การสอนสังคมศึกษา
การสอนสังคมศึกษา (Social Studies Teaching) เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน ในสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหมด ๑๐ บท โดยการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมเอกสารจากผลงานของผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนำมาอ้างอิง โดยการเรียบเรียงเอาเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชาสังคมศึกษา หลักสูตรวิชาสังคมศึกษา การพัฒนาหลักสูตรวิชาสังคมศึกษา การใช้สื่อการสอนวิชาสังคมศึกษา กิจกรรมเสริมหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา การสอนโดยการสาธิต การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง คุณลักษณะของผู้สอน และการวัดและประเมินผลการสอนวิชาสังคมศึกษา เพื่อให้ การศึกษาบรรลุผลและเป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ในการสอนสังคม
ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าของเอกสารตำราทางวิชาการ บทความ เว็บไซด์ต่างๆตลอดจนหนังสือตำราเรียน ดังที่ปรากฏในบรรณานุกรมของเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้ ซึ่งผู้จัดทำได้ใช้เป็นแนวทางและข้อมูลในการจัดทำเอกสารประกอบการสอนจนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์และแนวคิดให้กับนิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปใช้เพื่อประกอบการศึกษาด้านการสอนสังคม

การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
การศึกษาสมัยโบราณอาศัยปัจจัยเพียง ๔ อย่างคือ ฟัง คิด ถาม เขียน เรียกว่าหัวใจนักปราชญ์ ก็สามารถนำมาใช้เพื่อการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง แต่การศึกษายุคใหม่ มีปัจจัยหลายอย่างที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และปัจจัยดังกล่าวก็ยังถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบในการใช้และใช้หนักในบางปัจจัย ทั้งนี้เพราะการพัฒนาของเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด การเรียนรู้ในศตวรรษใหม่ ที่ IT เข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ก็ยิ่งทำให้เกิดความซับซ้อนเพิ่มขึ้น
ภายใต้ความหลากหลายของ Science กระบวนการเรียนรู้ก็มีหลากหลาย การวิจัยเป็นอีกกระบวนการหนึ่งในการเรียนรู้ ในวิชา ๒๐๐ ๓๑๐ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Research for Learning Development) จึงเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ แนวคิดและทฤษฏีพื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย รูปแบบการวิจัย การะบวนการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การออกแบบการวิจัย จรรยาบรรณนักวิจัย การนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ฝึกปฏิบัติการทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนรวมทั้งนำเสนอผลการวิจัย ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถศึกษาได้ในเอกสารนี้ เพื่อนำไปวิเคราะห์ให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง ให้สมกับคำกล่าวที่ว่า การวิจัยคือแก้ไขปัญหาทุกแง่ของสังคม เหมือนยาพาราที่แก้ปัญหาอาการปวดต่างๆ
ดังนั้นการวิจัยในกระบวนการเรียนรู้ จึงมุ่งให้ผู้เรียนทำวิจัย เพื่อใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถวิจัยในเรื่องที่สนใจหรือต้องการหาความรู้หรือต้องการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการวิจัยจะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิด ฝึกการวางแผน ฝึกการดำเนินงานและฝึกหาเหตุผลในการตอบปัญหา โดยผสมผสานองค์ความรู้แบบบูรณาการเพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง

จริยธรรมสิ่งแวดล้อม
เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ๒๐๓ ๓๑๓ จริยธรรมสิ่งแวดล้อม (environmental ethics) ได้พัฒนาจากเล่มเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับขอบข่ายที่ได้กำหนดไว้มีความสมบูรณ์ด้านเนื้อหา สาระทั้งหมดประกอบด้วย ปัญหาและการแก้ปัญหาที่สัมพันธ์กับจริยธรรมสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์และการให้คุณค่าสิ่งแวดล้อมโดยใช้ขนบธรรมเนียมประเพณีและทฤษฎีจริยธรรมสิ่งแวดล้อม แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและความขัดแย้งทางสังคมอันเนื่องมาจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
สาระเหล่านี้มีความสำคัญต่อทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย เพราะสิ่งแวดล้อมที่เป็นทรัพยากรธรรมชาตินับวันแต่จะหมดสิ้นไป คนยุคใหม่กำลังได้รับผลกระทบที่เกิดจากพัฒนาการทางเทคโนโลยี วิธีการหลักแห่งคุณธรรม ในการที่จะก่อให้เกิดความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถศึกษาได้จากเอกสารเล่มนี้เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ศึกษาเทคนิคการสึกษาระดับอุดมศึกษา เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้ห้องสมุดและการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เนต

การเขียนภาษาอังกฤษ (Writing English)
หลักการเขียนรูปแบบประโยคโครงสร้างภาษาอังกฤษ การใช้สํานวนในการเขียนที่เหมาะสม การ
เขียนจดหมาย บทความ อัตชีวประวัติ เรียงความ บันทึก ย่อความ รวมทั้งรูปแบบการนําเสนองาน การเขียนเชิง
วิชาการ การเขียนเพื่อสมัครเข้าศึกษาและสมัครงาน

การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ
ศึกษาทฤษฎี ทักษะและเทคนิคการเรียนและการสอน
การวิเคราะห์หลักสูตรภาษาอังกฤษตามกลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มภาษาต่างประเทศ
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและการประเมินการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
และการสาธิตการสอน
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
สำหรับนิสิตชั้นปีที่ ๓ คณะครุศาสตร์ ศึกษาอารยธรรมและประวัติศาสตร์กลุ่มประเทศเอเชีย
กลุ่มประเทศออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก กลุ่มประเทศยุโรป กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ
กลุ่มประเทศอเมริกาใต้ และกลุ่มประเทศแอฟริกา วิเคราะห์สภาพการณ์ของโลกและปัญหาปัจจุบัน
แนวคิดและคุณค่าทางประวัติศาสตร์สำหรับการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ภาษาศาสตร์เบื้องต้น
ศึกษาความหมายของภาษาและภาษาศาสตร์ สาขาของวิชาภาษาศาสตร์ ลักษณะทั่วไปของภาษา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัทศาสตร์ (Phonetics) สรศาสตร์ (Phonemics) สัทอักษรสากล สัทอักษรไทย และหลักวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
หลักการ
ทฤษฎี รูปแบบ และแนวคิดเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์และอิงกลุ่ม
การประเมินผลแบบรวมและแบบย่อย การประเมินตามสภาพจริง
การสร้างและการวิเคราะห์ข้อสอบ ฝึกปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัด
และการนำผลไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้

วัฒนธรรมไทย(Thai culture)
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ของวัฒนธรรมไทย แนวคิดความเป็นมาของวัฒนธรรม

เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ และวิวัฒนาการของเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดและหลักเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ การนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและในการทำงาน