พุทธปรัชญาเถรวาท
คณะพุทธศาสตร์

         ศึกษาประวัติและพัฒนาการของพุทธปรัชญาเถรวาท ในเรื่องอภิปรัชญาและญาณวิทยาจริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ และปรัชญาสังคมและการเมืองโดยเปรียบเทียบกับปรัชญาตะวันตกและลัทธิปรัชญาร่วมสมัยของพระพุทธเจ้า เช่น ปรัชญาพระเวท ลัทธิครูทั้ง ๖


จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาตน Psychology for personal Development
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาความหมายของจิตวิทยาทั่วไป พฤติกรรมมนุษย์ สาเหตุปัจจัยแห่งพฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีทางจิตวิทยาเพื่อการวิเคราะห์ตนเอง การวิเคราะห์ ตนเองเพื่อการพัฒนาตนทั้งด้านร่างกาย จิตใจและทักษะชีวิต การเป็นผู้นําและผู้ตามที่ดีการแก้ปัญหาภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมส่วนรวม การประเมินผลการพัฒนาตนเองเพื่อการดํารงชีวิตอย่างมีความสุข เพื่อเป็นเครื่องมือและเป็นแนวทางในนำไปปรับประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวันและในการประกอบอาชีพหน้าที่การงานให้สอดคล้องกับที่มีความเจริญก้าวหน้าและการ เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์
คณะพุทธศาสตร์

    - เพื่อเข้าใจถึงความหมายสำคัญของการสงเคราะห์และการช่วยเหลือมีหลักการการบริหารและการจัดการแบบสงเคราะห์คุณธรรมจริยธรรมและ แบบไม่คิดค่าตอบแทนทางใจสำหรับการสงเคราะห์ทางพระสงฆ์

    - เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการสงเคราะห์หรือการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ในการสงเคราะห์ตามเวลาและโอกาสที่กำหนดเส้นทางในการสงเคราะห์และตามนโยบายในการสงเคราะห์ของพระสงฆ์ระหว่างพระสงฆ์ต่อพระสงฆ์และพระสงฆ์กับชาวบ้านหรือชาวบ้านกับชาวบ้าน

สันติศึกษา
คณะพุทธศาสตร์

       ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้ง ความรุนแรง สันติภาพและปฏิบัติการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี  ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดและแนวปฏิบัติของนักสันติวิธีทั้งตะวันออก ตะวันตกและศาสนาต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในการป้องกันแก้ไขและเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งและความรุนแรง        อีกทั้งพัฒนาทักษะในกระบวนการการเสริมสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมพหุวัฒนธรรมและมีขันติธรรมในการฟังและอยู่ร่วมกับศาสนาและชาติพันธุ์ต่างๆอย่างสันติสุข


มนุษย์กับสังคม
คณะพุทธศาสตร์

          ศึกษาความหมายและความเป็นมาเกี่ยวกับมนุษย์กับสังคม ตามหลักการทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันสังคม ประชาสังคม กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม การวิเคราะห์ปัญหาสังคมและแนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมแบบสันติวิธี ความเป็นพลเมือง และการสื่อสารทางสังคมยุค New Normal

พระอภิธรรมปิฎก 7 คัมภีร์
คณะพุทธศาสตร์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักคำสอนในเรื่องจิต คุณสมบัติของจิต และรูปร่างของมนุษย์ สภาวะของจิตที่มีความเป็นอิสระจากสิ่งเศร้าหมอง ในอภิธรรมปิฎก ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระอภิธรรมปิฎก เนื้อหาสาระ ประเด็นที่น่าสนใจในพระอภิธรรมปิฏกทั้ง ๗ คัมภีร์ โดยเน้นให้เข้าใจหลักปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน โดยอาศัยอรรถกถาและฏีกาประกอบ
พระสุตตันตปิฎก
คณะพุทธศาสตร์
เพื่อให้นิสิตทราบความเป็นมา ความสำคัญ ความหมาย โครงสร้างของพระสุตตันตปิฎก สามารถวิเคราะห์พระสูตรที่สำคัญ คือ พรหมชาลสูตร มหาปรินิพพานสูตร อัคคัญญสูตร รวมทั้งประเด็นที่น่าสนใจ จากนิกายทั้ง ๕ นิกาย คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย
เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา
คณะพุทธศาสตร์

       ศึกษาเทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้ห้องสมุด การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต วิธีแสวงหาความรู้ การเรียนรู้เป็นกลุ่ม การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมทางวิชาการ การเขียนรายงานและภาคนิพนธ์

๐๐๐ ๑๐๘ ปรัชญาเบื้องต้น
คณะพุทธศาสตร์

    ศึกษาความหมายและขอบเขตของปรัชญา ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนาและวิทยาศาสตร์ สาขาปรัชญา และสาระสำคัญของปรัชญาสาขาต่าง ๆ พัฒนาการของปรัชญาตะวันออกและปรัชญาตะวันตก

งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา
คณะพุทธศาสตร์

        ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา  ศึกษางานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย  ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน  วิเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่น่าสนใจ  เช่น เตภูมิกถาของพระยาลิไท  มังคลัติถทีปนีของพระสริริมังคลาจารย์  กาพย์มหาชาติของพระเจ้าทรงธรรม  สังคีติวงศ์ของสมเด็จพระวันรัต (แก้ว)  วัดพระเชตุพนฯ  มงคลวิเสสกถาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  แก่นพุทธศาสน์ของพุทธทาสภิกขุ  กรรมทีปนีของพระพรหมโมลี (วิลาศ  ญาณวโร)  พุทธธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์  (ป.อ. ปยุตฺโต)  พุทธวิทยาของนายพร  รัตนสุวรรณ  และงานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Advanced English ภาษาอังกฤษชั้นสูง
คณะพุทธศาสตร์
Students have an understanding of sentence structure based on grammar and practice listening, speaking, reading, and writing skills, focusing on reading, writing, and understanding English text. Which has vocabulary and sentence structure in relation to the documents used in the study
ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗ (Buddhist Meditation VII)
คณะพุทธศาสตร์
เพื่อให้นิสิตเรียนรู้หลักการและวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน สภาวธรรมที่เกิดดับในขณะปฏิบัติฯ วิธีแก้สภาวธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมในสมัยปัจจุบัน เปรียบเทียบกับมหาสติปัฏฐานสูตร และฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม และนั่งกำหนด ส่งและสอบอารมณ์
พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะพุทธศาสตร์

      ศึกษาหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา โดยเน้นหลักการพัฒนามนุษย์ สังคมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พระพุุทธศาสนากับสันติภาพ
คณะพุทธศาสตร์

 เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมที่เกี่ยวกับสันติภาพในทางพระพุทธศาสนา รูปแบบและวิธีการแก้ไขความขัดแย้งในทางพระพุทธศาสนา การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมปัจจุบันโดยเปรียบเทียบกับทัศนะทางตะวันตก

พระพุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน
คณะพุทธศาสตร์

เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนในระดับสากลและหลักการทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับหลักสิทธิมนุษยชน สามารถนำหลักสิทธิมนุษยชน มาเป็นแนวทางในการส่งเสริม พัฒนาตนเองและสังคม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางสิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

พุทธปรัชญาเถรวาท
คณะพุทธศาสตร์

 เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในประวัติและพัฒนาการของพุทธปรัชญาเถรวาทในด้านอภิปรัชญา,ญาณวิทยา,จริยศาสตร์,สุนทรียศาสตร์และปรัชญาสังคมและการเมืองของพุทธปรัชญาเถรวาทพร้อมกับการศึกษาเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแนวคิดปรัชญาตะวันตกและปรัชญาร่วมสมัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้

รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก
คณะพุทธศาสตร์

       เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจความหมายของรัฐศาสตร์วิเคราะห์หลักธรรมที่เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกโดยศึกษาเปรียบเทียบรัฐศาสตร์แนวพุทธกับรัฐศาสตร์ทั่วไป

เปรียบเทียบเถรวาทกับมหายาน
คณะพุทธศาสตร์

เพื่อศึกษาความแตกต่างและความเหมือนกันระหว่างเถรวาทกับมหายาน  เพื่อเปรียบเทียบสถานะและพระจริยาของพระพุทธเจ้า  สถานะและบทบาทของพระโพธิสัตว์  คำสอนเรื่องธรรมกาย  ทศบารมี  ไตรลักษณ์  ปฏิจจสมุปบาท  นิพพาน  และพิธีกรรมสำคัญ