรก-สวรรค์เป็นต้น
ศึกษาแนวคิดทฤษฎีในการแสวงหาความรู้แบบวิจัย ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ความสำคัญของการวิจัยต่อการพัฒนาสังคม กระบวนการและขั้นตอนของการวิจัย โดยเน้นการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการวิจัยทางปรัชญาและพุทธศาสนา
ศึกษาพื้นการการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เพื่อทราบ ความสำคัญของสังคมไทย เพื่อให้นิสิตทราบเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจการพัฒนาสังคม ได้อย่างดี
พระพุทธศาสนากับประชาคมอาเซียน (Buddhism and ASEAN Community)
ศึกษาประเด็นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับเสาหลักของอาเซียน ๓ อย่าง คือ ๑) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ๓) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนโดยนิสิตต้องกำหนดประเด็นที่เกี่ยวกับรายวิชาอย่างน้อย ๓ ประเด็น แล้วจัดทำโครงร่างรายงาน ดำเนินการศึกษา รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และเสนอผลการศึกษา
ศึกษาประวัติและพัฒนาการ หลักการและหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนาเถรวาท
อักษะ ภาษาและคัมภีร์สำคัญ อิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อประเทศต่างๆ
ในด้านสังคมเศรษฐกิจและการเมือง
ศึกษาแนวคิดเรื่องความรู้หรือทฤษฎีความรู้ของปรัชญาตะวันตกและตะวันออกสำนักต่างๆ
ในประเด็นเรื่องของธรรมชาติของความรู้
ที่มาของความรู้
มาตรฐานในการตัดสินความรู้
ลักษณะของความเชื่อและความมั่นใจ
โดยเปรียบเทียบกับญาณวิทยาในพุทธปรัชญา