Course image ภาษาศาสนา
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาบทบาทและความหมายของภาษาที่ใช้ในศาสนา วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับภาษาศาสนาและการตีความภาษาศาสนาในทัศนะของนักคิดสำคัญ เช่น ลุดวิก วิตเกนสไตน์ กิลเบิร์ต ไรล์ และพุทธทาสภิกขุ เป็นต้น

Course image หลักการสานเสวนาทางศาสนา
คณะพุทธศาสตร์

        ศึกษาหลักการ แนวคิดทฤษฎีการสานเสวนาทางศาสนาทั้งฝ่ายเทวนิยมและ อเทวนิยม รวมถึงรูปแบบและตัวอย่างเฉพาะในการสานเสวนาในอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การสานเสวนาทางศาสนาในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ ซัยยิต กุฏุบ เป็นต้น

Course image พระพุทธศาสนากับแนวคิดใหม่ทางศาสนา
คณะพุทธศาสตร์
ศึกษาแนวคิดพระพุทธศาสนา เพื่อบูรณาการกับแนวคิดใหม่ของศาสนาและลัทธิความชื่อต่าง ๆ คือ ศาสนาบาไฮ ลัทธิไสบาบา ลัทธิโอมชินริเกียว นิกายมอร์ม่อน นิกายฝ่าหลุนกง เป็นต้น ทั้งตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมสังคมไทยและโลก
Course image พระพุทธศาสนากับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษากำเนิด พัฒนาการ โครงสร้างเนื้อหาสาระ ประเด็นสำคัญของคัมภีร์พระเวทสังหิตา คัมภีร์พราหมณะ อรัณยกะ อุปนิษัท ภควัทคีตา พิธีกรรม วันสำคัญและการบริหาร

Course image ปรัชญาพุทธมหายาน
คณะพุทธศาสตร์

 ศึกษากำเนิด พัฒนาการ โครงสร้างเนื้อหาสาระ ประเด็นสำคัญของพุทธปรัชญามหายานสำนักต่างๆ คือ สำนักมาธยามิกะ สำนักโยคาจาร สำนักสุขาวดี สำนักเซ็น และข้อโต้แย้งของพุทธปรัชญาต่อ ๔ สำนัก

Course image พระพุทธศาสนากับปรัชญา
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาความเหมือนและความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับปรัชญา เข้าใจท่าทีของพระพุทธศาสนาที่มีต่อปรัชญาและเข้าใจทัศนะของนักปรัชญาที่มีต่อพระพุทธศาสนา

Course image ศาสนากับสังคมวิทยา
คณะพุทธศาสตร์

 ลักษณะของศาสนาและลักษณะสังคมวิทยา ทฤษฎีทางสังคมวิทยา ขบวนการทางสังคม แนวความคิดทางคำสอนของศาสนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคม เช่น วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรทางศาสนากับสังคม บทบาทและอิทธิพลของศาสนาที่จะช่วยพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์

Course image พระพุทธศาสนามหายาน
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาประวัติ พัฒนาการ และหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามหายาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Course image เปรียบเทียบความจริงสูงสุดในศาสนา
คณะพุทธศาสตร์

เปรียบเทียบความคล้ายคลึง และความแตกต่างแห่งโลกทัศน์ทางศาสนาในประเด็นสำคัญ ได้แก่ ธรรมชาติของมนุษย์ ความคิดเรื่องพระเจ้า โลก วิญญาณ สังสารวัฎ อนัตตา และนิพพาน รวมทั้งอิทธิพลคำสอนเกี่ยวกับความจริงสูงสุดที่มีต่อสังคมของศาสนิกนั้นๆ

Course image ศาสนากับการพัฒนาสังคม
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของศาสนาในฐานะเป็นสถาบันหลักของสังคม บทบาทของศาสนาที่มีต่อสังคมตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน  อิทธิพลของศาสนาที่มีต่อแนวคิด คติ ความเชื่อ ตลอดถึงการปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งพฤติกรรมและปรากฎการณ์ของประชาชนในสังคมที่นับถือศาสนาต่างๆ  และการนำแนวคิดทางศาสนามาเป็นฐานของการพัฒนาสังคมในด้านต่างๆ 


Course image สัมมนาศาสนาเปรียบเทียบ
คณะพุทธศาสตร์

สัมมนาเกี่ยวกับความหมายศาสนา กำเนิดของศาสนา มูลเหตุเกิดของศาสนา ศึกษาวิเคราะห์ ประเด็นปัญหาสำคัญทางศาสนา ด้านคัมภีร์ หลักคำสอน และการปฎิบัติโดยพิจารณาวิเคราะห์เปรียบเทียบในประเด็นหลักเกี่ยวกับความจริงสูงสุด ทฤษฎีความรู้และหลักความประพฤติของมนุษย์ หน้าที่และบทบาทของศาสนาที่มีต่อการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สังคม การเมือง เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

Course image ปรัชญาวิเคราะห์
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาประวัติและพัฒนาการของปรัชญาวิเคราะห์สมัยปัจจุบน เน้นงานของวิตก์เกนสไตน์, อันเฟรด แอร์, ชลิค เฟรเก, เบอร์ทรันด์ รัสเซล์ เป็นต้น

Course image ศาสนากับสถานภาพของสตรี
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาวิเคราะห์สถานภาพ ศักยภาพและบทบาทของสตรี ในการเข้าร่วม ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมหรือพิธีกรรมทางศาสนาและการธำรงรักษาศาสนา

Course image ปรัชญาเปรียบเทียบ
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาเปรียบเทียบปรัชญาตะวันตกกับปรัชญาตะวันออกด้านอภิปรัชญา ญาณวิทยา และจริยศาสตร์ ในแง่ความเหมือนและความต่าง


Course image ศาสนากับวิทยาการโลกยุคใหม่ Religions and Modern World Sciences
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาแนวคิด ท่าทีทางศาสนาที่มีต่อวิทยาการสมัยใหม่ ทั้งในประเด็นที่ขัดแย้งทางศาสนาฝ่ายเทววิทยากับศาสตร์สมัยใหม่ ประเด็นความขัดแย้งในศาสนาฝ่ายเทววิทยากับศาสตร์สมัยใหม่ และในประเด็นที่นำไปสู่การสร้างรูปแบบการประนีประนอมในทางหลักการและวิถีปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการบูรณาการศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่โดยศึกษาแบบบูรณาการหรือสหวิทยาการที่ครอบคลุมทั้งวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ เน้นการประยุกต์วิทยาการสมัยใหม่มาอธิบายคำสอน ความเชื่อ พิธีกรรม และปรากฏการณ์เชิงสังคมทางศาสนา และการประยุกต์คำสอนทางศาสนาเพื่อตอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการและปัญหาสังคมสมัยใหม่