Course image มนุษย์กับสังคม
คณะสังคมศาสตร์

       ตำรา ““มนุษย์กับสังคม” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ความเป็นมาเกี่ยวกับมนุษย์และสังคม ตามหลักการทางสังคมศาสตร์และพุทธศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันสังคม ประชาสังคม หลักธรรมาภิบาล และสันติภาพ กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม การวิเคราะห์ ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน รวมทั้งแนวการแก้ปัญหาแบบสันติวิธ และเป็นรายวิชาหนึ่งใน ๑๐ รายวิชา ที่เป็นรายวิชาข้อสอบกลาง ด้วย รายวิชา “มนุษย์กับสังคม” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๘ บท มุ่งหมายให้ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมนุษย์กับสังคม พฤติกรรมมนุษย์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันทางสังคมและการขัดเกลาทางสังคม กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม ประชาสังคม หลักธรรมาภิบาลและสันติภาพ ปัญหาสังคมกับการจัดระเบียบทางสังคม รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยแบบสันติวิธี หวังว่า “มนุษย์กับสังคม” ฉบับปรับปรุงเล่มนี้คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านสังคมศาสตร์และพุทธศาสตร์แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจ สืบไป

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นทางสังคมศาสตร์
บทที่ 2 สังคม
บทที่ 3 วัฒนธรรม
บทที่ 4 พฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม
บทที่ 5 กลุ่มทางสังคม
บทที่ 6 การจัดระเบียบทางสังคม
บทที่ 7 สถาบันทางสังคม
บทที่ 8 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
บทที่ 9 ปัญหาสังคม