Course image กรรมฐาน 2
คณะพุทธศาสตร์


กรรมฐาน 2 
(Buddhist Meditation II)
 ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร และอานาปานสติสูตร วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทั้งแบบสมถยานิกะ และวิปัสสนายานิกะ หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ สิกขา ๓ วิชชา ๓ และสามัญญลักษณะ ๓ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๒ ระยะ นั่งกำหนด ๒ ระยะ  ส่งและสอบอารมณ์


Course image พระสุตตันตปิฎก (Suttanta Pitaka) โดย พระครูปริยัติธรรมวงศ์. รศ.ดร.
คณะพุทธศาสตร์

คำอธิบายรายวิชา (Course description)

ศึกษาความเป็นมา ความสำคัญ ความหมาย โครงสร้างของพระสุตตันตปิฎก พรหมชาลสูตร มหาปรินิพพานสูตร อัคคัญญสูตรในทีฆนิกาย และประเด็นสำคัญในมัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย โดยอาศัยอรรถกถา และฎีกาประกอบ

Course image พุทธปรัชญากับการบริหารจัดการ (Buddhist Philosophy and Management) โดย พระครูปริยัติธรรมวงศ์, รศ.ดร.
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาความหมาย ขอบข่าย และทฤษฎีการบริหารจัดการ คำสอนในพระไตรปิฎกเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และการบริหารจัดการโดยยึดหลักพุทธปรัชญา 

      โดยขยายประเด็นการศึกษาได้ว่า ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎีของการบริหารจัดการ พุทธปรัชญากับการบริหารจัดการ หลักการบริหารและวิธีการบริหารจัดการในพระไตรปิฎก หลักพุทธปรัชญาเพื่อการบริหาร จัดการ วิธีการบริหารจัดการตามหลักพุทธปรัชญา การเลือกวิธีการบริหารจัดการตามแนวไตรสิกขา กลวิธีและอุบายการบริหารจัดการของพระพุทธเจ้า และพุทธปรัชญากับการบริหารจัดการที่ดี

Course image พุทธวิธีการบริหาร (Buddha’s Administration Methods) โดย พระครูปริยัติธรรมวงศ์, รศ.ดร.
คณะพุทธศาสตร์

เพื่อให้นิสิตมีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในทางด้านพุทธวิธีการบริหารงานเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านพุทธวิธีการบริหารงานที่ได้มีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

Course image Buddhist Meditation III
คณะพุทธศาสตร์


(Buddhist Meditation III)

      ศึกษาหลักการและวิธีปฏิบัติเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร วิธีการปรับอินทรีย์ ๕ หลักธรรมที่ควรรู้ได้แก่ วิปัลลาส ๓ อภิญญา ๖ วิสุทธิ ๗ วิชชา ๘ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๓ ระยะ นั่งกำหนด ๓ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์


Course image ชาดกศึกษา (Jataka Studies) พระมหาณัฐพันธ์, ดร. วิทยาเขตขอนแก่น
คณะพุทธศาสตร์

          ศึกษา โครงสร้าง  ความหมาย เนื้อหาสาระและแนวคิดที่ปรากฏในชาดก  อิทธิพลของชาดกที่มีต่อวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา  ศิลปะและวิถีชีวิตไทย  โดยอาศัยนิทานจากชาดกและนิทานอีสปมาประกอบ

Course image อักษรธรรมอีสานและไทยน้อย
คณะพุทธศาสตร์

ในบรรดาอักษรที่คนนำมาใช้บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆในโลกมีอยู่มากมาย ในภาคอีสานของประเทศไทยก็เช่นกัน เช่นอักษรธรรม ไทน้อบ และขอม

Course image การปกครองคณะสงฆ์ไทย 1/2565
คณะพุทธศาสตร์

จุดมุ่งหมายของรายวิชา
- มุ่งให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารและการปกครองคณะสงฆ์ในยุคต่างๆ
- มุ่งให้นิสิตสามารถอธิบายการนำการปกครองและการบริหารคณะสงฆ์ไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันไปใช้กับการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มุ่งให้นิสิตสามารถวิเคราะห์พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการบริหารได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาการบริหารกิจการคณะสงฆ์
- มุ่งส่งเสริมและเผยแผ่การจัดองค์กร และการพัฒนาบุคลากรในสถาบันสงฆ์ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่พึงประสงค์
- มุ่งให้นิสิตสามารถนำหลักคุณธรรมและจริยธรรมประยุกต์หลักการปกครอง การบริหารจัดการ องค์กรคณะสงฆ์ไปปลูกฝังสู่ความเป็นนักปกครองที่ดีได้

Course image ศึกษาศาสตร์ในพระไตรปิฎก
คณะพุทธศาสตร์

    ศึกษาความหมายและขอบข่ายของศึกษาศาสตร์ ทฤษฎีทางศึกษาศาสตร์ หลักธรรมส าคัญในพระไตรปิฎกที่เกี่ยวกับการศึกษา บูรณาการโดยเน้นเป้าหมายของการศึกษาตามไตรสิกขา กระบวนการจัดการศึกษาแบบกัลยาณมิตร และโยนิโสมนสิการ วิธีสอนของพระพุทธเจ้า คุณธรรมแลจริยธรรมของครู

Course image ประวัติพระพุทธศาสนา วข.ขก. (พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ, ผศ.ดร.)
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาประวัติศาสนาพระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความสำคัญและลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา การแยกนิกายของพระพุทธศาสนา การขยายตัวของพระพุทธศาสนาเข้าไปในนานาประเทศ และอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อวัฒนธรรมในประเทศนั้นๆ รวมทั้งศึกษาขบวนการและองค์การใหม่ๆ ในวงการพระพุทธศาสนายุคปัจจุบันและอนาคต

Course image แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คณะพุทธศาสตร์

          ศึกษาความหมายและขอบข่ายของเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีหลักทางเศรษฐศาสตร์ ที่ปรากฏในคำสอนทางพระพุทธศาสนา จริยธรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภค  เปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์แนวพุทธศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์ทั่วไปรวมทั้งศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Course image สัมมนาพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม (Seminar on Socially Engaged Buddhism) โดย พระครูปริยัติธรรมวงศ์, รศ.ดร.
คณะพุทธศาสตร์

สัมมนาประเด็นพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม เน้นวิเคราะห์แนวคิดคำสอนของพระพุทธศาสนาที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างหรือเชิงสังคม เช่น การจัดตั้งชุมชน ความสัมพันธ์ในชุมชน การเข้าไปมีส่วนร่วม หรือ ผูกพัน (Engaged) กับการแก้ปัญหาต่างๆ ของสังคม โดยเฉพาะขวนการพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมในโลกยุคใหม่ที่พยายามบูรณราการพระพุทธศาสนาให้เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกมิติของสังคม เช่น ขบวนการสรรโวทัย ในศรีลังกา ขบวนการชาวพุทธเวียดนาม ขบวนการชาวพุทธธิเบต ขบวนการชาวพุทธไทย ทั้งนี้ นิสิตต้องกำหนดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาอย่างน้อย ๓ ประเด็น แล้วจัดทำโครงร่างรายงาน ดำเนินการศึกษา รวบรวมข้อมูล และเสนอผลการศึกษาโดยความเห็นของอาจารย์ประจำวิชาเสมอ

Course image พระพุทธศาสนากับสันติภาพ
คณะพุทธศาสตร์

101 429 พระพุทธศาสนากับสันติภาพ (Buddhism and Peace)    

    ศึกษาหลักคำสอนสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับสันติภาพ หลักการและวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งแนวพุทธโดยเน้นรูปแบบและวิธีการสังฆสามัคคีและใช้แนวคิดเรื่องสันติภาพทางตะวันตกมาเทียบเคียง


    Tel.: 093-515-3545

    Facebook: ดร.ภูษิต ปักษา-ปุลันรัมย์

    ID Line: 0988563539


Course image ปรัชญาสังคมและการเมือง (Social and Political Philosophy) โดย พระครูปริยัติธรรมวงศ์, รศ.ดร.
คณะพุทธศาสตร์


พระครูปริยัติธรรมวงศ์ รศ.ดร.

อาจารย์ผู้บรรยายรายวิชา
Tel 094-5155-516

คำอธิบายรายวิชา : ศึกษาความหมายและขอบข่ายของปรัชญาสังคมและการเมือง ทฤษฎีทางสังคมและการเมืองของตะวันตกและตะวันออก ปัญหาเรื่องรัฐ ระบบการเมือง สิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรม และทัศนะพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับสังคมและการเมือง

Course image 000146-แต่งแปลบาลี
คณะพุทธศาสตร์

  • ศึกษาการแต่งบาลี การแปลบาลี ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะให้ถูกต้องตามหลักภาษา
  • ศึกษาการแต่งและการแปลประโยคพิเศษและสำนวนที่ควรทราบ
  • ศึกษาการแปลบาลีเป็นไทยและแปลไทยเป็นบาลีจากหนังสือที่กำหนด

Course image พระพุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน
คณะพุทธศาสตร์

ศึกษาหลักสิทธิมนุษยชนตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยเปรียบเทียบกับปฏิญญาสากลว่าด้วย

สิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญของไทยและพระราชบัญญัติของไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตลอดจนหลักสิทธิมนุษยชน

ของนานาอารยประเทศ