Course image การใช้ภาษาบาลี๑
คณะพุทธศาสตร์

เพิ่อให้นิสิตพูด อ่าน เขียนภาษาบาลีในระดับพื้นฐาน เพื่อให้นิสิตแปลบาลีเป็นไทย เพื่อให้นิสิตแปลไทยเป็นบาลี

เพื่อให้นิสิตพูด อ่าน เขียน คัมภีร์

Course image พุทธจริยศาสตร์ วข.สุรินทร์
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ในระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูงสุดของพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวกับคุณค่าแห่งพฤติกรรม เกณฑ์การตัดสินความดี-ชั่ว จุดหมายสูงสุด เพื่อเป็นพื้นฐานในการอธิบายตอบปัญหาทางจริยศาสตร์และปัญหาศีลธรรมในสังคม

Course image ธรรมะภาคภาษาอังกฤษ (วข.สุรินทร์)
คณะพุทธศาสตร์

๑  ชื่อรายวิชา  ๑๐๑ ๔๑๔ ธรรมะภาคภาษาอังกฤษชั้นสูง   ( Dhamma in Advance English ) 

๒. จำนวน  ๓ หนว่ยกิต (๓-๐-๖) 

๓ จุดมุ่งหมายของรายวิชา       นิสิตมีความรู้ความเข้าใจหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ 

๔ วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา              

เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาของรายวิชาให้ชัดเจนและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของรายวิชา สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจหลักค าสอนทาง พระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษและเพื่อพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐาน สกอ. 

Course image พระพุทธศาสนาวิทยาศาสตร์ (วข.สุรินทร์)
คณะพุทธศาสตร์

๑. ชื่อรายวิชา  พระพุทธศาสนาวิทยาศาสตร์                     ภาษาอังกฤษ   (Buddhism and science)

๒. รหัสวิชา รหัสรายวิชา ๑๐๑ ๓๐๑                                จำนวนหน่วยกิต ๒ (๒ -๐-๖)

                                                                                          หมวดวิชา พระพุทธศาสนาประยุกต์

                                                                                          ระดับการศึกษา อุดมศึกษา

๓. อาจารย์ประจำวิชา  พระปลัดวัชระ วชิรญาโณ น.ธ.เอก, พธ.บ.,  M.A.(Buddhist Studies)

๔. คำอธิบายรายวิชา

                              ศึกษาเปรียบเทียบวิธีแสวงหาความจริงของพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ โลกทัศน์ของพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนากับทฤษฎีวิวัฒนาการ พระพุทธศาสนากับทฤษฎีสัมพัทธ์ พระพุทธศาสนากับทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ที่มีต่อพระพุทธศาสนา และผลกระทบของวิทยาศาสตร์และประยุกต์วิทยาศาสตร์ต่อพระพุทธศาสนา

๕. จุดประสงค์การเรียนรู้

               ๑. เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจข้อมูลเบื้อต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์

               ๒. เพื่อเปรียบเทียบการแสวงหาความจริงทางพระพุทธศาสนากับวิธีการทางวิทยาศาสตร์

               ๓. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถประยุกต์ความเข้าใจนั้นให้เป็นประโยชน์ต่อการดาเนินชีวิต ๖.

๖. จุดประสงค์เชิงคุณธรรม

                     .เมื่อศึกษาแล้ว นิสิตมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล รู้จักแสวงจุดและสงวนจุดต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

               ๒.เมื่อได้ศึกษาแล้วนิสิตตระหนักรู้ถึงความสาคัญของการประยุกต์หลักการและวิธีการทางพระพุทธศาสนาเข้ากับหลักการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ระพุทธศาสนา

               ๓.เมื่อได้ศึกษาแล้ว นิสิตรู้จักกระบวนการคิดให้เป็นระบบ และคิดอย่างมีเหตุผล

               ๔.เมื่อได้ศึกษาแล้ว นิสิตสามารถเชื่อมโยงวิวัฒนาการของโลกและชีวิตตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง

๗. ขอบข่ายรายวิชา

สัปดาห์ที่

วันเดือนปี

รายการสอน

จำนวนคาบ

กิจกรรมการเรียนการสอน

๑-๒

 

บทที่ ๑

บทนำ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์., กาเนิดและพัฒนาการของวิทยาศาสตร์

- แนะนำรายวิชา และแผนการสอน/บรรยายประกอบสื่อ /สนทนา /

๒-๓

 

บทที่ ๒ การแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์)ลักษณะสำคัญของการแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้ประสาทสัมผัส และการทดลองก่อนจะยืนยันความรู้

บรรยายประกอบสื่อ /สนทนา / /วิเคราะห์/ งานค้นคว้า / เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง

๔-๕

 

บทที่ ๓  ทฤษฏีสัมพัทธภาพและทฤษฏีควอนตัมกับพุทธศาสนา

บรรยายประกอบสื่อ /สนทนา / /วิเคราะห์/ งานค้นคว้า / เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง

๖-๗

 

บทที่ ๔  ทฤษฏีสัมพัทธภาพและทฤษฏีควอนตัม เปรียบเทียบแนวความคิดทางพระพุทธศาสนา

 

บรรยายประกอบสื่อ /สนทนา / /วิเคราะห์/ งานค้นคว้า / เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง

๘-๙

 

 บทที่ ๕  ผลของทฤษฏีทั้งสองต่อการปฏิวัติความคิดในทางวิทยาศาสตร์

บรรยายประกอบสื่อ /สนทนา / /วิเคราะห์/ งานค้นคว้า / เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง

๑๐-๑๓

 

 บทที่ ๖   การตรวจสอบกฎและทฤษฏีในวิทยาศาสตร์

 

บรรยายประกอบสื่อ /สนทนา / /วิเคราะห์/ งานค้นคว้า / เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง

๑๔-

 

 บทที่ ๗  ระบบความรู้ในพุทธศาสนา: พระพุทธศาสนาในฐานะระบบความรู้อย่างหนึ่ง

บรรยายประกอบสื่อ /สนทนา / /วิเคราะห์/ งานค้นคว้า / เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง

๑๕

 

บทที่ ๘

ความรู้ในพระพุทธศาสนากับความรู้ในวิทยาศาสตร์ รากฐานทางอภิปรัชญาของพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ ศรัทธาในพระพุทธศาสนากับศรัทธาในวิทยาศาสตร์

  

บรรยายประกอบสื่อ /สนทนา / /วิเคราะห์/ งานค้นคว้า / เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง

๑๖

 

สอบปลายภาค

 

 

 

๘. กิจกรรมการเรียนการสอน

§  ๘.๑. แนะนำเค้าโครงการบรรยายและขอบข่ายเนื้อหารายวิชา

§  ๘.๒. บรรยายเนื้อหาตามเค้าโครงการบรรยายและขอบข่ายในรายวิชา

§  ๘.๓. อภิปราย-ซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน

§  ๘.๔. แนะนำและมอบหมายการศึกษาค้นคว้ารายงานเฉพาะบุคคลและกลุ่ม

§  ๘.๕. ศึกษาและทดลองปฏิบัติ - บรรยาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

§  ๘.๖. นำเสนอรายงานและการประเมินผลการเรียนรู้

๙. การวัดและประเมินผล

๙.๑.       จิตพิสัย (ความตั้งใจ ความร่วมมือ มารยาท

มนุษยสัมพันธ์ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ )                       ๑๐  คะแนน

§  ๙.๒.      ทักษะพิสัย (ความพร้อม ความเชี่ยวชาญนการนำเสนอ

หรือแสดงออกในด้านวิชาการ )                                                  ๑๐  คะแนน

§  ๙.๓.       พุทธพิสัย (ความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์

ใช้เอกสาร รายงาน สอบกลางภาค)                                            ๒๐  คะแนน

§  ๙.๔.       สอบปลายภาค                                                                               ๖๐   คะแนน

                                             รวม                                                                    ๑๐๐ คะแนน

 

๑๐.  เกณฑ์การประเมินผล และระดับคะแนน

 

               เกณฑ์คะแนน

ความหมาย

ระดับ

ค่าระดับ

๙๐  ขึ้นไป

ดีเยี่ยม

A

๔.๐

๘๕ - ๘๙

ดีมาก

B+

๓.๕

๘๑ - ๘๔

ดี

B

๓.๐

๗๕ - ๘๐

พอใช้

C+

๒.๕

๗๑-๗๔

ค่อนข้างพอใช้

C

๒.๐

๖๕ - ๗๐

ค่อนข้างอ่อน

D+

๑.๕

๖๐ - ๖๔

อ่อน

D

๑.๐

ต่ำกว่า ๖๐

ไม่ผ่าน

F

 

๑๑. หนังสืออ่านประกอบ

พระเทพเวที ป.อ. ปยุตฺโต พระพุทธศาสนาในฐานะรากฐานของวิทยาศาสตร์,กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม,๒๕๓๕.

พร รัตนสุวรรณ. พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.

สมภาร พรมทา. พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์.โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.

 

 


Course image พระพุทธศาสนากับการศึกษา วข.สุรินทร์
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาทางพระพุทธศาสนาและระบบการศึกษาในพระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาลและหลังพุทธกาลโดยสังเขป  พระพุทธศาสนากับการศึกษาในประเทศไทย


Course image พระพุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์ (วข สุรินทร์)
คณะพุทธศาสตร์

๑. ชื่อรายวิชา  พระพุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์              (Buddhism and Economics)

๒. รหัสวิชา รหัสรายวิชา ๑๐๑ ๔๐๕                               จำนวนหน่วยกิต ๒ (๒ -๐-๖)

                                                                                          หมวดวิชา พระพุทธศาสนาประยุกต์

                                                                                          ระดับการศึกษา อุดมศึกษา

๓. อาจารย์ประจำวิชา  พระปลัดวัชระ วชิรญาโณ นธ.เอก พธ.บ. MA.(Buddhist Studies)

 ๔. คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาความหมายและขอบข่ายของเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีหลักทางเศรษฐศาสตร์ที่ปรากฏในคำสอนทางพระพุทธศาสนา จริยธรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภค เปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์แนวพุทธศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์ทั่วไปรวมทั้งศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๕. จุดประสงค์การเรียนรู้

               ๕.  ๑. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา

               ๕.๒. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับจริยธรรมในการผลิต การบริโภคและการแบ่งปัน

               ๕.๓. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถอธิบายการประยุกต์พุทธจริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

               ๕.๔. เพื่อเป็นพื้นฐานในการปรับตัวในชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

๖. จุดประสงค์เชิงคุณธรรม

               ๖. ๑.เมื่อศึกษาแล้ว นิสิตมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล รู้จักแสวงจุดและสงวนจุดต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์

               ๖.๒.เมื่อได้ศึกษาแล้วนิสิตตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการประยุกต์หลักการและวิธีการทางพระพุทธศาสนาเข้ากับหลักการและวิธีการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา

               ๖. ๓.เมื่อได้ศึกษาแล้ว นิสิตรู้จักกระบวนการคิดให้เป็นระบบ และคิดอย่างมีเหตุผล

๖.๔. เมื่อได้ศึกษาแล้ว นิสิตสามารถเชื่อมโยงวิวัฒนาการของโลกและชีวิตตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง


Course image พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ (วข.สุรินทร์)
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาความหมาย และขอบข่ายของสังคมสงเคราะห์ หลักการ รูปแบบ และวิธีการสังคมสงเคราะห์ในพระไตรปิฏก เน้นพระจริยาของพระพุทธเจ้าตามแนวโลกัตถจริยา และบทบาทของพระสงฆ์ ในการสังคมสงเคราะห์


Course image ธรรมประยุกต์
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและแก้ปัญหาชีวิตและสังคม


Course image อภิธรรมปิฎก
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระอภิธรรมปิฎก  เนื้อหาสาระ  ประเด็นที่น่าสนใจในพระอภิธรรมปิฏกทั้ง    คัมภีร์ 

Course image อักษรจารึกในพระไตรปิฎก
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาอักษรต่างๆ ที่ใช้จารึกพระไตรปิฎก คือ อักษรเทวนาครี สิงหล ขอม พม่า มอญ อักษรธรรมล้านนา และอักษรโรมัน ให้สามารถอ่านออก เขียนได้

Course image สัมมนาพระพุทธศาสนา (วข.สุรินทร์)
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาและสัมมนาปัญหาทางพระพุทธศาสนาในประเด็นต่างๆ โดยเสนอผลงานการค้นคว้าและรายงานประกอบการสัมมนา

Course image เปรียบเทียบเถรวาทกับมหายาน(วข.สุรินทร์)
คณะพุทธศาสตร์

       ศึกษาข้อแตกต่างและความเหมือนกันระหว่างเถรวาทกับมหายาน  เปรียบเทียบสถานะและพระจริยาของพระพุทธเจ้า  สถานะและบทบาทของพระโพธิสัตว์  คำสอนเรื่องธรรมกาย  ทศบารมี ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท นิพพาน  และพิธีกรรมสำคัญของนิกายทั้งสอง


Course image ศึกษางานสำคัญทางพระพุทธศาสนา(ป.โท)
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาประวัติและผลงานของนักปราชญ์นักคิดและนักวิชาการคนสำคัญทางพระพุทธศาสนาในอดีตและปัจจุบัน ทั้งในประเทศตะวันตกและตะวันออก เช่น ผลงานของ เซอร์ บาตรสกี, รีส เดวิดส์, ดี.ที.ซูซูกิ พระพุทธโฆสาจารย์, พระสิริมังคลาจารย์, พุทธทาสภิกขุ, พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นต้น

Course image ประวัติพระพุทธศาสนา (ป.สศ.)
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาหลักพื้นฐานความเชื่อและศาสนาของมนุษย์ ดินแดนชมพูทวีป พุทธประวัติ กำเนิดพุทธศาสนา  พุทธศาสนายุคหลังพุทธกาล การเผยแผ่พุทธศาสนาของพระเจ้าอโศก พุทธศาสนาเถรวาท พุทธศาสนาหายาน  มหาวิทยาลัยในพุทธศาสนา พุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยต่างๆ พุทธศาสนาในเอเชี ยุโรป อเมริกาออสเตรเลีย และแอฟริกา

Course image ศึกษาอิสระทางพระพุทธศาสนา (บรรจง)
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาค้นคว้าวิจัยภาคสนามทางพระพุทธศาสนา ที่สามารถประยุกต์ใช้ในกิจการทางพระพุทธศาสนา โดยความเห็นชอบและควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา

Course image พุทธปรัชญา Buddhist Phil.
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาประวัติและพัฒนาการของแนวคิดในพุทธปรัชญาสำนักต่างๆ คือ เถรวาท สรวาสติวาท เสาตรานติกะ มาธยมิกะ โยคาจาร สุขาวดี อวตังสกะและวัชรยาน เปรียบเทียบแนวความคิดหลักของสำนักพุทธปรัชญาเหล่านี้ทั้งในแง่อภิปรัชญา ญาณวิทยา และจริยศาสตร์

Course image พุทธปรัชญาเถรวาท Theravada Phil.
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาอภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์ในพุทธปรัชญาเถรวาท เปรียบเทียบกับปรัชญาตะวันตกและปรัชญาตะวันออก