Course image การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาแนวคิดและวิธีการต่าง ๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ ทั้งนี้ให้ศึกษา เปรียบเทียบของประเทศต่าง ๆ โดยเลือกเฉพาะบางประเทศที่สำคัญในกลุ่มประเทศประชาธิปไตย กลุ่มประเทศ คอมมิวนิสต์และกลุ่มประเทศโลกที่สาม โดยเน้นศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมือง โครงสร้าง องค์ประกอบและหน้าที่ของระบบการเมืองการปกครองเหล่านั้นเป็นกรณีศึกษา

Course image พฤติกรรมองค์การ
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาเชิงพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การและการบริหารงาน พฤติกรรมองค์การกับสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ การใช้พลังงานของกลุ่มให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การ พื้นฐานพฤติกรรมบุคคลเกี่ยวกับการเรียนรู้ ค่านิยม ทัศนคติ การจูงใจ การสร้างขวัญ กำลังใจและความพึงพอใจในงาน พื้นฐานพฤติกรรมกลุ่ม การสื่อสารและการตัดสินใจของกลุ่ม ภาวะผู้นำ อำนาจและการเมือง ความขัดแย้งและพฤติกรรมระหว่างกลุ่ม

Course image การบริหารการพัฒนา
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎีและขอบข่ายการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ ปทัสถานและวิวัฒนาการของรัฐ

ประศาสนศาสตร์  การบริหารการพัฒนา ปัจจัยแวดล้อมทางรัฐประศาสนศาสตร์  นโยบายและการวางแผนของรัฐ 

องค์การและการจัดการภาครัฐแนวใหม่  แนวโน้มรัฐประศาสนศาสตร์ของไทย

Course image วิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน
คณะสังคมศาสตร์

๑.๑ บทนำ

นโยบายสาธารณะมีการศึกษากันอย่างจริงจังตั้งแต่ ค.ศ.๑๙๗๐ เป็นต้นมา เนื่องจากเป็นช่วงของพาราไดม์ที่ ๕ ของการศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ที่นักวิชาการในยุคนั้นให้ความสำคัญกับการมุ่งเน้นการศึกษานโยบายสาธารณะ โดยสืบเนื่องจากการที่ Herbert A. Simon (๑๙๔๗) ที่เสนอให้แบ่งวิชารัฐประศาสนศาสตร์ออกเป็น ๒ แนว คือ ศาสตร์บริสุทธิ์ของการบริหาร(A pure science of administration) กับการกำหนดนโยบายสาธารณะ(Public Policy Formulation) หลังจากนั้นเป็นต้นมา การศึกษานโยบายสาธารณะก็มีความเด่นชัด กลายมาเป็นสาระสำคัญของการศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์จนถึงปัจจุบัน


Course image พรรคการเมืองกลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง /วข สุรินทร์
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาทฤษฎี ความเป็นมา และระบบของการเลือกตั้ง พรรคการเมือง กลุ่มอิทธิพล และกลุ่มผลประโยชน์ บทบาทและอิทธิพลของกลุ่มต่างๆ และความสัมพันธ์กับรัฐบาล พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และปัญหาการเลือกตั้ง เน้นกรณีของไทยโดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ


Course image ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์

ศึกษาทฤษฎีและพฤติกรรมองค์การ โดยเริ่มจากแนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับองค์การสมัยดั้งเดิมถึงสมัยปัจจุบัน ความหมายและองค์ประกอบขององค์การ ตัวแปรในองค์การ วิธีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์การ ปัจจัยพื้นฐานที่กำหนดพฤติกรรมการทางานของมนุษย์ พฤติกรรมในการบริหาร อิทธิพลของโครงสร้างและกระบวนการในองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการทางานของมนุษย์

Course image วากยสัมพันธ์
คณะสังคมศาสตร์


            ศึกษาหลักเกณฑ์ ความสัมพันธ์ของคำหรือคำศัพท์ ในประโยคต่าง ๆ โดยใช้หนังสือธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๕ (ธรรมบท ภาคที่ ๕)


Course image พระสุตตันตปิฎก (Suttanta Pitaka)
คณะสังคมศาสตร์

   ศึกษาเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา  ความสำคัญ  ความหมาย  โครงสร้างของพระสุตตันตปิฎก  สามารถวิเคราะห์พระสูตรที่สำคัญ  คือ  พรหมชาลสูตร  มหาปรินิพพานสูตร อัคคัญญสูตร  รวมทั้งประเด็นที่น่าสนใจ จากนิกายทั้ง  ๕  นิกาย  คือ  ทีฆนิกาย  มัชฌิมนิกาย  สังยุตตนิกาย  อังคุตตรนิกาย  และขุททกนิกาย     

Course image รัฐประศาสนศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา
คณะสังคมศาสตร์

รัฐศาสตร์จะเรียนเรื่องการเมือง การปกครอง การเข้าสู่อำนาจ การลงจากอำนาจ  ส่วนรัฐประศาสนศาสตร์เรียนเรื่องการบริหาร การบริหารภาครัฐทั้งหมด   อย่างของประเทศไทยจะเรียนเรื่องการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค  และส่วนท้องถิ่น สาขาเอกย่อยๆ 1.นโยบายสาธารณะ  2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์   3.องค์การและการจัดการ 4.กระบวนการยุติธรรม และยังเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับ Thailand 4.0 ประชาคมอาเซียน ทักษะทางด้านภาษาและเทคโนโลยีทางด้านไอที เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานของบัณฑิตในอนาคต....”