คณิตศาสตร์เบื้องต้น
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาหลักพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยนิยาม ประพจน์ การใช้สัญลักษณ์ แสดงกฏเกณฑ์ การอ้างเหตุผลทางตรรกศาสตร์ เซตและพีชคณิตของเซต เรื่องระบบ จำนวนและคุณสมบัติที่สำคัญของจำนวนชนิดต่างๆ การแก้สมการและอสมการ ทฤษฎีเมตริกซ์ และดีเทอร์มิแนนท์ ความสัมพันธ์และฟังก์ชั่น

อาเซียนศึกษา
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาบทบาทประวัติความเป็นมา พัฒนาการประชาคมอาเซียน กลไกอาเซียน กฎบัตรอาเซียน วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย โครงสร้าง ภาพรวม ที่มาคำศัพท์และที่มา AFTA เขตการค้าเสรีและสภาพเศรษฐกิจพื้นฐานประชาคมอาเซียนและเหตุผล องค์ประกอบของประเทศร่วมเจรจาที่มีผลกระทบต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประเทศไทย และแนวโน้มประชาคมอาเซียน


ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ ทั้งที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยครอบคลุมถึงการสร้างแนวความคิด ประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ การตั้งสมมติฐาน การสร้างขอบข่าย บท การประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการรายงานการวิจัย ทั้งนี้ให้มีการฝึกหัดจัดทำโครงการวิจัยเสนอเป็นภาคปฏิบัติด้วย    

การเมืองการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย
คณะสังคมศาสตร์

     ศึกษารูปแบบและกระบวนการของการเมืองการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจในปัจจุบัน พฤติกรรมการเมือง และแนวโน้มของการเมืองการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องในอนาคต

กฎหมายอาญา
คณะสังคมศาสตร์

กฎหมายอาญา

คำอธิบายรายวิชา ศึกษาลักษณะของกฎหมายอาญา ทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดชอบทางอาญา ขอบเขตบังคับของกฎหมายอาญา การพยายามกระทำความผิด ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด เหตุยกเว้นความผิด ยกเว้นโทษ ลดโทษ การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง การกระทำความผิดอีก อายุความอาญา การกำหนดโทษในทางอาญาและวิธีการเพื่อความปลอดภัย รวมทั้งศึกษาทฤษฎีทางอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยาตามประมวลกฎหมายอาญา

ภาษาอังกฤษในสาขารัฐศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์

เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการอ่าน วิเคราะห์ และตีความงานเขียนรัฐศาสตร์ ฝึกเขียนย่อความ เรียงความ อภิปรายเป็นภาษาอังกฤษในเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐศาสตร์

ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์

     ศึกษาธรรมชาติ ขอบเขต และวิธีการทางรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับศาสตร์ทางสังคมอื่นๆ ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์และหลักเกี่ยวกับอำนาจ การใช้อำนาจ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับบุคลคล ระหว่างอำนาจกับกฎหมาย สถาบันทางการเมือง พลังและกระบวนการทางการเมือง และประชาคมนานาชาติ

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คณะสังคมศาสตร์
ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับหลักทั่วไป วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา