Course image การวางแผนเชิงกลยุทธ์
คณะพุทธศาสตร์

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ เป็นเรื่องของการวางแผนขององค์กรและปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ การวางแผนเป็นกระบวนการของการบริหารขั้นเริ่มแรก ที่ต้องตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไรในนาคต ทำอย่างไร ทำเมื่อไร และใครจะเป็นผู้กระทำ โดยมีวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน ใช้วิจารณญาณในการเตรียมการปฏิบัติงานขั้นตอนต่างๆ ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ

Course image บาลีไวยากรณ์ ๓
คณะพุทธศาสตร์

เป็นการเรียนรู้และศึกษาบาลีไวยากรณ์ เกี่ยวกับศัพท์ที่กล่าวกิริยาที่เรียกว่าอาขยาต  คือความทำ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิดอาขยาตนั้นมีเครื่องปรุงหรือทัองค์ประกอบ ๘ อย่าง คือ วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก และปัจจัย ลงรายลอะเอียดเรื่องวิภััติ จัดเป็น ๘ หมวด มี ๑๒ วิภัตติ อธิบานเรื่องกาล คือ วัตตมานา ปัญจมี สัตตมี ปโรกขา หิยัตตนี อัชชัตตนี และกาลาติปัตติ  และอาคมในอาขยาตมี ๕ ตัว วาจก กิตก์ สาธนะ ตูนาทิ และวิธีทำตัวกิริยา  สมาส และตัทธิต

Course image บาลีไวยากรณ์ ๒
คณะพุทธศาสตร์

เป็นบาลีไวยากรณ์ ที่เกี่ยวกับ นาม นามศัพท์ คือเสียง/สำเนียงบ่งถึงชื่องต่างๆ แบ่งออกเป็น ๓ คือ นามนาม คุณนาม และสัพพนาม  นามทั้ง ๓ นี้ ต้องประกอบด้วย ลิงค์ วจนะ วิภัตติ   และนามนั้นที่เป็นชื่อของคน สัตว์ ที่ สิ่งของ ยังแบ่งออกเป็น สาธารณนาม และอสาธารณนาม   เป็รเรื่องเกี่ยวกับเพศของนามศัพท์ที่มี ๓ ลิงค์ และการันต์ คือสระที่สุดแห่งศัพท์  ตลอดจนการนับจำนวนคือสังขยา และอัพยยศัพท์ ต่างๆ

Course image พุทธปรัชญาเถรวาท
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาประวัติ และพัฒนาการของพุทธปรัชญาเถรวาท ในเรื่องอภิปรัชญา และญาณวิทยาโดยเปรียบเทียบกับลัทธิปรัชญาร่วมสมัยของพระพุทธเจ้า เช่น ลัทธิครูทั้ง ๖

Course image บาลีไวยากรณ์ ๑
คณะพุทธศาสตร์

บาลีไวยากรณ์ ๑ (เบื้องต้นพื้นฐาน) เป็นเรื่องประวัติความเป็นมา กำเนิด วิวัฒนาการของบาลี ความสำคัญของภาษาบาลี ภาษาบาลีไวยากรณ์นั้นแบ่งออกเป็น ๔ ภาค มีอะไรบ้าง ลงรายละเอียดของอักขะวิธี อักขระแปลว่าอะไร มีอะไรบ้าง เกิดจากฐานอะไรบ้าง เสียงของพยัญชนะ  ลงรายละเอียดของสมัญญาภิธาน   และสนธิ

Course image พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาภูมิปัญญาไทยที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศิลปะ และวัฒนธรรม

Course image เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน พม.ถนอม
คณะพุทธศาสตร์

          ศึกษาหลักการเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์  ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในชีวิต  ประจำวันรูปแบบต่าง ๆ ของระบบเศรษฐกิจ  การทำงานของกลไกราคาในตลาด  บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจ  เงินตราและสถาบันการเงิน  เน้นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นข้อมูลประกอบการศึกษา  และศึกษาเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ

Course image พุทธศิลปะ
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการพุทธศิลปะในอินเดีย นับตั้งแต่จุดกำเนิดที่มาของพุทธศิลปะ พุทธศิลปะในอินเดีย ศรีลังกา และประเทศไทย ประวัติการสร้างพุทธศิลปะในสมัยต่างๆ ในอินเดีย  การเข้าของพุทธศิลปะเข้าสู่ประเทศไทยจนเกิดเป็นสกุลศิลปะสมัยต่างๆ โดยอาศัยพุทธลักษณะ ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์ ประโยชน์ของพุทธศิลปะ ตลอดจนศิลปะกรรมต่างๆ ในสมัยต่างๆ ของประเทศไทย คุณค่าการอนุรักษ์พุทธศิลปะ  พร้อมทั้งมองให้เห็นปรัชญาธรรมและความงามของพุทธศิลปะ 

Course image ปรัชญาอินเดียโบราณ
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาแนวคิดทางปรัชญาของพระเวท  อุปนิษัท และภควัทคีตา ประวัติ และหลักปรัชญา นาสติกะ ๓ สำนัก และ อาสติกะ ๖ สำนัก

Course image พระพุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาความหมายและขอบข่ายของเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีหลักทางเศรษฐศาสตร์ ที่ปรากฏในคำสอนทางพระพุทธศาสนา จริยธรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภค  เปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์แนวพุทธศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์ทั่วไปรวมทั้งศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


Course image การบริหารงบประมาณ
คณะพุทธศาสตร์

.๑ ความเป็นมาของงบประมาณ

การจัดทํางบประมาณในแบบปัจจุบัน ได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ประมาณ

คริสศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ซึ่งเป็นสมัยที่สภาผู้แทนราษฎรได้ประสบความสําเร็จในการสงวนอํานาจที่จะอนุมัติรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล ซึ่งจะเห็นได้ว่าการจัดทํางบประมาณในแบบปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับวิวัฒนาการการปกครอง ต่อมาได้มีการนําแบบอย่างมาจัดทํางบประมาณขึ้นในหลายประเทศ สําหรับประเทศไทยการจัดทํางบประมาณนั้น รัฐบาลได้เริ่มทําขึ้นก่อนและต่อมาได้ขยายขอบเขตไปถึงองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งของรัฐบาลและเอกชน


Course image งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษางานวิจัยทางพระพุทธศาสนา และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย  ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  วิเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่น่าสนใจ เช่น เตภูมิกถาของพญาลิไท  มังคลัตถทีปนีของพระสิริมังคลาจารย์  กาพย์มหาชาติของพระเจ้าทรงธรรม สังคีติยวงศ์ของสมเด็จพระวันรัต (แก้ว) วัดพระเชตุพน    พระมงคลวิเสสกถาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  แก่นพุทธศาสน์ของพุทธทาส    กรรมทีปนีของพระพรหมโมลี   (วิลาส   ญาณวโร)  พุทธธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   พุทธวิทยาของอาจารย์พร รัตนสุวรรณ  และงานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Course image วิสุทธิมรรคศึกษา
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาโครงสร้างและหลักธรรมสำคัญของวิสุทธิมรรค และอิทธิพลของวิสุทธิมรรคที่มีต่อวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาและวิถีชีวิตไทย