Course image พุทธรรมกับการบริหาร
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

รายละเอียดมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา (มคอ. ๓) ประจำรายวิชา

พุทธธรรมกับการบริหาร

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา       มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา    สังคมศาสตร์

 

หมวดที่ ๑ ข้อมูลโดยทั่วไป

๑. รหัสและชื่อรายวิชา    

     ๔๐๑ ๓๐๑ พุทธธรรมกับการบริหาร

                   Buddhism and Administration

๒. จำนวนหน่วยกิต        

     ๒ หน่วยกิต (--)

๓. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

     รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต

๔. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

     พระราชสิทธิเวที, ดร. / พระครูศรีรัตนวิเชียร, ดร.

๕.ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน

     ภาคการศึกษาที่ ๑ / ชั้นปีที่ ๒

๖. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)

     ไม่มี

๗. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)

     ไม่มี

๘. สถานที่เรียน              

     วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

๙. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

     ตุลาคม 2562

 

หมวดที่ ๒ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

๑. จุดมุ่งหมายของรายวิชา

     เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย  ขอบข่าย แบบผู้บริหาร  หลักการและทฤษฎีการบริหารจัดการในองค์กร  การบริหารความขัดแย้ง  การบริหารความเสี่ยง  และสามารถนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 

๒. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

     เพื่อให้นิสิตมีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการบริหารจัดการในองค์กร เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วิธีการบริหารงานของพระพุทธเจ้า

 

 

 

 

 

หมวดที่ ๓ ลักษณะและการดำเนินการ

๑.คำอธิบายรายวิชา

     ศึกษาความหมาย  แนวคิด  และทฤษฎีของการบริหาร  พระพุทธศาสนากับการบริหาร แนวคิดการบริหารงาน หลักการ และวีการบริหารงานของพระพุทธเจ้า พุทธจริยา หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารงาน วิธีบริหารงานตามหลักพุทธการบริหารงานตามวิถีพุทธ การเลือกวิธีการบริหารงานตามแนวไตรสิกขากลวิธีและอุบายการบริหารงานของพระพุทธเจ้าและพุทธวิธีการบริการงานที่ดี

๒.จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

บรรยาย  ๓๒ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา 

 

สอนเสริมตามความต้องการของนิสิตเฉพาะราย 

ไม่มีการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม

การศึกษาด้วยตนเอง ๔ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

๓.จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นิสิตเป็นรายบุคคล

     - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์  (เฉพาะรายที่ต้องการ)

 

หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมินผล

๑. แผนการสอน

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน การสอน  สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)

 

บทที่ ๑  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร

-ความหมายของการบริหาร

-ความสำคัญของการบริหาร

-องค์ประกอบทั่วไปของภาวะผู้นำ

-ทักษะการบริหาร

-ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร

แนะนำกระบวนการวิชาบรรยาย กรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

นิสิตสรุปการบรรยาย

 

 

บทที่ ๒     แบบของนักบริหาร

-ผู้บริหารแบบเปิดโอกาสและแบบนิเทศ

-แบบผู้บริหารตามแนวคิดของ Getzels/Guba

-แบบผู้บริหารตามแนวคิดของ Levine

-แบบผู้บริหารตามแนวคิดของ Davis

-แบบผู้บริหารตามแนวคิดของ Mc Gregor

-ผู้บริหารแบบมิตรสัมพันธ์กับกิจสัมพันธ์

บรรยาย กรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

นิสิตสรุปการบรรยาย

 

 

บทที่ ๓  แนวคิดและทฤษฎีการบริหาร

-แนวคิดและทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม

-แนวคิดและทฤษฎีการบริหารสมัยใหม่

-แนวคิดและทฤษฎีการบริหารสมัยปัจจุบัน

 

บรรยาย 

กรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม

นิสิตสรุปการบรรยาย

 

บทที่ ๔ พระพุทธศาสนากับการบริหาร

-พระพุทธศาสนากับการบริหารในการวางแผน

-พระพุทธศาสนากับการบริหารในการจัดองค์กร

-พระพุทธศาสนากับการบริหารในการบริหารงานบุคคล

-พระพุทธศาสนากับการบริหารในการอำนวยการ

-พระพุทธศาสนากับการบริหารในการกำกับดูแลงาน

บรรยายกรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

ทดสอบย่อยครั้งที่ ๑

 

บทที่ ๕ พระพุทธศาสนากับการบริหารงานภาครัฐ

-แนวคิดพื้นฐานการบริหารงานภาครัฐ

-การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่

-การบริหารตามหลักอธิปไตย

-การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล

บรรยาย กรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

นิสิตสรุปการบรรยาย

 

บทที่ ๖     พระพุทธศาสนากับการบริหารความขัดแย้งในองค์กร

-ความหมายของความขัดแย้ง

-วงจรความขัดแย้งในองค์กร

-การบริหารความขัดแย้งในองค์กร

-พุทธวิธีการบริหารความขัดแย้ง

บรรยาย  ยกตัวอย่างประกอบ อภิปรายซักถามนิสิตสรุปการบรรยาย

ทดสอบกลางภาค

 

-๑๐

 

บทที่ ๗ วิเคราะห์พระพุทธศาสนากับการบริหาร

-การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ ๔

-การบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรม ๗

-การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔

-การบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๔

-การบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรม ๔

-การบริหารงานตามหลักทศพิธราชธรรม ๑๐

บรรยาย กรณีศึกษา

อภิปราย ตัวอย่างการศึกษาจากปัญหาโครงงาน Problem base learning

 

๑๑-๑๒

 

บทที่ ๘   พระพุทธศาสนากับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

-ความหมายและความสำคัญการบริหารการเปลี่ยนแปลง

-สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

-กระบวนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์กร

-วิธีการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กร

-พฤติกรรมการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

-เทคนิคการลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

-ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

-อนิจจตากับการบริหารความเปลี่ยนแปลงในองค์กร

บรรยาย กรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

นิสิตสรุปการบรรยาย

๑๓

 

บทที่ ๙    พระพุทธศาสนากับการบริหารความเสี่ยงในองค์กร

-ความหมายและความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง

-แนวคิดการบริหารความเสี่ยงในองค์กร

-การบริหารรูปแบบความเสี่ยงในองค์กร

-อริยสัจ ๔ กับการบริหารความเสี่ยงในองค์กร

บรรยาย 

ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

นิสิตสรุปการบรรยาย

ทดสอบย่อยครั้งที่ ๒

 

๑๔

 

บทที่ ๑๐  คุณธรรม จริยธรรม ผู้บริหาร

-ความหมายและความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร

-คุณธรรม จริยธรรมผู้บริหารที่สังคมไทยคาดหวัง

-คุณธรรม จริยธรรมผู้บริหาร  ยุคใหม่

-ผู้นำในอุดมคติ

บรรยาย 

ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย ซักถาม 

นิสิตสรุปการบรรยาย

 

๑๕

 

นิสิตนำเสนองานกลุ่ม กรณีศึกษาวิธีการบริหารงานของผู้นำหรือผู้บริหารภาครัฐ  เอกชน หรือพระสงฆ์ ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงาน

นำเสนองานกลุ่ม  สรุปผลการนำเสนอกลุ่ม

 

๑๖

สอบปลายภาค

 

 

      ๒ แผนการประเมินผลการเรียนรู้

ที่

วิธีการประเมิน

สัปดาห์ที่ประเมิน

สัดส่วนของการประเมินผล

สอบกลางภาค

สอบปลายภาค

๑๖

๒๐%

๔๐%

วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า

การนำเสนอรายงาน

การทำงานกลุ่มและผลงาน

ตลอดภาคการศึกษา

๓๐%

การเข้าชั้นเรียน

การมีส่วนร่วม อภิปราย

เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน

ตลอดภาคการศึกษา

๑๐%

 
หมวดที่ ๖ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

๑.  เอกสารและตำราหลัก

พระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร.,พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

          ๒๕๔๙

๒. เอกสารและข้อมูลสำคัญ

คุณธรรมสำหรับนักบริหาร : หน้าที่-คุณลักษณะพิเศษและวิธีการบริหารงานด้วยธรรมะ  พระเมธีธรรมาภรณ์

          (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ธรรมสภา : ๕๓๘๘ พ๑๗ ๒๕๔๕  กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๕

๓. เอกสารและข้อมูลแนะนำ

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, รศ.ดร, คุณธรรม จริยธรรมสำหรับบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๒๔.

นิตย์ สัมมาพันธ์, รศ.การบริหารเชิงพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์,

           โอเดียนสโตร์, ๒๕๒๙.

ทศพร  ศิริสัมพันธ์, ดร. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารงานราชการแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร :บริษัท วิชั่น พริ้น แอนด์ มีเดีย จำกัด.  ๒๕๔๙.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๓๐.

พระธรรมปิฎก (..ปยุตฺโต). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.

__________________ . เศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.

พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล. การบริหารวัด. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย, ๒๕๓๙.

สุทธิพงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์. หลักพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : กองศาสนศึกษา กรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๓๕.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เอกสารประชุมสัมมนาทางวิชาการ คณาจารย์มหาวิทยาลัยกับการพัฒนาทางวิชาการ (มจร.) ๒๕๓๖.

Sapru R.K. Theories of Administration. Published by S. Chand & Company Ltd. ๑๙๙๖.

Avasihi Amreshwar. Public Administration. Published by Lakshmi Narain Agarwal, ๑๙๙๔.

Narain Laxmi. Principle and Practice of Public Enterprise Management. Published by S. Chad & Company Ltd., ๑๙๙๔.