ศึกษาทฤษฎีและรูปแบบต่างๆของการให้การปรึกษา
หลักการ วิธีการ กระบวนการ เทคนิคทักษะของการให้การปรึกษาตามหลักสากลที่นำมาประยุกต์ใช้ในงานสังคมสงเคราะห์เชิงพุทธ
ให้นิสิตได้มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม เทคนิคทักษะในกระบวนการกลุ่มเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
หลักการ
กลวิธีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในระดับชุมชน การศึกษาชุมชน การสำมะโนปัญหาชุมชน
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผน การจัดทำโครงการ การแสวงหาและพัฒนาทรัพยากร
การกระจายทรัพยากรและบริการ การดำเนินงานโครงการ การติดตามและประเมินผล
การประชาสัมพันธ์ และการเผยแพร่ผลการดำเนินงาน
การจัดทาโครงการ การ บริหารทรัพยากรของโครงการ การแก้ปัญหาและการปรับปรุงโครงการ การ ประสานงานกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เป็นวิชาที่สอนให้เข้าใจในเรื่องของการจัดสัมมนา หรือประชุมกลุ่มย่อม ที่เกี่ยวกับงานสังคมสงเคราะห์ การสัมมนาเป็นการประชุมกลุ่มประเภทหนึ่ง ที่ต้องอาศัยกลุ่มเป็นหลักโดยทั่วไปผู้ที่จะเข้าสัมมนาจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาประชุมเพื่อศึกษาปัญหา วิเคราะห์ สรุป และหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันตามหลักการของประชาธิปไตย ส่วนการสัมมนาตามหลักสูตร ในวงการศึกษา ได้จัดวิชานี้ให้นักศึกษาขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมาย ให้นักศึกษารู้จักศึกษาค้นคว้าเนื้อหาสาระและข้อมูลเอกสารจากแหล่งต่าง ๆ คัดเลือกรวบรวมเรียบเรียง วิเคราะห์วิจารณ์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่นักศึกษาสนใจ สามารถเขียนรายงานเป็นผลงานทางวิชาการตามรูปแบบสากลนิยม และนำผลเป็นการรายงานในเรื่องที่ได้ศึกษาค้นคว้า
ศึกษากำเนิด
พัฒนาการและบทบาทของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
แนวคิดเกี่ยวกับภูมิภาคนิยม
การบูรณาการภูมิภาคและประชาคมด้านความมั่นคงกับพลวัตความร่วมมือของอาเซียน อาทิ
ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค ความสำเร็จและข้อจำกัดของอาเซียน
ความผูกพันต่อการเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาสถานภาพทางการเมืองภายในประเทศภูมิภาคสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรม
สันติภาพและเสถียรภาพ เศรษฐกิจการเมือง หลักความยุติธรรมและหลักนิติธรรมระหว่างประเทศในภูมิภาค
และบทบาทของไทยในการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี
ความเป็นมาของพรรคการเมือง
กลุ่มผลประโยชน์ และระบบการเลือกตั้ง บทบาทและอิทธิพลของกลุ่มต่างๆ
และความสัมพันธ์กับรัฐบาล พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และปัญหาการเลือกตั้ง
เน้นกรณีศึกษาเปรียบเทียบของประเทศไทยกับประเทศอื่น
ศึกษาความหมาย
ทฤษฎี หลักการ
และองค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ สังคม
และการเมืองที่ส่งผลต่อการบริหารการพัฒนา
องค์การที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารงานของประเทศ
ปัญหาพื้นฐานในการบริหารโครงการพัฒนา
โดยเน้นการบริหารการพัฒนาในประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา
ศึกษาความหมายและที่มาของวิชาปรัชญาการเมืองในประเด็นที่สำคัญ
เช่น จุดมุ่งหมายปลายทางของมนุษย์ จุดมุ่งหมายของรัฐ ความยุติธรรม ปรัชญาการเมืองสมัยโบราณ
ปรัชญาการเมืองสมัยกลางและปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ ผลงานของนักปรัชญาตะวันตกและตะวันออกคนสำคัญ
รวมถึงพุทธปรัชญาทางการเมือง
ตำรา ““มนุษย์กับสังคม” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ความเป็นมาเกี่ยวกับมนุษย์และสังคม ตามหลักการทางสังคมศาสตร์และพุทธศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันสังคม ประชาสังคม หลักธรรมาภิบาล และสันติภาพ กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม การวิเคราะห์ ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน รวมทั้งแนวการแก้ปัญหาแบบสันติวิธ และเป็นรายวิชาหนึ่งใน ๑๐ รายวิชา ที่เป็นรายวิชาข้อสอบกลาง ด้วย รายวิชา “มนุษย์กับสังคม” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๘ บท มุ่งหมายให้ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมนุษย์กับสังคม พฤติกรรมมนุษย์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันทางสังคมและการขัดเกลาทางสังคม กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม ประชาสังคม หลักธรรมาภิบาลและสันติภาพ ปัญหาสังคมกับการจัดระเบียบทางสังคม รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยแบบสันติวิธี หวังว่า “มนุษย์กับสังคม” ฉบับปรับปรุงเล่มนี้คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านสังคมศาสตร์และพุทธศาสตร์แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจ สืบไป
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นทางสังคมศาสตร์
บทที่ 2 สังคม
บทที่ 3 วัฒนธรรม
บทที่ 4 พฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม
บทที่ 5 กลุ่มทางสังคม
บทที่ 6 การจัดระเบียบทางสังคม
บทที่ 7 สถาบันทางสังคม
บทที่ 8 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
บทที่ 9 ปัญหาสังคม
ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย สถาบันทางการเมือง และการปกครองของไทย กระบวนการทางการเมืองของไทย การจัดระเบียบการปกครองของไทยและพระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครองของไทย
ศึกษาความหมาย ความเป็นมา
และแนวคิดเกี่ยวกับศึกษาปรัชญา ความเป็นมา แนวคิด การพยากรณ์เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์
การวิเคราะห์งาน การวางแผน การ สรรหา การการคัดเลือก ปฐมนิเทศ
การประเมินการปฏิบัติงาน การฝึกอบรม การ บรรจุแต่งตั้งระบบการจ่ายค่าตอบแทน
ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและพนักงาน สุขภาพ ความปลอดภัย คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงาน
และการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ ทั้งที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยครอบคลุมถึงการสร้างแนวความคิด ประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ การตั้งสมมติฐาน การสร้างขอบข่าย การประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการรายงานการวิจัย ทั้งนี้ให้มีการฝึกหัดจัดทำโครงการวิจัยเสนอเป็นภาคปฏิบัติด้วย